วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

ประเพณีภาคใต้บ้านหัวตะพาน

ภาคใต้มีประเพณีเฉพาะถิ่น มากมายและอีกอย่างหนึ่ง ภาคใต้มีการนับถือศาสนาหลากหลาย เช่นประเพณีของชาวไทยพุทธ ประเพณีของชาวไทยมุสลิม ประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีน
ซึ่งจะมีประเพณีและวัฒนธรรมที่แยก และแตกต่างกัน เช่น

ประเพณีทำขวัญข้าว ถือเป็นสิริมงคลของคนทำนา และมีความเชื่อมาแต่โบราณกาล ว่าข้าวมี
พระแม่โพสพ สิงสถิตอยู่ในต้นข้าว เมื่อไหว้แล้วจะทำให้ ข้าวอุดมสมบูรณ์ มีกินตลอดไป และการ
ทำขวัญข้าวนี้จะมี พิธีการบูชาพระภูมิเจ้าที่นา การผูกข้าว การขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง หรือแม้กระทั่ง
นวด การรับประทานข้าว ก็ไม่รับประทานให้หกเรี่ยราด จะทำให้ขวัญข้าว

ประเพณีทำขวัญเด็ก เพื่อเป็นสิริมงคล ของเด็กที่เกิดใหม่ ถ้าขวัญอยู่กันเนื้อกับตัว จะทำให้เด็กไม่
เจ็บป่วยไข้ หรือถ้าป่วยไข้ จะเป็นการเรียกขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัวเด็ก

ประเพณีเขากระดูกเข้าบัว  คือเจดีย์ทรงข้าวบิณฑ์ มักก่อด้วยอิฐถือปูน  เป็นการนำกระดูกคนที่เสียชีวิตที่มีโกศใส่เถ้ากระดูก มาไว้ใน บัว ซึ่งเป็นพิธีของพระสงฆ์ในการสวดชยันโต 

ประเพณีบังสุกุลบัว นิยมทำเมื่อวันที่ทำบุญใหญ่ๆ เช่นเดือนสิบ วันสงกรานต์ ญาติๆ ลูกหลานจะทำบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว 

ประเพณีให้ทานไฟ นิยมทำกันตอนต้นปี เพื่อให้ความอบอุ่นกับพระภิกษุสงฆ์ และชาวบ้านจะไปทำขนมที่ทำกันง่ายๆ ที่วัด และถวายพระก่อนจะสว่าง 

ประเพณีทำบุญเดือนสามวันมาฆบูชา หรือวันเพ็ญ เดือน 3 ซึ่งบ้านฉันทำนิยมทำข้าวหลามไปวัดกัน
และทำบุญ รับศีล เป็นบุญใหญ่ของวัดแถวบ้าน เช่นวัดสโมสร วัดคลองดิน

ประเพณีวันว่าง ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย จะทำกันในวันที่ 14-15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันสงกรานต์  และห้ามกระทำการใดๆ ในช่วงวันนั้นด้วย เพราะถือกันว่า ว่างเทวดา เทวดาไม่รักษาชีวิต ทำให้มีอันตรายได้ง่าย และต้องทำความสะอาดบ้านเรือน สถานที่อยู่ อาศัย ไปวัดทำบุญ 
รดน้ำตา ยาย หรือไปเยื่ยมญาติที่อยู่ห่างไกล

ประเพณีวันวิสาขบูชา เป็นวันเพ็ญ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพาน ของพระพุทธเจ้า ถือว่าเป็นวันอัศจรรย์ ซึ่งชาวบ้านนิยมไปวัด ตักบาตร และทำขนมไปถวายพระ เช่น ขนมค่อม ขนมเทียน

ประเพณีวันอาสาฬหบูชา เป็นวันเพ็ญ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทางแสดงปฐมเทศนา คือเทศน์กัณฑ์แกร ชื่อธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ หลังจากที่ตรัสรู้ได้ 2  เดือน  ชาวบ้านนิยมไปวัดทำบุญ ตักบาตร ถือศีล
 
ประเพณีบวชนาค เป็นประเพณีของชาวพุทธ นิยมให้ลูกหลาน บวดเรียนเป็นพระสงฆ์อยู่ประจำที่วัดเป็นเวลา 1 พรรษา หรือเวลา 3 เดือน แล้วเมื่อฤกษ์ดีก็ทำการสึกเมื่อตอนออกพรรษาแล้ว
ประเพณีวันเข้าพรรษา เป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำวัดใดวัดหนึ่งตลอดฤดูฝน หรือตลอดพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์มาชุมนุมกัน 1250 องค์

 วันออกพรรษา
ประเพณีวันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน (นับตั้งแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้” ใน
วันออกพรรษา นี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วยซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
ประเพณีเดือนสิบ ซึ่งนิยมทำกันของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ เพราะมีความเชื่อว่าบรรพบุรษที่ได้จากโลกนี้ไปแล้ว จะอยู่ดีมีสุข หรือตกทุกข์ได้ยาก เวียนว่ายเป็นเปรตอยู่ ให้มารับส่วนบุญในวันนี้ซึ่งต้องมีทั้ง วันรับตา ยาย และวันส่งตา ยาย และมีขนมที่ทำเฉพาะประเพณีนี้ด้วย เช่น พอง ลา ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมฉาวหาย และยกปิ่นโต ดับหมับ ไปด้วยจบด้วยการชิงเปตร และสวดบังสุกุล กรวดน้ำ 
เป็นการจบสิ้นการทำบุญเดือนสิบ
 
ประเพณีลากพระ  เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน
ช่วง เวลา วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม 2 ค่ำ เดือน 11 จึงลากพระกลับวัด

ประเพณีทอดกฐิน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ
เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นช่วง กฐินกาล จะมีการถวายผ้ากฐิน และมีองค์กฐินที่
รับเป็นเจ้าของกฐินนั้นๆ เรียกกฐินสามัคคี เพื่อนำยอดเงินที่ได้จากกฐินนั้นๆ มาทำนุบำรุงวัดต่อไป 
ส่วนกฐินหลวง  เป็นกฐินที่ในหลวงพระราชทาน ให้นำมาถวายวัดใดๆตามแต่พระราชอัธยาศัย

ประเพณีทอดผ้าป่า นิยมทำกันในวันที่หลังจากทอดกฐินแล้ว ผ้าป่าคือ ผ้าและของบริวาร ที่ชาวบ้านนำไปวางไว้เสมือนว่าเป็นผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่า เพื่อให้พระชักเอาไป ทำเป็นผ้าบังสุกุล ใช้เช่น ทำเป็นจีวร เป็นสบง เป็นผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าป่านั้น นิยมเรียกว่า ผ้าป่าหางกฐิน เจ้าภาพผู้ทอดกฐินนั้นนำองค์กฐินมาทอดตามวัดต่างๆ และ
แห่ขบวนผ้าป่ารอบวัดด้วย และผ้าป่าสามัคคี  คือเมื่อแจกฎีกาบอกบุญเรี่ยไรแล้วได้มากน้อยอย่างไรก็เอามารวมๆกัน แล้วนำมาถวายวัดเหมือนกัน
ประเพณีลอยกระทง นิยมทำกันซึ่งถือเป็นงานรื่นเริงของชาวไทยเหมือนๆกัน ในวันเพ็ญเดือน 12
เพื่อลอยเคราะห์ ลอยโศก และเป็นการบูชาแม่น้ำคงคา หรือของโทษที่ได้ทิ้งสิ่งของ ลงในแม่น้ำลำคลอง
 
ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เจ้าของบ้านมักจะนิมนต์ให้พระภิกษุ์สงฆ์หรือหมอดู ให้ดูฤกษ์ยามให้ก่อนแล้วจะต้องบอกญาติ พี่น้อง มาร่วมทำบุญด้วยกัน โดยการเลี้ยงข้าวปลา อาหาร และทำความสะอาดบ้าน จัดสถานที่ เตรียมอุปกรณ์ในการจัดงาน บางคนคือเคล็ดให้มั่งมีศรีสุขโดยการ นำของใส่บาตรหรือน้ำมนต์ ให้ครบ 10 ประการ คือ ใบเงิน ใบนาก ใบทอง ใบมะตูม ใบสันพร้าหอม หญ้าคา ผิวมะกรูด
ผิวส้มปอย หญ้าแพรก แฝก ก้านมะยม


การตั้งศาลพระภูมิ คือเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่ ต่างๆ ถ้าให้การนับถือท่าน โดยการไหว้ดีพลีถูก ก็จะนำลาภผลมาให้ จะไม่เบียดเบียนให้ตกต่ำ ถ้าละเมิดต่อท่านก็จะให้โทษเช่นกัน และต้องดูสถานที่ตั้ง ทิศที่ตั้ง อุปกรณ์เครื่องไหว้ ฤกษ์ยาม และยังหันหน้าไปทิศต่างๆ ตามวัน เช่น
วันอาทิตย์ หันไปทางบูรพา วันจันทร์ หันไปทางอาคเนย์ วันอังคาร หันไปทางทักษิณ วันพุธ หันไปทางหรดี วันพฤหัสบดี หันไปทางประจิม วันศุกร์ หันไปทางพายัพ วันเสาร์ หันไปทางอีสาน

การแห่ผ้าขึ้นธาตุ การแห่ผ้าขึ้นธาตุนิยมจัดปีละสองครั้ง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม (วันมาฆบูชา)
และวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา) โดยนำผ้าไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารการทำพิธีถวายผ้าพระบฏ มีหัวหน้าคณะกล่าวนำ หลังจากทุกคนกล่าวคำถวายผ้าพระบฏเรียบร้อยแล้ว จะแห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ แล้วนำผ้าเข้าสู่วิหารพระทรงม้า นำผ้าพระบฏขึ้นโอบรอบพระบรมธาตุเจดีย์
 
โนราลงครู โนราประกอบพิธีกรรมหรือโนราโรงครู เป็น พิธีกรรมที่มีความสำคัญในวงการโนราเป็นอย่างยิ่ง เพราะ เป็นพิธีกรรมเพื่อเชิญครูหรือบรรพบุรุษของโนรามายัง โรงพิธีเพื่อไหว้ครูหรือไหว้ตายายโนรา เพื่อรับของแก้บน และ เพื่อครอบเทริดหรือผูกผ้าแก่ผู้แสดงโนรารุ่นใหม่ มี 2 ชนิด คือ โนราโรงครูใหญ่ หมายถึง การรำโนราโรงครูอย่างเต็ม รูปแบบ ซึ่งจะต้องกระทำต่อเนื่องกัน 3 วัน 3 คืน จึงจะจบพิธี โดยจะเริ่มในวันพุธไปสิ้นสุดในวันศุกร์ และจะต้องกระทำ เป็นประจำทุกปี หรือทุกสามปี หรือทุกห้าปี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่การถือปฏิบัติของโนราแต่ละสาย สำหรับโนราโรงครูเล็ก ใช้เวลา 1 วันกับ 1 คืน โดยปกตินิยมเริ่มในตอนเย็นวันพุธ แล้วไปสิ้นสุดในวันพฤหัสบดี

 
การเฆี่ยนพราย  ทำพิธีจุดธูปเทียน ชุมนุมเทวดาชุมนุมครูหมอโนรา  ลงอักขระขอมที่หัวแม่เท้าของโนราใหญ่  แล้วรำท่าแบบเฆี่ยนพราย  หรือ “ท่าย่างสามขุม”  มีโนราหรือครูหมอโนราในร่างทรงรำประกอบโดยถือกริช  พระขรรค์  โนราใหญ่เอาหัวแม่เท้าไปแตะตรงที่เป็นเสน  แล้วเอาหัวแม่เท้าไปเหยียบเบา ๆ  ตรงที่เป็นเสน  โดยหันหลังให้ผู้ที่เป็นเสน  ว่าคาถากำกับ  ในขณะเดียวกันโนราหรือครูหมอโนราในร่างทรงก็จะเอากริช  พระขรรค์แตะเสนพร้อมกับบริกรรมคาถา  ทำเช่นนี้ 3  ครั้ง  เสร็จแล้วเอามีดโกน  หินลับมีดและของอื่น ๆ  ในขันน้ำหรือถาดไปแตะที่ตัวผู้เป็นเสน  เป็นเสร็จพิธี จากพิธีกรรมดังกล่าวเชื่อว่าเสนจะค่อย ๆ หายไป  ถ้าไม่หายก็ให้ทำซ้ำอีกจนครบ  3  ครั้ง  เสนจะหายไปในที่สุด

การทำบุญต่ออายุ  การทำบุญวันเกิดมักจะนิยมการทำบุญ ตักบาตร  ถวายภัตตาหารพระที่วัด แต่การทำบุญต่ออายุ จะนิยมจัดงานใหญ่กว่าการทำบุญวันเกิด  ส่วนใหญ่จะกระทำ ในวัยเบญจเพส คือ 25 ปี เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต  หรือช่วงอายุกลางคน คือ  50  ปี  เพราะถือว่าอายุยืนยาวมาได้ครึ่งหนึ่งของชีวิตแล้ว จึงควรทำบุญและเลี้ยงฉลองความยินดี

 
ถือศีลอดของพี่น้องอิสลาม  การถือศีลอด มาจากภาษาอาหรับว่า "อัศ-เศาม" หรือ "อัศ-ศิยาม" ในทางภาษาหมายถึง การละ การงด การระงับยับยั้ง การควบคุม ครองตน เช่น การละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆ ที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง การละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส ระหว่างรุ่งสาง จนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหก เหลวไหล ไร้สาระ เว้นจากการประพฤติชั่ว ทั้งโดยลับ และเปิดเผย ถือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ .ล.) ได้ทรงกำหนดไว้โดยให้ควบคุม พร้อมทั้งมือ เท้า หู ตา ใจ ลิ้น และอวัยวะทุกส่วน มิให้ใช้ไปในทางไร้สาระ โองการในอัลกุรอาน มีปรากฏว่า “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดนั้น ได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้าดั่งที่ได้ถูกกำหนด แก่เขาเหล่านั้น ก่อนหน้าสู เจ้ามาแล้ว เพื่อว่าสูเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว”
พิธีทำบุญต่ออายุ ในสมัยโบราณ เมื่อมีผู้ป่วยหนักเห็นว่าจะมีโอกาสรอดได้น้อย บรรดาญาติ ๆ หรือลูกหลาน จะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์ บทโพชฌงค์ และชักบังสุกุล นอกจากนั้นยังมีพิธีทำบุญต่ออายุให้แก่คนชราทั่ว ๆ ไป ซึ่งลูกหลานจะเป็นผู้จัดให้ คือ กระทำก่อนที่จะเจ็บป่วยถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อ ส่วนใหญ่เป็นการทำพิธีทางศาสนา คือนิมนต์พระมาสวดพระปริต และทำบุญอุทิศส่วนกุศล โดยมากลูกหลานจะกระทำให้ทุก ๆ ปี หรือทุก ๆ ๕ ปี ข้อนี้แล้วแต่ความสะดวกและเห็นสมควร..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/579003

การละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู   ละหมาด หมายถึง การขอพร ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทำ ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก หันหน้าไปทางกิบละฮฺ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย ดังอัลกุรอานระบุไว้ ความว่า" และจงละหมาด แท้จริงการละหมาดจะยับยั้งความลามกอนาจารและสิ่งต้องห้าม "อัล - อังกะบูต : 45

การละหมาดฟัรฏู อัลลอฮฺทรงกำหนดให้มุสลิมทำการละหมาด วันละ 5 เวลา คือ
1. ละหมาดศุบหฺ      มี 2 ร็อกอะฮฺ       เวลา เริ่มตั้งแต่ฟ้าสางจนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
2. ละหมาด ซุฮฺริ      มี 4 ร็อกอะฮฺ      เวลาเริ่มตั้งแต่ดวงตะวันคล้อยจนเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดทอดยาวออกไปเท่าตัว
3. ละหมาดอัศรฺ       มี 4 ร็อกอะฮฺ      เวลา เริ่มตั้งแต่เมื่อเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ยาวกว่าเท่าตัวของมันเอง จนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน
4. ละหมาดมักริบ     มี 3 ร็อกอะฮฺ       เวลา เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดิน จนสิ้นแสงอาทิตย์ คือเวลาพลบค่ำ
5. ละหมาดอิชาอฺ      มี 4 ร็อกอะฮฺ       เวลา เริ่มตั้งแต่เวลาค่ำจนถึงก่อนฟ้าสาง

การกินเจ  ของชาวไทยจีน
การกินเจ” ตามพจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การถือศีลอย่างญวนและจีนที่ไม่กินของสดคาว แต่บริโภคอาหารประเภทผักที่ไม่มีของสดของคาวผสม ซึ่งมาจากรากศัพท์คำภาษาจีนที่ว่า “เจียฉ่าย” หมายถึง การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุน 5 ชนิด งดเว้นน้ำนมสด นมข้นด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดของคาว

ช่วงเวลากินเจ ประเพณีกินเจที่ชาวจีนเรียกกันว่า “เก้าอ๊วงเจ” หรือ “กิ้วอ๊วงเจ” แปลว่า “เจเดือน 9″
จะกำหนดเอาวันตามจันทรคติ เริ่มต้นในวันขึ้น ค่ำ ถึง ค่ำ เดือน ตามปฏิทินจีน รวม วัน คืน แต่บางคนอาจกินเจล่วงหน้า วัน หรือที่เรียกว่า “ล้างท้อง” นั่นเอง  

 



0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น