วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ชัก ลากพระ


 
ประเพณีชักพระ "ลากพระ " เป็นประเพณีพื้นเมืองของพี่น้องชาวภาคใต้  ด้วยวิธีการลากหรือชัก
พระพุทธรูป ซึ่งประดิษฐานอยู่บนบุษบกที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างสวยงาม แห่แหนไปตาม ถนนหนทาง 
ทั่วเมือง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชา และถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์

มีพุทธตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงผนวชได้ 7 พรรษา และ พรรษาที่ 7 
นั้นได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ยามเช้าของแรม 1 ค่ำ เดือน 11 
ได้เสด็จกลับ มายังโลกมนุษย์ ในการนี้พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา ซึ่งรอคอยพระพุทธองค์มาเป็นเวลานานถึง 3 เดือน ครั้นทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ 
จึงได้รับเสด็จและได้นำภัตตาหารคาวหวานไปถวายด้วย ผู้ไปทีหลังนั่งไกล ไม่สามารถเข้าไป 
ถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้ จึงใช้ใบไม้ห่ออาหารและส่งผ่านชุมชนต่อๆกันไป  เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อผู้นั่งใกล้ๆ ถวายแทน บุญ

  
 พอถึงวันอาปวารณาออกพรรษา (วันออกพรรษา)  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านไปวัดทำบุญกันและ
ได้ทำขนมต้ม เหนียวห่อกล้วย ไปวัดด้วยเป็นประเพณีมาแต่โบราณที่ต้องทำขนมต้ม และอื่นๆ ไปทำ
บุญเดือน 11 ก่อนที่จะมีการชักลากพระ

 
ขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ต้ม" เป็นขนมประจำประเพณีทำด้วยข้าวเหนียว 
ห่อด้วยใบกะพ้ออ่อนๆ 

 
ช่วยกันทำทั้ง เด็กและผู้เฒ่า ผู้แก่ คนละไม้คนละมือ เดี๋ยวเดียวก็เสร็จ ได้กินและไปวัดวันรุ่งเช้า

 

เมื่อถึงวัดก็ทำพิธีการทางสงฆ์ เช่นถวายข้าวพระ ฟังเทศน์นา

 
 รับประทานอาหาร และอาบน้ำพระลาก ก่อนวันลากพระ เพื่อเป็นสิริมงคล

  


การแต่งนมพระ

 
1. นมพระ หมายถึง พนมพระ เป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก 
เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับ
ข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง 
ประดับ ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระ
วางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ 
เพราะความสง่าได้สัดส่วนของ นมพระขึ้นอยู่กับยอดนม

  
2. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ 
พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย

 
3. การลากพระ
ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น 2 สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตี

ให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระ
เพื่อผ่อนแรง

 

                         ตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย :  อี้สาระพา เฮโล เฮโล
                       ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ

   
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ ช่วยกัน ลาก ช่วยกัน จูง ตามศัธทา ของชาวพุทธ แต่เดี๋ยวนี้ดีหน่อยที่เรือพระนั้น บางวัดมีรถยนต์ รองเรือไว้เพื่อได้ลากจูงง่าย แทนล้อเลื่อน และสะดวกที่จะไปที่อื่นได้ไกลๆ
บางแห่งมีขบวนแห่กลองยาว เพื่อความครึกครื้นของคนลาก และอาจจะมีการวางหีบไว้ในเรือพระเพื่อ
รับเงินบริจาก  และจะกลับวัดกันในวันนั้นเลยก็ได้ หรือจะลากจูกกันต่อไปอีก 2-3 ก็แล้วแต่ทางวัด
หรือจะมีการประกวด เรือพระ กันบ้างบางพื้นที่ 

การตกแต่งเรือพระ

 
 ข้าวปลาอาหาร ทีจะเลี้ยง คนลากเรือพระ



 
เมื่อถึงกำหนด ก็ลากเรือพระกลับวัด





















วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แกงเลียงส้มยอดมันเทศ

ไปบ้านแม่มา เห็นยอดมัน สีสวยสด เป็นมันสีม่วง ออกยอด เด็ด เด็ด มาทำแกงเลียงให้หรอยคอ
สักหม้อ ว่าแล้วก็จัดไป เก็บได้มา 1 กำ ตอนเย็น จัดแจง แกงเลียงเลยจ้า

 
 ส่วนผสม

1. ยอดมันเทศ 1 กำ
2. กะปิ น้ำตาล เกลือ อย่างละ 1 ช้อนชา
3. หม้อ
4. น้ำ
5. มะขามเปียก



วิธีทำ  
1. ยอดมัน ตัดเป็นท่อนๆ ใช้เฉพาะที่อ่อนๆ เช่นยอด และใบเพลาส คือไม่แก่มาก

 2. ล้างให้สะอาด พักไว้

 

 3.นำหม้อเติมน้ำ ตั้งไฟ เครื่องปรุงเตรียมพร้อม เกลือ น้ำตาล กะปิ


4.เมื่อน้ำเดือด ใส่เครื่องปรุงลงไป ให้เดือดอีกครั้ง

5. เมื่อน้ำเดือด ใส่ยอดมัน และมะขามเปียก ลงไป

 6. รอให้ยอดมันสุก ชิมรส สามารถเพิ่มเติมได้ถ้าจะให้เข้มข้นอีก

 
เมื่อแกงเลียงสุก น้ำแกงเลียงจะเป็น สีม่วงๆ ส้มๆ  คล้ายแกงเลียงยอดลำเพ็ง

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สมุนไพรพึ่งตนเอง
 

สมุนไพรนั้นอยู่คู่คนไทยมาช้านานแล้ว และบางคนก็รู้วิธีใช้ หรือบางคนไม่รู้ก็ใช้ตามเพื่อนหรือผู้รู้บอกกล่าวเล่าขานต่อๆกันมา มาดูกันสิว่า เมื่อนำไปใช้แล้วได้ผลดีเหมือนกันกับคำบอกเล่าหรือไม่

 
อันนี้ผู้เขียนนำไปใช้เองและบอกต่อว่าดีจริงๆ เปรี้ยวปริ๊ส ขอบอก
น้ำมะขามป้อม แก้อาการหวัด คัดจมูก ได้ดีจริงกินแล้วจมูกจะโล่งภายใน 30 นาทีการันตีจากผู้ใช้
นำมะขามป้อมสด 3 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม น้ำ 3 ลิตร ดองไว้ 6 เดือน รับประทานได้


หัวหอมแดง แก้อาการคัดจมูก 
เอาหัวหอมทุบพอแตกเอามาดม ถ้าเด็กเล็กให้นำผ้ามาห่อหอมแดงแล้วผูกกับเสื้อหรือคอ หรือต้มน้ำแล้วเดาหัวหอมพอประมาณทุบพอแตกใส่สงไป สูดไอน้ำทำให้จมูกโล่ง

น้ำมูกไหลจากหวัด
นำขิงแก่มาหั่นเป็นแว่นบางๆ ใส่น้ำต้มให้ข้นที่สุดเท่าทีจะทานรสเผ็ดของขิงได้ นำมาดื่มร้อนๆต่างน้ำ

ไข้หวัด
1. ต้นฟ้าทะลายโจน 1 กำมือต้มกับน้ำ 3 แก้วให้เดือด 10 นาที ดื่มครั้งละแก้ว วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ถ้าไม่อยากขม ก็ซื้อแบบแคปซูน

2. กระเทียม 7 กลีบ กินพร้อมข้าวทุกมื้อ คนเป็นร้อนในไม่ควรกินบ่อย


ไข้อากาศเปลี่ยน
ใช้ยอดแคอ่อนต้มกินให้มากๆ หรือนำดอกแคมาแกงส้ม แก้ไข้หัวลม


ไอ เจ็บคอ เสมหะติดคอ

1. เอาข่าแก่ตัดเป็นท่อนราว 1/2 นิ้ว ทุบให้พอแตกใส่ถ้วยไว้ เติมน้ำตาลทราย เกลือ บีบน้ำมะนาวลงไปให้ท่วมยา ดองไว้สัก 3- 4 ชั่วโมง แล้วจิบบ่อยๆ หรือเอาข่ามาอดด้วย ยิ่งดี

2. ใบฟ้าทะลายโจนสด 5-7 ใบ ใส่แก้วเติมน้ำเดือดลงไป ปิดฝาทิ้วไว้ให้อุ่น ริดดื่มวันละ 2 ครั้ง
เช้า-เย็น ครั้งละ 1 แก้ว หรือจะอมใบสดๆ ทั้งวัน ครั้งละ 1 ใบ ที่กระพุ้งแก้ม ไม่ต้องเคี้ยว

3. น้ำมะกรูดดองน้ำตาล ดื่มแก้ไอ

 
4. น้ำมะขามป้อมดองน้ำตาล ดื่มแก้ไอ
5. น้ำมะนาว + น้ำผึ้ง + เกลือ ดื่มแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ไอเรื้อรัง
ใบหนุมานประสานกายสดๆ ค่อยๆ กลืน ครั้งละ 1 ช่อ วันละ 2-3 ครั้ง
หรือนำไป ใส่น้ำ 3 แก้ว ต้มให้เหลือ 1 แก้ว ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2-3 ครั้ง

ปวดหัวจากความดันเลือดสูง
นำขึ้นฉ่ายทั้งต้น 1  กำมือ คั้นเอาแต่น้ำดื่ม (ทำกินได้เพียง 1 ครั้ง ห้ามกินซ้ำ เพราะจะทำให้
ความดันเลือดลดลงมาก ) ลองตรวจดูก่อนแล้วค่อยกินใหม่

ปวดหัวเพราะเครียด
นำผุ้บน้ำร้อนวางที่หลัง นวดบริเวณคอ ไหล่ ร่องสะบัก แล้วใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นค่อยๆคลึงเบาๆที่ขมับ
ใช้น้ำเย็นชุบเช็ดหน้า

นอนไม่หลับ
ดอกัวที่ใกล้บ้าน 5 ดอก ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน 5-10 นาที ใส่น้ำตาลกรวดพอหวาน
ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง

ลมวิงเวียนในผู้สูงอายุ
ใช้หัวและรากกระชายแก่ๆ หั่นตากแห้ง บดเป็นผง เก็บใส่ขวดไว้ชงดื่มกับน้ำร้นอ เหมือนยาหอม
หรือใช้หัวและรากกระชายแก่ๆ หั่นบางๆตากแห้ง ชงดื่มแทนน้ำชา

ยาอายุวัฒนะ
ใช้ เม็ดพริกไทย หัวแห้วหมู เถาบอระเพ็ด ดีปลี อย่างละเท่าๆ กัน บดตำเป็นผงผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน กินเช้า - เย็น หลังอาหาร ครั้งละ 1 เม็ด ควรกินเมื่ออายุครบ 30 ปีไปแล้ว

บำรุงปอด
กินกระเทียมดองเป็นประจำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง กินพร้อมกับข้าวครั้งละ 1/2 - 1 หัว

บำรุงหัวใจ
หั่นใบเตยหอมให้เป็นชิ้นเล็กๆ ตากแห้งคั่วให้หอมชงน้ำร้อนดื่มต่างน้ำชา ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น

บำรุงน้ำนม
ต้มปลีกล้วย กับ ขาหมู กินทุกวัน ตลอด 3 เดือนแรก น้ำนมจะไหลแรงดี
แกงเลียงปลีกล้วยกินทุกวัน วันละ 1 มื้อ ประมาณ 7-10 วัน
ใช้หัวไพล  2 ส่วน ตำผสมการบูร 1 ส่วน ห่อผ้าประคบที่นม วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที

บำรุงผิวหน้า
ว่านหางจระเข้ ใช้เมือกทาหน้าแก้ฝ้า แก้สิว
 
 สิว

 

เป็นสิว ใช้ผงพิเศษพอกหน้าแก้สิว ทำให้หน้าลื่น ผิวดี
ใช้หอมแดงผ่าซีก แล้วแต้มหัวสิว
ช้น้ำมะนาว แต้มหัวสิว ทำให้สิวยุบ