วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

น้ำพริกมะพร้าวคั่ว
 
ฝนตกๆ อย่างนี้ แนะนำอาหารแบบง่ายๆ ที่บ้านฉันชอบทำกินกันยามเมื่อออกไปซื้อหาอาหารได้ยาก เมนูนี้มีชื่อว่า น้ำชุบมะพร้าวคั่ว  เคยเห็นแม่ทำให้กิน แต่คนอื่นๆไม่รู้ชอบทำมั๊ย บ้านฉันนี้ช๊อบ ชอบ 
ทำแล้วก็นำมาแจกเพื่อนๆ ด้วยเพราะคนที่อยู่ในเมือง ไม่ค่อยได้กิน ไม่รู้จักด้วยเพื่อนชมว่า อร่อย
วันนี้ได้ตะไคร้มาหลายต้น แม่ไม่ต้องลูกทำเอง เลยให้น้องสอยมะพร้าวให้ เพราะต้องใช้มะพร้าวทึนทึก จึงจะอร่อย ไม่แข็ง นุ่ม กำลังดี  (ุถ้าอยากทำเป็นน้ำพริกตะไคร้ ก็เพียงเติมตะไคร้ให้เยอะ ก็ได้เช่นกัน)

สิ่งที่ต้องเตรียม
1. ตะไคร้สด หั่น   3-5 ต้น
2. เครื่องแกงกะทิ  10 บาท
3. มะพร้าวทึนทึก   1 ลูกใหญ่
4. กะปิ                2 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำตาลทราย      2 ช้อนโต๊ะ
6. ใบมะกรูดซอย    5 ใบ

วิธีทำ
1.ได้ตะไคร้มาก็หั่นซอยๆๆ  ตามพอใจ (ถ่ายกลางคืนสีไม่ชัด)

 2. นำเครื่องแกงมาใส่ในครก พร้อมกะปิ เติมตะไคร้ที่หั่นลงไปตำให้เข้ากัน นำมะพร้าวลงไปตำ
ให้เข้ากันดี ตักขึ้น


3. นำกะทะตั้งไฟใส่เครื่องที่ผสมไว้แล้ว ลงผัด (ไม่ใช้น้ำมัน)


4. ผัดให้พอมะพร้าวเริ่มแห้ง และหอม เติมน้ำตาลลงไป และใบมะกรูดซอย


5. ชิมรส ผัดต่ออีกนิดให้หอมมะกรูด เป็นใช้ได้ ตักใส่จาน รับประทานกับข้าวไรเบอร์รี่ร้อนๆ อร่อยมัน




วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ลอยกระทง งานใบตอง

งานใบตองกับภูมิปัญญาไทยประดิษฐ์ กระทงกับใบตอง ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ เพราะจะต้องลอย
กับแม่น้ำ ลำคลอง อันเป็นประเพณีมาแต่โบราณกับประเพณีลอยกระทง หนึ่งปีมีครั้งเดียว
เป็นการสืบสานวัฒนธรรม ให้อยู่คู่คนไทยไปตลอดกาล

อีกอย่างชาวบ้านก็นิยมนำวัสดุที่มีอยู่รอบตัวมาจัดทำกัน ไม่ว่าจะเป็น ใบตอง ดอกไม้ ใบโกสน ใบหมาก ใบเตย ดอกพุด ประดับประดาอย่างสวยงาม ซึ่งสมัยนี้นิยมนำมาประกวดกัน เพื่อความสนุกสนาน
ครื้นเครง กันในหมู่บ้านใกล้เคียง  สุดยอดภูมิปัญญาไทย และเป็นความเชื่อว่า จะได้ลอยเคราะห์
ลอยโศก ลอยโรคภัย ให้ไปกับสายน้ำ มาสนุกสนาน กับวันแบบไทยๆ วันลอยกระทง
วันเพ็ญ เดือนสิบสอง น้ำก็นองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริงวันลอยกระทง

 
กระทงประกวด ตกแต่งอย่างสวยงาม วิจิตร อลังการ

 




 

 
เล็กๆ สำหรับลอย




 

  




วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กระตุ้นหู รักษาโรคหูตึง หูหนวก หูอื้อ

 

รักษาโรคหูนึง หูหนวกด หูอื้อของแพทย์จีนเริ่มจากดูแลรักษาไตให้แข็งแรง ไว่ว่า จะใช้ยา ฝังเข็ม 
นวดกดจุด ในที่นี้เป็นการแนะนำการดูแลหูให้ดี เท่ากับการดูแลไต โดยผ่านการกระตุ้นหู 

วิธีการมีดังนี้

 1. ดึงยอดใบหูขึ้น ดึงกลางใบหู ออกข้าง ดึงติ่งหูลงล่าง ทำ 5 ครั้ง ทุกท่า


2. ถูใบหูให้ร้อน

 
3. มือทั้งสองปิดหูสอง ถูไปหน้าหลัง ให้ใบหูพับไปมา เป็นการกระตุ้น กกหูที่มีเส้นลมปราณรายรอยอยู่ มือยังปิดที่รูหู จากนั้นใช้นี้วชี้นิ้วกลางเคาะท้ายทอย เป็นการกระตุ้นสมอง

 

การป้องกันดูแลหู ทำได้โดย
- ดูแลไตให้แข็งแรง ด้วยการบริหารตามที่กล่าวมาข้างต้น กินยาบำรุงไตตามที่หมอสั่ง

- ไม่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมากหรือนานเกินไป จะทำให้หูหนวกได้

- ไม่เสียบหูฟังเป็นประจำ จะทำให้หนุหนวกได้ง่าย

- นวดใบหู ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ นวดดึงใบหูทั้งหมด จากบนลงล่างจนหูร้อน

- ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลาง กางออกเหมือนคีมนิ้วกลางวางหน้าใบหู นิ้วชี้วางหลังใบหู กางเหมือนกรรไกร
ถูขึ้นลงให้โคนใบหูร้อน

   

- ตบหู ทำนิ้วมือทั้งห้าชิดกัน โก่งมือให้อูมๆ ตบใบหู โดยให้มือขวางใบหู เวลาตบให้ตรงกลางมือที่เป็นร่องตรงรูหู ส่วนปลายมือให้ตลที่ท้ายทอย ตบแรงๆ 100 ครั้งเป็น 1 ชุด ต้องทำประจำ

 

- ใช้นิ้วชี้กดในรูหู ใช้แรงพอประมาณ อุด - ปล่อย ทำซ้ำกัน 5 ครั้ง

เป็นการบริหารดังกล่างต้องทำเป็นประจำ การตั้งใจทำ และทำอย่างต่อเนื่อง ด้วยความอดทน 
จะเห็นผลอย่างไม่น่าเชื่อ ต้องทำดู แล้วจะรู้ว่าดีจริง เผื่อสุขภาพตัวเอง ทำได้ไม่ต้องจ่ายตังค์


 ข้อมูลจากหนังสือ ถนอมใต ยับยั้งสารพัดโรค












 ยำสะตอดอง

เคยเห็น เคยกินมั๊ย ยำสะตอดอง ของหรอยของคนไต้ วันก่อนมีงานศพพ่อ แล้วญาติที่ชุมพรเอา
สะตอดองมาให้ คุณสามียำให้กิน อร่อยเชียว เปรี้ยวๆ หอมๆ เผ็ดๆ แบบว่ากลิ่นสะตอยังไม่จางหาย
ไปไหน จากลมหายใจ



วิธีทำ
ล้างสะตอดอง 1 น้ำ หั่นพริกขี้หนูสด หอมแดง 2 หัว ซอยๆ ตามพอใจ
เติมน้ำตาลทราย  คลุกเคล้าให้เข้ากัน

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทอดกฐินวัดคลองดิน
 

วันนี้ไปทำบุญทอดกฐินที่วัดคลองดิน ซึ่งเป็นวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ณ วัดคลองดิน หมู่ที่ 1 ตำบลหัวตะพาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อรวบรวมปัจจัย สร้างหอระฆังของวัด ซึ่งขณะนี้การสร้างหอระฆังยังไม่แล้วเสร็จ
เรียบร้อย 

 

โดยมี พล.ต. ศรีศักดิ์ เลิศล้ำ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
ให้เกียรติเป็นประธานและถวายผ้าพระกฐินแด่พระภิกษุ โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตลอดจนพุทธศาสนิกชนใกล้เคียง ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมพิธีถวายพุ่มกฐินด้วย


รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผู้อำนวยการอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ กล่าวว่า 
การทอดกฐินถือเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายทุกยุคทุกสมัยปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุ และมีความศรัทธาเลื่อมใสกันว่าเป็น “ยอดของมหากุศล” จนเป็นเหตุนำให้ผู้ได้มีส่วนในการทอดกฐินนั้น ได้มหาอานิสงส์อันยิ่งใหญ่สุดประมาณ จึงนับเป็นโอกาสดียิ่งที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีโอกาสร่วมเป็นเจ้าภาพ สร้างบุญใหญ่ในการทอดกฐินโดยพร้อมเพรียงกับชาวบ้านและพุทธศาสนิกชน 
ณ วัดคลองดินในครั้งนี้ 
 
ทั้งนี้ อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ประสานรวบรวมปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธาจากหน่วยงานต่างๆ และนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นจำนวนเงิน 137,555 บาท รวมทั้งปัจจัยจากพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาในชุมชนและต่างอำเภอมาร่วมทอด กฐินสามัคคี ทำให้มียอดเงินรวมทั้งสิน 192,060 บาท ร่วมสมทบทุนถวายวัดคลองดินเพื่อสร้างหอระฆังต่อไป

 
รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ พล.ต. ศรีศักดิ์ เลิศล้ำ ได้พูดคุยกับชาวบ้านและชี้แจงเรื่องที่ทางมหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมกับ ชาวบ้าน และวัด โรงเรียน อย่างตลอดมา

เมื่อถึงเดินทางไปถึงวัดก็ทำการ รับประทานอาหารกันก่อน ตอนเที่ยว ซึ่งทางวัดได้จัดไว้ให้
 
 แอบมีข้าวดังด้วย จากท้ายครัว

 
เมื่อถึงเวลากำหนดการ 13.00 น.ก็ทำการสมโภชน์กฐิน โดยการแห่กลองยาว รอบโบสถ 3 รอบ 
มีรำหน้ากองกฐินกันด้วย สนุกมาก อิ่มบุญกันทั่วหน้า ยิ้มพิมพ์ใจจริงๆ เพราะสุขใจที่ได้ร่วมทำบุญ
นางรำแต่ละคน สวยงามทั้งนั้น บรรยากาศความสุขใจ 

 
  
 
 
รำหน้ากองกฐิน โดยมีพุ่มกฐินและผ้ากฐินและเครื่องบริขาร อยู่ข้างหลัง อลังการ
 ถือบ้าง ทูนบ้าง ตามสะดวก
  
  
 
 
  
ก่อนเข้าโรงธรรมสำหรับวางพุ่มกฐิน ท่านรองอธิการ ได้โปรยกำพฤกเป็นทาน

 
แล้วเมื่อถึงเวลา 13.30 ก็ทำการทอดกฐิน  ถวายผ้าไตรและเครื่องบริขารแด่พระสงฆ์

พุ่มกฐิน ตั้งเรียงราย

 


บรรยากาศโดยรอบๆ