วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

 เขี่ยพอง


พองเป็นอีก ชนิดหนึ่งสำคัญของขนมเดือนสิบ ของคนนคร เป็นสัญลักษณ์แทนเรือ แพ ที่บรรพบุรุษ
ใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้นแผ่ดังแพมีน้ำหนักเบาย่อมลอยน้ำและขี่ข้ามได้
เมื่อใกล้วันรับตายาย ของคนนครศรีธรรมราช ตามประเพณี เมื่อก่อนผู้เขียนช่วยแม่เขี่ยพองเป็นประจำ เพราะสมัยก่อนไม่มีพองหรือขนมไว้ขายอย่างเดี๋ยวนี้ ต้องตื่นตั้งแต่ตี 2-3 เพื่อจะเขี่ยพองให้ทันของ
วันรุ่งเช้า เพราะต้องอาศัยแดดดีๆ จะได้ตากพองตั้งแต่เช้า จนหมดแดด 
สมัยนี้หรือค่ะ มีเงิน เดือนไปตลาด ได้กลับมาเป็นสิ่งของที่ต้องการ ทั้งเป็นพองดิบ หรือพองสุกแล้ว

 
เมื่อกาลเวลาเปลี่ยน ฤดูเปลี่ยน คนเปลี่ยน แม้แต่พอง สีและขนาดยังเปลี่ยน เพราะเดี๋ยวนี้มีสีแตกต่างมากมาย เมื่อก่อนมีแต่สีดำจากข้าวเหนียวดำ กับสีขาว เท่านั้น เพราะนอกจากเอาไปวัดแล้วยังมีให้
คนอื่นๆเอาไปกินด้วย ตอนนี้นะหรือ สีสันสดใส ไม่กล้ากิน รูปแบบก็ต่างๆนาๆ แล้วแต่ชอบ



วิธีทำขนมพอง(ภาษาใต้เรียกว่าเขี่ยพอง) 
ขั้นแรกก็ต้องเตรียมของกันก่อน
1. ข้าวเหนียว แช่ทิ้งไว้ประมาณหนึ่งคืน แล้วนำ้ไปนึ่งให้สุก
2. พิม จะใช้ทรงเหลี่ยม หรือทรงกลม หรือทรงไหนๆก็ได้ตามชอบ
3. น้ำมันสำหรับทอดใช้เยอะหน่อย
ขั้นลงมือทำกัน
1. นำเข้าเหนียวที่นึ่งแล้วมาใส่พิมพ์กระจายข้าวเหนียวให้บาง
ข้าวเหนียวที่นึ่งนั้นเมื่อก่อนเรียกว่า “สวด” สำหรับใส่เหนียวไปนึ่ง โดยสวดจะถูกนำไปตั้งบนหม้อ
หรือภาชนะที่ตั้งบนเตาไฟใส่น้ำ เมื่อน้ำเดือดไอน้ำ จะทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ในสวดสุก ส่งกลิ่นหอม
จากนั้นจะนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ เทลงใส่ในกะละมัง 
 
2. นำข้าวเหนียวที่เขี่ยเป็นรูปทรงต่างๆ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์แบบโบราณที่ทำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นซี่บาง ๆ นำมาขัดสานกันเป็นพิมพ์
3. นำข้าวเหนียวไปใส่ในพิมพ์ขนาดและรูปร่างต่าง ๆโดยส่วนใหญ่พิมพ์ก็ทำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นแผ่นบาง ๆ ดักให้โค้งงอเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม สามเหลี่ยม สีเหลี่ยม ไปตากแดดจนแห้งสนิท ประมาณ 2-3 แดด
         

ตากบนไม้ไผ่สาน หรืออะไรที่โปร่งๆ





 วันแรก เริ่มแห้ง



วันที่ 2 เริ่มแห้งอีกนิด ต้องให้โดดแดดทั้งวัน



ก่อนจะนำไปตากแดดจนแห้งข้าวเหนียวจะจับตัวกันเป็นแผ่นแข็ง ๆ  เก็บไว้ได้



เรียกว่า “พองดิบ” ซึ่งพองดิบจะเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เมื่อรับประทานหรือนำไปทำบุญก็จะนำ
พองดิบ ไปทอดในกระทะที่มีน้ำมันร้อน ๆ ทำให้พองดิบ ฟูขยายออกเป็นแผ่นใหญ่กว่าแผ่น
พองดิบ  3-4 เท่า โดยเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการและขั้นตอนทั้งหมดก็จะเรียกว่า “ขนมพอง” 

โดยนิยมเขี่ยพองกันในช่วงกลางคืนเพราะอากาศไม่ร้อน และการจำหน่ายก็จะจำหน่ายในรูปแบบพองดิบ เพราะง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ไม่แตกหัก เมื่อต้องการรับประทานหรือนำไปทำบุญ 

ผู้ซื้อจะนำไปทอดในน้ำมันเอง อย่างไรก็ตามมีบางส่วนที่จำหน่ายขนมพองหรือทอดสำเร็จรูปไปแล้ว 
ในกรณีนี้เมื่อผู้ซื้อพองสำเร็จรูปแล้วจะนำไปทำบุญตามวัดต่าง ๆ ทันที จะไม่เดินทางพาพองสำเร็จรูปไปไกลเสี่ยงต่อการแตกหัก  
 
 เมื่อข้าวเหนียวแห้งดีแล้วก็นำไปทอดในน้ำมันร้อนๆ จนลอยฟูเป็นแพขึ้นมาก็ใช้ได้แล้ว
 
 
 แล้วนำมาวางไว้ในที่แห้ง ให้คลายร้อน และน้ำมันระเหยออก

 
 แล้วเก็บไว้ ในภาชนะ หรือถุง ให้กรอบอยู่เสมอ


 








0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น