วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มะพูด


วันก่อนเดินเที่ยวงานวันเกษตรของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 
แล้วไปเจอร้านน้องๆนักศึกษเขาโชร์ผลงานของโครงการเกษตร เจอผลไม้แปลกๆ จึงถามน้องเขาว่าเป็นลูกอะไร ผิวเขาเหลืองๆ มันๆ แล้วก็ลื่นๆ น้องเขาบอกว่ามันมีชื่อว่า มะพูด อ้อ! นึกออกทันทีเมื่อตอนสมัยเด็กๆ แม่จะนำมาแกงส้มให้กินเป็นประจำแล้วพอโตขึ้นมา ก็ไม่ได้กินอีกเลยประมาณว่ามันสูญหายไป ไม่ค่อยมีต้นให้เห็นเมื่อก่อนแม่ก็เอาลูกมะพูดมาจากบ้านคุณตาที่สนิทกัน แล้วตอนนี้ไม่มี ทั้งตา 
ทั้งบ้าน ทั้งมะพูด แต่ยังจำได้ว่า มีลุงคนหนึ่งแกสติไม่ค่อยดี ชอบพูดว่า แกงส้มเจรจากับปลาช่อน เราก็นึกแปลกใจ ที่แท้ส้มมะพูด  นี่เอง อีกอย่างกลิ่นของมะพูดเมื่อแกงส้มจะคล้ายกับเปลือกชะมวง

วันก่อนสามีเอามาแกงก็จำไม่ได้ว่าลูกอะไร เขาบอกว่าลูกพูด (ภาษาใต้) พอหั่นเนื้อแล้วก็มียางติดเหลืองๆ ที่มีด เมล็ดเป็นพูๆคล้ายเมล็ดชะมวง เช่นกัน



สรรพคุณทางยา
น้ำคั้น ลูกมะพูด รสเปรี้ยวอมหวาน แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ และแก้เลือดออกตามไรฟัน
ราก รสจืด สามารถใช้แก้ไข้ แก้ร้อนใน และถอนพิษผิดสำแดง
เปลือก มีรสฝาด ใช้ชำระบาดแผล 

ผล มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ  ช่วยขับถ่ายโลหิตเสียให้ตก  ช่วยแก้อาการช้ำใน 
เมล็ด นำมาบดผสมกับน้ำส้มหรือเกลือ ใช้ทาแก้อาการบวม

ทางอาหาร ใชเปลือก
นำมาแกงส้มกับปลา ของคนปัษ์ใต้

ความเชื่อ  มะพูดเป็น ต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ)  เชื่อว่าคนโบราณปลูกเอาเคล็ด เพื่อหวังให้ลูกหลานเป็นคนช่างพูดช่างเจรจาในสิ่งที่ดีงาม เพราะคนที่พูดจาไพเราะก็จะมีคนชื่นชอบกันมาก หากลูกหลานบ้านไหนเป็นเด็กไม่ค่อยพูด คนเฒ่า
คนแก่ ปู่ย่าตายาย ก็จะให้ทานลูกมะพูดสุก จากเด็กพูดน้อยๆ จะกลายเป็นเด็กพูดเก่งได้อย่างเหลือเชื่อ


ตอนนี้เป็นไม้หายากเสียแล้ว นักศึกษาเลยมีการเพาะเลี้ยงสงสัยปีหน้าต้องมีต้นให้ได้ซื้อหาแน่นอน




0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น