วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

สุริยุปราคา 
 
คนไทยมาดูสุริยุปราคา กันในวันนี้ที่ 9 มีนาคม 2559 ถ้าพลาดวันนี้ก็ต้องรออีกทีนานค่ะ 
แต่ครั้งนี้ถ้าจะให้เห็นแบบชัดๆ ก็ต้องภาคใต้ สามจังหวัดชายแดน จัดยิ่งกว่าใคร 
เพราะเกิดกลางวันจึงเรียกว่าสุริยุปราคา ถ้าเกิดกลางคือ เรียกจันทรยุปราคา 
ผู้เขียนจำได้ว่า ตอนเด็กๆ ถ้าเกิดจันทรยุปราคา แล้ว พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย จะเรียกให้ลุกขึ้นมาช่วยจันทร์กัน (ภาษาใต้) ประมาณว่า มาเคาะต้นไม้ เพื่อจะช่วยกันไล่พระราหู ไม่ให้กินดวงจันทร์ เป็นความเชื่อ หรือไม่ก็ จะมาเคาะกระเป๋าสตางค์ เรียกเงิน ก็ความเชื่ออีกนั่นแหละค่ะ เอาเป็นว่าเชื่อได้ไม่งมงาย

สุริยุปราคา จะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลากลางวันและตรงกับ วันแรม 15 ค่ำ หรือ วันขึ้น 1 ค่ำ เท่านั้น  ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ในเขตใต้เงามืดของดวงจันทร์จะมองเห็นดวงอาทิตย์มืดมิดทั้งดวงเรียกว่า
"สุริยุปราคาเต็มดวง" ท้องฟ้าจะมืดไปชั่วขณะ  ในขณะที่ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบัง ไปบางส่วนเรียกว่า"สุริยุปราคาบางส่วน"  

สำหรับการเกิดสุริยุปราคาในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าปกติ ทำให้เงามืดของดวงจันท์ทอดตัวไปไม่ถึงพื้นโลก  แต่ถ้าต่อขอบของเงามืดออกไปจนสัมผัสกับพื้นผิวโลกจะเกิดเป็นเขตเงามัวขึ้น  ตำแหน่งที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวนี้จะมองเห็นสุริยุปราคาวงแหวนดวงจันทร์มี ขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก  แต่ที่เรามองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้มิด  ก็เพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์

 
 
ประเภทของสุริยุปราคา
          ลักษณะเงาของดวงจันทร์ เนื่องจากดวงจันทร์เป็นวัตถุทึบแสงและมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก เมื่อมันโคจรมาบังแสงจากดวงอาทิตย์ก็จะทำให้เกิดเงา 2 ลักษณะคือ เงามืด (Umbra) ซึ่งเป็นอาณาเขตที่แสงอาทิตย์ส่องไปไม่ถึงผู้ที่อยู่ใต้เงามืดจะเห็นดวง จันทร์บังดวงอาทิตย์มืดไปทั้งดวงก็จะเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง และ เงามัว (Penumbra) ซึ่งเป็นอาณาเขตที่แสงอาทิตย์ส่งออกไปถึงได้บ้าง ผู้ที่อยู่ใต้เงามัวจะเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์เพียงบางส่วน ก็จะเห็นสุริยุปราคาบางส่วน แต่ถ้าดวงจันทร์อยู่ไกลโลกมากกว่าปกติเงามืดจะทอดไปไม่ถึงโลก คงมีแต่เงามัวเท่านั้น ดวงจันทร์จึงบังดวงอาทิตย์ไม่มิด คนที่อยู่ใต้เงามัวส่วนในจะเห็นดวงอาทิตย์เป็น รูปวงแหวน มีดวงจันทร์อยู่กลาง ก็จะเห็นสุริยุปราคาเป็นรูปวงแหวน ซึ่งเราแบ่งสุริยุปราคาออกตามลักษณะการเกิดได้ 3 ประเภท คือ

          1. ถ้าเงาของดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์เห็นมืดเป็นบางส่วน จะเรียกว่า สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse)

          2. ถ้าดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง ซึ่งจะเกิดให้เราได้เห็นไม่บ่อยนัก และเกิดให้เห็นในระยะอันสั้น เราเรียกว่า สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) โอกาสที่จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงให้เห็นได้นานที่สุดเท่าที่มีมา ไม่เคยถึง 8 นาทีเลยสักครั้งเดียว

          3. ถ้าดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์เฉพาะตรงกลาง ทำให้เกิดขอบแสงสว่างปรากฏออกโดยรอบดุจมีวงแหวนล้อมรอบ ก็เรียกว่า สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse)


0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น