วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การเตรียม ปรุง และเก็บรักษาอาหาร 

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ
การเก็บและถนอมอาหารมีหลากหลายวิธีการ คุณแน่ใจหรือยังว่าคุณได้เก็บรักษาอาหารได้ถูกวิธีการ
สิ่งสำคัญในครัวอันดับแรกๆคือ สุขอนามัยเพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการปนเปื้อนแบคทีเรียในอาหารและการเกิดอาหารเป็นพิษ ทุกขึ้นต้อนที่ทำต้องสะอาด ทั้งการเตรียม ปรุง และการเก็บรักษา ล้วนเป็นสิ่งที่กำหนดได้ว่าอาหารนั้นๆยังคงคุณค่าไว้ได้มากน้อยอย่างไร

 ในภาพอาจจะมี 1 คน, อาหาร
เช่น
การทำให้แห้ง เป็นการลดความชื้นในอาหาร ยับยั้งปฎิกิรยาของเอมไซม์ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้อาหารเน่าเสีย 

การแช่แข็ง เป็นการเก็บอาหารไว้ที่อุณหภูมิตั้งแต่ - 18 องศาเซลเซียล สามารถชะลอการเน่าเสียของอาหารได้

การอาบรังสี เป็นากรใช้วิธีฆ่าเชื้อในอาหารจำพวกเครื่องเทศ ยืดอายุอาหารทะเล สตอรอว์เบอร์รี่และผลไม้ที่มีผิวบอบบาง

การบรรจุกระป๋อง เป็นอาหารที่บรรจุกระป๋องโลหะแล้วจะนำไปนึ่งด้วยความร้อนสูงตามระยะเวลาที่กำหนด

การใช้วัตถุเจือปน มีสารเคมหลายชนิดที่ใส่ลงไปในอาหารแล้ว จะช่วยยืดอายุอาหารจาก 2-3 วัน นานไปเป็นเดือนๆ  สารปรุงแต่งที่มักเติมลงไป ได้แก่ น้ำตาล เกลือ น้ำส้ม และอื่นๆ 

 ในภาพอาจจะมี อาหาร

ซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าขนาดใหญ่ มักมีตู้แช่เย็นคุณภาพสูง ปัจจุบันร้านอาหารสุขภาพมีแหล่งจำหน่ายผักและผลไม้ปลอดสารพิษ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่กังวลเรื่องสารพิษตกค้าง

การเก็บรักษา การแช่แข็ง การละลายอาหารอย่างปลอดภัย มาดูกันว่ามี อะไรบ้าง ทำอย่างไร

ในภาพอาจจะมี อาหาร
เนย  
การเตรียม  แช่แข็งทั้งกระดาษห่อ          
การหีบห่อ  หากระดาษซ้อนถ้าเนื้อเนยอ่อนตัว  
ข้อควรรู้     เนยจืดเก็บได้นานกว่าเนยเค็ม
ใช้ภายในเวลาเดือน 3-8 เดือน
การละลาย จำนวน ชม.ต่อ 0.5 กรัม ในตู้เย็น 12 นอกตู้เย็น 1-2

 
ปลาเนื้อขาวและปลาที่มีไขมันมาก
การเตรียม   ทั้งตัวและขอดเกล็ดแล่เป็นชิ้นบาง (fillet)        
การหีบห่อ    ห่อด้วยพลาสติก กระดาษห่อของแช่แข็งหรือกระดาษฟอยล์
ข้อควรรู้       ปลาที่มีไขมันมากเก็บได้นานเพียง 3 เดือน
ใช้ภายในเวลาเดือน  3-6 เดือน
การละลาย จำนวน ชม.ต่อ 0.5 กรัม  ในตู้เย็น 6-10 นอกตู้เย็น 3-5


ปลาชิ้นโต
การเตรียม    ใช้กระดาษห่อของแช่แข้ง วางแยกชิ้นปลา       
การหีบห่อ     ห่อด้วยพลาสติก กระดาษห่อของแช่แข็งหรือกระดาษฟอยล์
ข้อควรรู้        ใช้กระดาษซับให้แห้ง ก่นอนำไปแช่แข็ง
ใช้ภายในเวลาเดือน  3-6 เดือน
การละลาย จำนวน ชม.ต่อ 0.5 กรัม  ในตู้เย็น 6-10 นอกตู้เย็น 3-5


เนื้อหมูและเนื้อวัวส่วนที่ติดกระดูก
การเตรียม  สับให้ได้ขนาดที่ต้องการ ห่อให้มิดชิดด้วยกระดาษฟอยล์หรืเลาะกระดูกออกกม้วนแล้ว     มัดให้เรียบร้อย         
การหีบห่อ   ห่อด้วยพลาสติก หรือกระดาษฟอยล์ให้แน่นหากเป็นเนื้อชิ้นโตควรห่อซ้อนอีกชั้น
ข้อควรรู้      เลาะกระดูกออกก่อนจะช่วยประหยัดเนื้อที่ในการแช่แข็ง
ใช้ภายในเวลาเดือน 4-6 เดือน
การละลาย จำนวน ชม.ต่อ 0.5 กรัม  ในตู้เย็น 5 นอกตู้เย็น 2




เนื้อหมูและเนื้อวัว
การเตรียม    ใช้กระดาษห่อของแช่แข็ง วางแยกชิ้นเนื้อ       
การหีบห่อ     ใช้ถุงหรือกล่องพลาสติก
ข้อควรรู้         ปล่อยให้กมูละลายในตู้เย็น
ใช้ภายในเวลาเดือน  4-6 เดือน
การละลาย จำนวน ชม.ต่อ 0.5 กรัม  ในตู้เย็น 5 นอกตู้เย็น 2


เนื้อบด   

การเตรียม    แบ่งเป็นส่วนๆ       
การหีบห่อ    ใช้ถุงใส่ของแช่แข็งและปิดผนึกให้แน่น
ข้อควรรู้       ควรแช่แข็งเนื้อบดที่สดใหม่เท่านั้น
ใช้ภายในเวลาเดือน   1-2 เดือน
การละลาย จำนวน ชม.ต่อ 0.5 กรัม  ในตู้เย็น 6 นอกตู้เย็น 1-1 1/2


ไส้กรอก ซื้อจากร้าน

การเตรียม    ไม่ต้องเตรียม     
การหีบห่อ     ใช้ถุงพลาสติกหรือถุงใส่ของแช่แข็งห่อให้แน่นแล้วปิดผนึก
ข้อควรรู้        ไส้กรอกทำเองเก็บได้นานถึง 6 เดือน
ใช้ภายในเวลาเดือน   3 เดือน
การละลาย จำนวน ชม.ต่อ 0.5 กรัม  ในตู้เย็น 6 นอกตู้เย็น 1-1 1/2
ผักใบเขียว
การเตรียม    ล้างตัดราก ใบที่ไม่ดีทิ้ง ลวกน้ำร้อน ผึ่งไว้       
การหีบห่อ     ใช้ถุงหรือกล่องพลาสติก
ข้อควรรู้        ไล่ลมออกจากถุง
ใช้ภายในเวลาเดือน  12 เดือน
การละลาย จำนวน ชม.ต่อ 0.5 กรัม  ในตู้เย็น 0 นอกตู้เย็น 0

ลูกเบอร์รี่
การเตรียม     เด็ดกลีบเลี้ยงออกโรยน้ำตาล หรือแช่ในน้ำเชื่อม  
การหีบห่อ      ใช้ภาชนะพลาสติกหรือกล่องกระดาษขี้ผึ้ง
ข้อควรรู้          สตอรอว์เบอร์รี่และราสป์เบอร์รี่อาจแช่แข็งได้เลย ไม่ต้องโรยน้ำตาล
ใช้ภายในเวลาเดือน  9 เดือน
การละลาย จำนวน ชม.ต่อ 0.5 กรัม  ในตู้เย็น 6-7 นอกตู้เย็น 2-3


แอปเปิ้ล
การเตรียม      ล้างปอกเปลือก เอาไส้ออก หั่นเป็นแว่น ลวกน้ำร้อน     
การหีบห่อ      ใช้ภาชนะพลาสติกหรือถุงสำหรับใส่ของแช่แข็ง
ข้อควรรู้         โรยน้ำตาลบนแอปเปิลให้ทั่วก่อนบรรจุถุง
ใช้ภายในเวลาเดือน  9 เดือน
การละลาย จำนวน ชม.ต่อ 0.5 กรัม  ในตู้เย็น 7-8 นอกตู้เย็น 3 1/2 -4


ลูกพืชและลูกพลัม
การเตรียม      พีชล้าง เอาเมล็ดออก ปอกเปลือก พลัมผ่าครึ่ง แช่ในน้ำเชื่อม
การหีบห่อ      ใช้ภาชนะพลาสติกหรือกล่องกระดาษขี้ผึ้ง
ข้อควรรู้         ใส่มะนาว 1ช้อนชา ลงในน้ำเชื่อมครึ่งลิตร ช่วยให้ผลไม้ไม่เปลื่ยนสี
ใช้ภายในเวลาเดือน  9 เดือน
การละลาย จำนวน ชม.ต่อ 0.5 กรัม  ในตู้เย็น 7-8 นอกตู้เย็น 3 -4

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น