วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566

 คล้า


คล้า เป็นพืชขึ้นริมน้ำชื้นแฉะชุ่มน้ำ ใบเรียงตัวตาข้อ ผิวเรียบลื่นเป็นมัน ขอบใบมีสีแดงๆรอบใบ (อยู่กลางแจ้ง) ลำต้นและกิ่งข้อ กลมแข็ง ผิวสีเขียวเข้ม แตกเป็นกอ  

ความเชื่อการปลูกต้นคล้า ถือว่าเป็นมงคล คุ้มครอง แคล้วคลาด ปลอดภัย

 

 

ภายในลำต้นจะมีเยื่อขาวๆ สามารถลอกออกได้  มีเหง้าใต้พื้นดินใช้เป็นสมุนไพร มีฤทธิ์เย็น ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับการระบบประสาท ที่ทำไห้ร่างกายร้อนเกินไป หัวหรือเหง้าของต้นคล้าใช้ต้มเป็นยา 

ลำต้นและข้อตา กลมแข็ง ผิวสีเขียวเข้ม
ต้นคล้าในที่ร่ม ขอบใบสีจะซีดๆ


 
ต้นคล้าในที่โล่งแจ้ง ขอบใบสีจะมีสีแดงเรื่อๆ  

     ยอดอ่อนกลมๆ ของคล้า มักมีน้ำค้างขังและเย็น คนโบราณจะใช้ดื่มกินแก้กระหาย หรือหยอดตาเมื่อเป็นโรคตาแดง หรือเจ็บตา เพราะมีฤทธิ์เย็นทำไห้สดชื่น สบายตา
 
 

คำโบราณหมอยาพื้นบ้านกล่าวไว้ว่า "ร้อนกลุ้ม กินหัวคลุ้ม"  "ร้อนกล้า กินหัวคล้า"

 

   หัว/เหง้า แก้พิษไข้ทั้งปวง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้รากสาด แก้ไข้เหนือ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้ปอดบวม แก้เหือด หัด อีสุกอีใส แก้ฝีดาษ แก้ประดง แก้ไข้จับสั่น

 

ความเชื่อของคนโบราณ การปลูกคล้าไว้ที่บ้านหรือบริเวณบ้าน เชื่อว่าช่วยคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข แคล้วคลาด พิษภัยศัตรูทั้งปวง

โบราณมักปลูกคล้า ไว้ใช้งาน เช่น ทำเสื่่อคล้า ทำตอก(เชือก) มัดต้นกล้าข้าว

เสื่อคล้า 

เส้นผิวคล้าด้านนอก ที่ใช้ทำเป็นเสื่อคล้า ใช้ผิวด้านนอกตากแห้ง ทำเครื่องจักสาร เช่น สาด(เสื่อ)คล้า เชือกมัดของ เพราะผิวที่ทำเป็นเส้นมีความเหนียว แข็งน้อยกว่าต้นคลุ้ม

      การลอกเยื่ออ่อนในลำต้น ต้องใช้ของมีคม เช่น มีด พร้า

ผิวคล้า ทั้งด้านนอกและด้านใน
 
  คลุ้ม ใช้ผิวด้านนอก เป็นเครื่องจักสารหลากหลายรูปแบบ เช่น ตะกร้า หมวก เพราะผิวที่ทำเป็นเส้นมีความเหนียว แข็งกว่าคล้า ใบใหญ่กว่าคล้า ใช้ห่อขนมหรือข้าวของได้ 

   

คล้า เป็นไม้มงคลที่ปลูกไว้ที่บ้านหรือบริเวณบ้าน เชื่อว่าช่วยคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข แคล้วคลาด พิษภัยศัตรูทั้งปวง 

 

     คล้า เป็นสเหมือนพุทธรักษาน้ำ เป็นไม้มงคลนาม คือ มีพระพุทธเจ้ารักษา คุ้มครอง 

   คล้า กับ คลุ้ม คล้ายๆกันแต่ใช้ประโยชน์แตกต่างกัน

ชื่อต้นคล้า  https://www.kasettambon.com 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schumannianthus dichotomus (Roxb.) Gagnep.

ชื่อวงศ : MARANTACEAE

 

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น