วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

 ว่าวควายภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช

ว่าวควาย เป็นศิลปะพื้นเมือง ศิลปะบนท้องฟ้าที่สวยงาม ศิลปะพื้นถิ่นตั้งแต่ครั้งอดีต หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ย่างเข้าเดือนเมษายน จะมีลมทะเลพัดขึ้นบก เรียกว่า"ลมว่าว" เมื่อถึงฤดูการเล่นว่าว ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็นำว่าวมาประชันกัน ทั้งความสวยงามของว่าวและความสูงของว่าวที่ขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้า ความสุขใจแบบคนชนบทที่คนในเมืองไม่พบเจอ

 

ชาวบ้านรุ่นปู่ย่า ตายาย มักจะทำว่าวไห้ลูกหลานเล่น หรือนัดแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน เพื่อดูว่าว่าวใครตัวใหญ่กว่า หรือว่าวใครขึ้นสูงกว่า เรียกว่า "ว่าวติดลมบน" หรือว่าวลู่ลมส่ายไปมาบนท้องฟ้าสีคราม

ปัจจุบันยังมีผู้คนเล่นว่าวกันไม่มากนัก และมีคนทำว่าวน้อยลงไป มีว่าวที่ทำจากโรงงานขายมากขึ้น การแข่งขันมีเฉพาะบางพื้นที่ การชักว่าวหรือเล่นว่าวของคนภาคใต้ เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนเฒ่าคนแก่ที่นำไม้ไผ่มาประดิษฐ์เป็นของเล่นไห้ลูกหลานโดยไม่ต้องซื้อหา เป็นการนำสิ่งของเหลือใช้หรือสิ่งของใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์

 

"ว่าวควาย" เป็นการผสมผสานโครงว่าวระหว่างว่าวจุฬากับว่าววงเดือน เป็นศาสตรและศิลป์ของช่างที่ทำว่าว ว่าวควายที่ทำขึ้นเพื่อไห้ระลึกถึงควายที่ช่วยชาวนาทำนามาแต่โบราณ


ว่าวที่มีความสมบูรณ์แบบ มีหัว หู จมูกและลวดลายสวยงาม เป็นตัวแทนของควาย

ส่วนหัวติดแอก ทำไห้เกิดเสียงเหมือนควายร้อง เมื่อถูกชักขึ้นสูงติดลมบนจะมีเสียงเกิดขึ้น

ส่วนของแอก เป็นไม้ไผ่และเชือกเส้นเล็กๆ ผูกติดกับส่วนหัวและปีกที่โค้งลง 

ส่วนของหัว อก และส่วนปีกล่างด้านบน จะติดพู่ เพื่อบังคับตัวว่าวเมื่อโดนลม

 

โครงสร้างรูปทรง “ว่าวควาย” ปีกตอนบนจะต้องโค้ง ตอนล่างต้องทำโครงเป็นรูปร่างหัวหรือเขาควาย บริเวณเขาจะต้องมีความสง่างามโค้งได้รูป ตอนล่างของจะต้องยาวโค้งรับกับปีกบน โดยความยาวของปีก จะมีขนาดตำสุดประมาณ 1.20 เมตร

 

ช่างที่มีความชำนาญในการขึ้นโครง และการประกอบว่าวควาย โดยยังคงอนุรักษ์ กรรมวิธีการทำว่าวตามแบบโบราณ ลุงวี อยู่บ้านสองแพรก ต.โพธ์ทอง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ทำว่าวด้วยมือทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกใช้ไม้ไผ่เพื่อขึ้นโครง และทำส่วนต่าง ๆ ของว่าว

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น