วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ประเพณีตักบาตรเทโววันออกพรรษา ลากเรือพระภาคใต้ ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11

 

งานตักบาตรเทโว เป็นงานประเพณีครั้งโบราณกาล เป็นประเพณีที่ชาวบ้านทุกคนภูมิใจกันมาก นอกจากการตักบาตรเทโวโรหณะแล้ว ในหลายพื้นที่ยังได้จัดงานทำบุญชักพระโดยเป็นการแห่ขบวนเรือพระจากวัดต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมทำบุญเนื่องในวันออกพรรษา และวันแรม 1 ค่ำ


 


วันตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นประเพณีตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนว่า เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา ทั้งนี้คำว่า
เทโวโรหณะ แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก ซึ่งหมายถึง การเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า


การตักบาตรเทโว ที่มีความสอดคล้องกับพุทธตำนานมากที่สุด กล่าวคือ ในสมัยพุทธกาล เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมศาสดาได้เสด็จขึ้นไปแสดงธรรมโปรดพุทธมารดายังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา ๓ เดือนเต็ม จนกระทั่งพระพุทธมารดาได้บรรลุ ซึ่งพระอริยมรรค อริยผล เป็นพระอรหันต์ภูมิแล้วจึงเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาสู่โลกมนุษย์ ซึ่งพระอินทร์ได้ให้พระวิศณุกรรมเนรมิตบันไดแก้วทอดให้พระพุทธองค์เสด็จโดยมีบันไดทองเบื้องซ้ายและบันไดเงินเบื้องขวาสำหรับ หมู่ เทพยดา พระอินทร์และพระพรหม ทอดลงมาสู่มนุษยภูมิที่มีสังกัสนคร วันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์นั้น เรียกว่า "วันเทโวโรหณะ" ซึ่งจะมีพระอรหันต์พร้อมด้วยสาธุชนมารอรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อการใส่บาตรอย่างมากมายขึ้นที่บริเวณนี้

 
ตามตำนานความเชื่อ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงเทศนาโปรดประชาชนในอินเดียตอนเหนือ เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี และเมืองกบิลพัสดุ์ ปิตุภูมิของพระพุทธเจ้า ทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติ ทรงปรารถนาจะสนองพระคุณมารดา ที่หลังประสูติพระองค์ได้ 7 วัน ก็สิ้นพระชนม์ และได้ไปเกิดเป็นนางสวรรค์อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต
ในพรรษาที่ 7 หลังการตรัสรู้พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎก โปรดพระพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่ง ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ จากนั้นประชาชนได้พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น เป็นที่มาของประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ


ประเพณีชักพระแต่โบราณ ชาวบ้านจะมารอขบวนเรือพระที่ล่องมาทางน้ำ และตักบาตรกันด้วยขนมเทียน เรือพระแต่ละลำจึงมีขนมแขวนอยู่ตามลำเรือเต็มไปหมด ปัจจุบันแม้ว่าจะเปลี่ยนมาเป็นการแห่พระทางบก ก็มีชาวบ้านรุ่นคุณป้าที่ยังคงเตรียมขนมเทียน ขนมต้มมาตักบาตร ชาวบ้านบางคนมารอตักบาตรเรือพระที่จะวิ่งผ่านเข้าไปร่วมขบวนแห่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นรถขนาดเล็กๆ ส่วนเรือขนาดใหญ่ที่ตกแต่งมาอย่างสวยงาม

หลังจากที่ตักบาตรพระบนเรือพระ แล้วเข้าร่วมชักเรือพระและชมขบวนแห่เรือพระไปพร้อมๆกัน เพราะมีการตีกลองยาว เป็นเพลงร้องรำอย่างสนุกสนาน ตามเส้นทางถนนต่างๆ จนกว่าจะเรือพระจะกลับถึงวัดของในแต่ละวัน






วันนี้วันดี แรม 1 ค่ำเดือน 11 ชาวบ้านทำการตักบาตรเทโวและลากเรือพระ ตามท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศไทย

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น