วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

ประเพณีก่อกองทราย


มาทำบุญ..สงกรานต์.วัดห้วยทรายใต้  ประเพณีการก่อเจดีย์ทราย ประเพณีนี้ นิยมทำกันในทุกภาคของประเทศไทย ในวันสำคัญๆ เช่นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือวันสำคัญอื่น อย่างวันสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทยนั่นเอง


ประเพณีการก่อกองทราย นั้นย้อนไปได้ถึงสมัยพุทธกาล โดยครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งแคว้นโกศล ได้อัญเชิญพระพุทธองค์ ให้เสด็จไปประทับ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนา ครั้นเมื่อพระมหาบุรุษ ทรงเสด็จไปยังแคว้นโกศล พร้อมพระสงฆ์สาวกจำนวนมาก พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงทอดพระเนตรเห็น จึงมีความศรัทธา จึงชักชวนให้เหล่าพุทธบริษัท ก่อกองทรายเป็นรูปเจดีย์กว่า 8 หมื่น 4 พันองค์ พร้อมประดับธงทิวเป็นพุทธบูชา


นอกจากเรื่องความเชื่อทางศาสนาแล้ว ยังเป็นกุศลโลบายในเรื่องความสามัคคีแก่คนชาวบ้านในชุมชนโดยจะมีความเชื่อเกี่ยวเนื่องกับเรื่องการขนทรายเข้าวัด ที่เชื่อการว่าการที่เราเดิน ขี่รถ หรืออะไรก็แล้วแต่ จะทำไห้เท้าเราหรือล้อรถ ติดทรายที่วัดออกไป เพราะฉนันเราก็ต้องขนทรายมาในวัดเท่ากับที่ติดเท้าเราออกไปจะได้ไม่ติดหนี้วัด

ในสมัยก่อน ว่ากันว่าการช่วยกันขนทรายเข้าวัดสำหรับการซ่อมแซม หรือก่อสร้างสิ่งก่อสร้างในวัดนั้นจะได้บุญกุศล ส่วนทรายที่เหลือจากการก่อสร้าง ก็จะนำมาก่อเป็นเจดีย์ทราย เพื่อเพิ่มอานิสงส์ ผลแห่งการทำบุญนั้นเอง


วันสงกรานต์นั้น จะมีการขนทรายเข้ามาในวัด แต่เดิมนั้นเพื่อจุดประสงค์อื่น แต่ปัจจุบันนั้นเพื่อเป็นการใช้ก่อเจดีย์ทราย โดยพุทธศาสนิกชน จะเข้าวัดมาทำบุญ สรงน้ำพระ และมีการเล่นสาดน้ำ ตลอดจนการก่อเจดีย์ทรายประดับด้วยธงกระดาษหลากสีสันต่างๆ กันไป โดย จะมีการอธิษฐานเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องอานิสงส์ ของการก่อเจดีย์ทราย ดังที่กล่าวไปแล้วในพุทธตำนาน

 
 ปัจจุบันประเพณีการก่อเจดีย์ทราย เริ่มจะเลือนหายไปจากสังคมไทยมากแล้ว และทางวัดห้วยทรายใต้ยังมีการอนุรักษ์เอาไว้ ไห้สาธุชนได้มีการก่อเจดีย์ทรายกันทุกปี ในวันมหาสงกรานต์


หากยังไม่มีการอนุรักษ์เอาไว้ สักวัน ประเพณีก่อเจดีย์ทรายนี้ จะเลือนหายไปจากสังคมคนไทยแน่

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น