ไข้เลือดออก
จากที่ดารา คุณปอ ทฤษฏี ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก เกล็ดเลือดต่ำมาก แต่อาการโคม่านั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ของ โรคไข้เลือดออก เพราะผู้เขียนก็เคยเป็นโรคไข้เลือดออกเช่นกัน
ตอนเดือนพฤษภาคม ปี2558
อาการแรกที่สงสัย
1. มีไข้ต่ำๆ ประมาณ 2 วัน กินพาราเซตามอล
2. รู้สึกเพลียๆ ตั้งแต่วันที่มีไข้
3. ปวดๆ เมื่อยๆ ตามตัว
สงสัยตัวเองว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่หรือปล่าวเลยไปสถานพยาบาลที่ทำงานอยู่น้องเขาตรวจดู
แล้วก็สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดไหญ่ให้ไปตรวจใหม่ที่ โรงพยาบาลท่าศาลา อีกครั้ง
ตอนเย็นวันนั้นไปโรงพยาบาลค่ะ หมอซักถามอาการ ว่าเป็นมากี่วัน กินยาอะไรบ้าง มีอาการอย่างไร
มีน้ำมูกมั๊ย ไอหรือปล่าว เราตอบ แค่รู้สึกมีไข้ต่ำๆ และก็เพลียๆ มาประมาณ 2 วัน กินพาราอย่างเดียวปวดๆเมื่อยๆ ตามตัว และแล้วคุณหมอก็ควันธงว่า สงสัยจะเป็นไข้เลือดออกแล้ว แล้วก็บอกวิธีรักษา
ว่าไม่มียารักษา มีแต่ยาที่ให้ตามอาการที่เป็น เราก็สงสัยว่าเป็นได้อย่างไร นอกก็กางมุ้ง สงสัยจะตอน
ไปกรีดยาง ข้างๆบ้านก็มีคูน้ำ เพราะช่วงนั้นยุงเยอะ หมอก็ถามว่ามีใครเคยเป็นมั๊ยแถวๆบ้าน บอกว่าไม่มีคนที่บ้านก็ไม่มีใครเป็น งั้นพรุ่งนี้หมอขอนัดตรวจเลือดนะ หมอก็สั่งจ่ายยา พารา ยาคลายเส้น เกลือแร่
ตอนเช้าอีกวันก็ไปโรงพยาบาลอีก คุณหมอขอตรวจเลือดเพื่อดูเกล็ดเลือด ผลออกมา เกล็ดเลือด
เหลือ 100,000 ซึ่งคนปกติหมอบอกว่า จะมี 120,000 เป็นอย่างน้อย คุณนะเป็นไข้เลือดออกแน่
อีก 2 วันมาตรวจเลือดใหม่อีกครั้ง เพราะรัดแขนก็ไม่มีตุ่มขึ้น อาการจะเพลียกว่าเดิม เนื่องจากกินข้าว
ไม่ได้ แต่กินผลไม้แทน กินข้าวต้มได้เล็กน้อย เริ่มเพลียมากขึ้น มีไข้มากกว่าเดิม เริ่มปวดหัวนิดๆ จากที่ไม่เคยปวดหัวเลย ก็พึ่งจะรู้ว่าปวดกันอย่างนี้เอง อยากนอนอย่างเดียว
พอไปตรวจเลือดตามหมอนัดอีก เกล็ดเลือดเริ่มน้อยกว่า 100,000 แต่ไม่มากหมอบอกยังไม่ต้อง
นอนโรงพยาบาล ให้นอนที่บ้านปลอดภัยกว่า เพราะคนไข้ล้นโรงพยาบาล และก็สั่งยาอยากอาหารให้อีก
หลังจากนั้น ก็นัด 2 วันครั้งเพื่อไปตรวจดูเกล็ดเลือด จนแน่ใจว่าไม่มีอันตรายต่อคนไข้ แต่ได้ยามาเพิ่ม
มานอนที่บ้านประมาณ 2 อาทิตย์ ลางานก็ยังรู้สึกเวียนหัว มึนหัวอยู่ กินไม่ได้ เริ่มมีตุ่มแดงนิดๆ
กว่าจะหายดีก็ประมาณ 1 เดือนน้ำหนักหายไปมาก หมอบอกอีกว่าไข้เลือดออกนั้นสามารถเป็น
ครั้งที่ 2 ได้รุนแรงกว่าครั้งแรกมาก โอ! น่ากลัวมาก แต่จะทำอย่างไรได้ ไม่อยากเป็นแต่ก็มียุง
แต่หลังจากนั้น คุณอาของลูกๆ ก็เป็นกัน 2 คนแต่คนละบ้านกัน ซึ่งอาการนั้นรุนแรงมาก ปวดหัวมากแทบระเบิดได้ เขาบอกอย่างนั้น เพลีย ท้องเสีย ปวดท้อง ต้องนอนโรงพยาบาล ให้น้ำเกลือหลายคืน
ไข้เลือดออกนอก
จากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว
ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น
และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้
และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ขวบ
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย
ลักษณะตุ่มไข้เลือดออก
ตุ่มโรคไข้เลือดออกจะคล้ายกับตุ่มยุงกัดทั่วตัว
และใกล้เคียงกับผื่นจากโรคหัด แต่จะสังเกตได้ว่า
ถ้าเป็นไข้เลือดออกจะไม่มีอาการไอหรือน้ำมูกไหล
และจุดเลือดออกของโรคไข้เลือดออกจะไม่รู้สึกสากมือเหมือนโรคหัด
และเวลากดดึงผิวหนังให้ตึงจะไม่จางหายไปเหมือนจุดถูกยุงกัดธรรมดา
ซึ่งถ้ามีอาการตามนี้ร่วมกับมีไข้สูงตลอดเวลา
ควรรีบพาไปพบแพทย์
ไข้เลือดออกมีกี่ระยะ
ระยะฟักตัวของไข้เลือดออกจะอยู่ในช่วง 3-5 วัน และอาการไข้เลือดออกสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง
ผู้ ป่วยจะมีไข้สูงฉับพลัน ไข้จะสูงค้างอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา โดยที่กินยาลดไข้ก็ยังบรรเทาไข้ไม่ได้ ร่วมกับอาการหน้าแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และบางรายมีอาการอาเจียนเป็นพัก ๆ หรืออาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลว และบางคนอาจมีอาการเจ็บคอ ไอเล็กน้อย ทว่าในระยะ 3 วันที่ป่วยตุ่มอาจยังไม่ขึ้นให้เห็นชัด ๆ
ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก
อาการ นี้จะพบในช่วงระหว่างวันที่ 3-7 ของการป่วย และมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ป่วยจากเชื้อเด็งกีที่มีความรุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 ซึ่งระยะนี้ถือเป็นช่วงวิกฤตของโรค อาการไข้ของผู้ป่วยจะเริ่มลดลง แต่กลับอาเจียน ปวดท้องบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น ตัวเย็น มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย เหงื่อแตก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นแผ่วแต่เร็ว และความดันต่ำ ซึ่งเป็นภาวะช็อก และหากไม่ได้รับการรักษาภายใน 1-2 วัน อาจทำให้เสียชีวิตได้
นอก จากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น) เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดหรือสีกาแฟ ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งหากอยู่ในภาวะนี้อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น โดยหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเสียชีวิตภายใน 24-27 ชั่วโมง แต่หากผู้ป่วยสามารถประคองอาการให้ผ่านพ้นระยะนี้มาได้ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3 ของโรคไข้เลือดออก
ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว
ใน ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการช็อก หรือช็อกไม่รุนแรง และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของ
ผู้ป่วยจะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ
โดยผู้ป่วยจะรู้สึกตัวและร่าเริงขึ้น เริ่มกินอาหารได้
โดยอาการจะดีขึ้นตามลำดับภายในช่วงระยะ 7-10 วันหลังจากผ่านพ้นระยะที่ 2
ของโรค
การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้นอย่างง่าย ๆ
ใช้ยางหนังสติ๊กรัดเหนือข้อศอกให้แน่นเล็กน้อย ให้พอคลำชีพจรที่ข้อมือได้ รัดอยู่อย่างนั้นนาน 5 นาทีและลองเอาเหรียญบาทกดทับที่บริเวณท้องแขน หากพบว่ามีจุดเลือดออก (จุดแดง) เกิดขึ้นที่บริเวณท้องแขนในตําแหน่งที่ใช้เหรียญกดทับเป็นจํานวนมากกว่า 10 จุด ก็นับว่าเสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออกสูงมาก ยิ่งถ้าหากมีไข้มาแล้ว 2 วัน ความเสี่ยงของโรคจะอยู่ประมาณ 80% เลยทีเดียว
การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้นอย่างง่าย ๆ
ใช้ยางหนังสติ๊กรัดเหนือข้อศอกให้แน่นเล็กน้อย ให้พอคลำชีพจรที่ข้อมือได้ รัดอยู่อย่างนั้นนาน 5 นาทีและลองเอาเหรียญบาทกดทับที่บริเวณท้องแขน หากพบว่ามีจุดเลือดออก (จุดแดง) เกิดขึ้นที่บริเวณท้องแขนในตําแหน่งที่ใช้เหรียญกดทับเป็นจํานวนมากกว่า 10 จุด ก็นับว่าเสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออกสูงมาก ยิ่งถ้าหากมีไข้มาแล้ว 2 วัน ความเสี่ยงของโรคจะอยู่ประมาณ 80% เลยทีเดียว
เมื่อใดต้องรีบส่งโรงพยาบาลทันที
เมื่อมีเลือดออกผิดปกติ อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม ไม่ดื่มน้ำ กระหายน้ำตลอดเวลา มีปัสสาวะออกน้อย
เมื่อความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ตัวลาย เหงื่อออกโดยเฉพาะในช่วงไข้ลง
เมื่อความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ตัวลาย เหงื่อออกโดยเฉพาะในช่วงไข้ลง
โรคไข้เลือดออกติดต่อจากคนสู่คน ยุงลายที่เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้ออกหากินเวลากลางวัน ยุงจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่จากผู้ที่กำลังป่วยเป็นไข้เลือดออก เมื่อยุงลายไปกัดคนใหม่ ก็จะถ่ายทอดเชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไป โดยพบการระบาดมากที่สุดในฤดูฝน
อาการ
อาการของโรคนี้คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัด กล่าวคือ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
แต่แตกต่างกันที่ ไข้จะสูงกว่ามาก โดยอาจมีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีหน้าแดง
และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อค่อนข้างมากกว่า หากทำการทดสอบโดยการรัดต้นแขนด้วยสายรัด จะพบ
จุดเลือดออก ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หรืออาการเลือดออกผิดปกติอื่นๆ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจพบอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะลดลง อาจถึงกับช็อกและเสียชีวิตได้ โดยอาการนำของภาวะช็อกมักเริ่มจากการมีไข้ลดลง ดังนั้นหากพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีไข้ลดลงตามด้วยอาการดังที่กล่าวมา ควรรีบแจ้งแพทย์หรือนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
ในเด็กที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มักพบว่า มีอาการในระยะเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากผู้ปกครองละเลยการพาผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยเด็กจะเสียชีวิตเนื่องจากการรักษาที่ล่าช้าได้ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรสงสัยไว้ก่อนว่าบุตรหลานที่มีอาการไข้สูงในฤดูฝนอาจ
เป็นโรคไข้เลือดออก และควรรีบพาบุตรหลานไปรับการรักษา
การรักษา
การรักษาโรคนี้จึงเป็นการรักษาตามอาการเป็นสำคัญ กล่าวคือมีการใช้ยาลดไข้ เช็ดตัว
และการป้องกันภาวะช็อก
ยาลดไข้ที่ใช้มีเพียงชนิดเดียว คือ ยาพาราเซตามอล ขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่คือ พาราเซตามอลชนิดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด ส่วนขนาดยาที่ใช้ในเด็กคือ พาราเซตามอลชนิดน้ำ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ต่อครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง หรือ 2.6 กรัม
ยาพาราเซตามอลนี้เป็นยารับประทานตามอาการ ดังนั้น หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที
แอสไพรินและไอบูโปรเฟน เป็นยาลดไข้เช่นกัน แต่ยาทั้งสองชนิดนี้ห้ามนำมาใช้ในโรคไข้เลือดออก เนื่องจากยาทั้งสองชนิดนี้จะยิ่งส่งเสริมการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนอาจ เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้
ในส่วนการป้องกันภาวะช็อกนั้น กระทำได้โดยการชดเชยน้ำให้ร่างกายเพื่อไม่ให้ปริมาตรเลือดลดต่ำลงจนทำให้ ความดันโลหิตตก แพทย์จะพิจารณาให้สารน้ำตามความรุนแรงของอาการ โดยอาจให้ผู้ป่วยดื่มเพียงสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์ เอ็ส หรือผู้ป่วยบางรายอาจได้รับน้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดดำ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนเกิดภาวะเสียเลือดอาจต้องได้รับ เลือดเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามจะต้องเฝ้าระวังภาวะช็อกดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นเนื่องจาก ภาวะนี้มีความอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
การป้องกันไม่ให้เป็นโรคโดยการควบคุมยุงลายให้มีจำนวนลดลงซึ่งทำได้โดยการ ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและการกำจัดยุงลายทั้งลูกน้ำและตัวเต็มวัย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ทั้งนี้การป้องกันทำได้ 3 ลักษณะ คือ
1. การป้องกันโดยทั่วไป ได้แก่
ปิดภาชนะเก็บน้ำด้วยฝาปิด เช่น มีผาปิดปากโอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังเก็บน้ำ หรือถ้าไม่มีฝาปิด ก็วางคว่ำลงหากยังไม่ต้องการใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นที่วางไข่ของยุงลาย
เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้สดบ่อยๆ อย่างน้อยทุกๆ 7 วัน
ปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะเก็บน้ำ เช่น โอ่ง ตุ่ม ภาชนะละ 2-4 ตัว รวมถึงอ่างบัวและตู้ปลาก็ควรมีปลากินลูกน้ำเพื่อคอยควบคุมจำนวนลูกน้ำยุงลาย เช่นกัน
ใส่เกลือลงน้ำในจานรองขาตู้กับข้าว เพื่อควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยใส่เกลือ 2 ช้อนชา ต่อความจุ 250 มิลลิลิตร พบว่าสามารถควบคุมลูกน้ำได้นานกว่า 7 วัน
2. การป้องกันทางเคมี ได้แก่
เติมทรายทีมีฟอส ซึ่งเป็นสารเคมีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้และรับรองความปลอดภัย
เหมาะสมกับภาชนะที่ไม่สามารถใส่ปลากินลูกน้ำได้
การพ่นสารเคมีหรือยากันยุง เพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย มีข้อดีคือ ประสิทธิภาพสูง แต่ข้อเสียคือ มีราคาแพง และเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันความเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง ควรเลือกฉีดในเวลาที่มีคนอยู่น้อยที่สุดและฉีดพ่นลงในแหล่งที่คาดว่าเป็น แหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ท่อระบายน้ำ กระถางต้นไม้ เป็นต้น
การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดยุงในบ้านเรือน ที่ใช้กันมี 2 ชนิด คือ ยาจุดกันยุง และสเปรย์ฉีดไล่ยุง
อย่างไรก็ตาม สารเคมีไม่ว่าจากยาจุดกันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุง ก็มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์
ดังนั้น เพื่อลดความเป็นพิษดังกล่าวควรจุดยากันยุงในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท สะดวก
ล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัส ส่วนยาฉีดไล่ยุงจะมีความเป็นพิษมากกว่า ดังนั้นห้ามฉีดลงบนผิวหนัง และควรปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุข้างกระป๋องอย่างเคร่งครัด
3. การปฏิบัติตัว ได้แก่
นอนในมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยจะต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน
เมื่อคืนดูคมชัดลึกตอน ไข้เลือดออกข้อมูลดีมาก
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น