วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

ลูกตาลเชื่อม
 

 
ไปกินเลี้ยงน้องนักศึกษาฝึกงานมา หลังจากรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้ว ต่อท้ายด้วยลูกตาลเชื่อมแสนจะหวาน พร้อมน้ำแข็ง กินแบบ เพลิน ตอนเที่ยวร้อนๆ แบบนี้ฟิลล์ๆ ไปเลย ร้อนๆอย่างนี้นี่แหละใช่เลย กับลูกตาลเชื่อม หรือ ลูกตาลลอยแก้ว

 
 หลังจากนั้นปฎิบัติการ ต้นตาลหน้าบ้าน คุณยาย สอย สอย ลงมา หน้านี้เป็นเวลาทำลูกตาลลอยแก้ว
หรือถ้าไครไปแถวๆ หัวไทย ก็จะมี ลูกตาลใส่ถุงไว้ให้เชย ชม และชิมได้ตามสะดวก 

ลูกตาลสำหรับคนใต้เรียกว่า ลูกโหนด
พอลูกตาลสุก ก็นำมาทำขนมลูกตาลลักษณะของลูกตาลแต่ละ ช่วงที่ใช้ประโยชน์



วิธีทำ
1. ลูกตาล 1 ก.ก.
2. น้ำตาลทราย 500 กรัม
3. น้ำเปล่า 6 ถ้วยตวง( ครึ่งหม้อ)
4. ใบเตยเพิ่มความหอม 3 - 4 ใบ

 
 ปฎิบัติการ ปอกลูกตาล

1. ล้างลูกตาล และปลอกเปลือกสีน้ำตาลออกให้หมด แนะนำให้ใช้ช้อนปอกจะไม่กินเนื้อลูกตาลมาก


2. เวลาหั่นลูกตาลจะหั่นโดยไม่ใช่เขียงก็ได้ โดยเอาลูกตาลวางในมือแล้วค่อยๆ หั่นตามขวางเหนือหม้อที่เราจะต้มลูกตาล เพื่อให้น้ำลูกตาลยังอยู่ในหม้อ คงความหอมหวานของลูกตาลไว้ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญต้องสดใหม่ด้วย

 

3.ต้มน้ำ เชื่อม โดยต้มน้ำรอจนเดือด(ใช้น้ำลูกตาล หรือผสมน้ำลูกตาล) ใส่น้ำตาล และใบเตยลงไป 
คนให้น้ำตาลละลายจนหมด อย่าให้นอนก้นหม้อจะไหม้ กรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อให้ได้น้ำเชื่อมที่ใส

4. ใส่เนื้อลูกตาลลงไปต้ม รอจนน้ำเชื่อมเดือดอีกครั้งปิดไฟได้

5. เวลาจะกินก็ตักน้ำแข็งทุบละเอียดๆหน่อยใส่ลงไป รับรองว่าชื่นใจคลายร้อนได้เป็นอย่างดีเลย

 



บางภาพจากอินเตอร์เน็ต เรียบเรียงโดยบ้านบิวเบสท์

 

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

"20 วิธีคิดอย่างผู้ชนะ"

คนเราเมื่อไม่ได้เกิดมาบนกองเงินกองทองทุกคน และไม่ได้มีสมองไว้สำหรับความว่างเปล่าก็ต้องมีกระบวนการทางความคิดกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะคิดดี ทำให้ตัวเองหรือคนรอบข้าง เจริญรุ่งเรือง หรือคิดแต่จะทับถมให้คนอื่นล่มจม หรืออิจฉาตาร้อนก็ตามแต่ เมื่อเวลาผ่านไป บางครั้งความคิดเหล่านี้อาจจะแว๊บ ผ่านเข้ามาในสมองเราได้ เช่นดังต่อไปนี้

1. เวลาเจองานหนัก
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ โอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ

2. เวลาเจอปัญหาซับซ้อน
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ บทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ

3. เวลาเจอความทุกข์หนัก
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ แบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะ ในการดำเนินชีวิต

4. เวลาเจอนายจอมละเมียด
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ การฝึกตนให้เป็นคนสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)

5. เวลาเจอคำตำหนิ
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ การชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ

6. เวลาเจอคำนินทา
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ การสะท้อนว่าเรายังคงเป็นคนที่มีความหมาย

7. เวลาเจอความผิดหวัง
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ วิธีที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต

8. เวลาเจอความป่วยไข้
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ การเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี

9. เวลาเจอความพลัดพราก
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ บทเรียนของการรู้จักยืนหยัดด้วยตัวเอง

10. เวลาเจอลูกหัวดื้อ
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ โอกาสทองของการพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง

11. เวลาเจอแฟนทิ้ง
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ ความเป็นอนิจจังที่ทุกชีวิตมีโอกาสพานพบ

12. เวลาเจอคนที่ใช่แต่เขามีคู่แล้ว
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ ประจักษ์พยานว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างดั่งใจหวัง

13. เวลาเจอภาวะหลุดจากอำนาจ
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ ความอนัตตาของชีวิตและสรรพสิ่ง

14. เวลาเจอคนกลิ้งกะล่อน
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ อุทาหรณ์ของชีวิตที่ไม่น่าเจริญรอยตาม

15. เวลาเจอคนเลว
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ ตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์

16. เวลาเจออุบัติเหตุ
ให้บอกตัวเอง นี่คือ คำเตือนว่าจงอย่าประมาทซ้ำอีกเป็นอันขาด

17. เวลาเจอศัตรูคอยกลั่นแกล้ง
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ บททดสอบที่ว่า "มารไม่มี บารมีไม่เกิด"

18. เวลาเจอวิกฤต
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ บทพิสูจน์สัจธรรม "ในวิกฤต ย่อมมีโอกาส"

19. เวลาเจอความจน
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือวิธีที่ธรรมชาติเปิดโอกาสให้เราได้ต่อสู้ชีวิต

20. เวลาเจอความตาย
ให้บอกตัวเองว่า นี่คือฉากสุดท้ายที่จะทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์

บางคนสำนึกได้ก็ไม่สาย แต่บางคนจนตายก็สำนึกไม่ได้ก็แล้วแต่ บุญแต่กรรมของตน


จากเฟสบุ๊ค ดาว เจ้าสำราญ เรียบเรียงโดยบ้านบิวเบสท์
  
 ไครจะคิดว่า จากก้างปลา มาเป็นสัตว์ประหลาดได้ นี่แหละความคิดที่สร้างสรรค์

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

ดอกกระโดน

ดอกกระโดน เป็นพืชพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่มีทุกภาค แต่ จะเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นถิ่น เช่น กระโดน (ภาคกลาง, ภาคใต้)  ขุย (กาญจนบุรี) เส่เจ๊อะบะ ( แม่ฮ่องสอน) ปุย (ภาคเหนือ) ปุยกระโดน (ภาคใต้) ปุยขาว ผ้าฮาด (ภาคเหนือ) พุย (เชียงใหม่) หูกวาง (จันทบุรี)
ซึ่งหลายคนอาจจะเคยเห็นหรือเคยทานบ้างแล้ว เก็บได้ไม่นาน เหี่ยวเฉาง่าย 
ช่วงเดือน ก.พ.- เม.ย.นี่แหละที่ดอกกระโดนเริ่มจะบานให้ได้ชมโฉมกัน

 
ภาคใต้อย่างฉันนิยมกินเป็นผักคู่กับแกงรสจัด ๆ เช่นแกงไตปลา ขนมจีนน้ำยา รสชาดจะออกฝาด ๆ
มัน ๆ เนื่องจากเป็นดอกไม้ และมีเกสรเยอะ ดอกมีสีออกครีม ๆ ชมพู จึงมีประโยชน์มากเหมือนกัน
แต่ถ้ากินเยอะ ๆ อาจถึงท้องผูกได้ และช่วยแก้ท้องร่วงได้ด้วย

 
ยอดอ่อนและดอกอ่อนรสฝาด อมมัน ในผักระโดน 100กรัม ให้พลังงาน 83 กิโลแคลอรี่
มีเส้นใย 1.9 กรัม แคลเซียม 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.7 มิลลิกรัม
วิตามิน เอ3958IU วิตามินบีหนึ่ง 0.10มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.88มิลลิกรัม ไนอาซิน1.8มิลลิกรัมวิตามินซี 126 มิลลิกรัม

 
ดอกกระโดน ดอกมีขนาดใหญ่ ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะตามปลายกิ่งที่ไม่มีใบ สั้นมาก ในแต่ละช่อมีดอกประมาณ 2-6 ดอก ลักษณะของดอกคล้ายเป็นดอกเดี่ยว มีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบดอกยาวประมาณ 1-5 นิ้ว ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปขอบขนาน แยกกัน ขอบกลีบและปลายกลีบเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนโคนกลีบเป็นสีชมพู โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ร่วงได้ง่าย

 
โดยดอกจะบานในเวลากลางคืน และมักจะร่วงในช่วงเช้า ดอกมีเกสรเพศผู้สีขาวจำนวนมากยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ก้านเกสรยาวเรียงตัวกันแน่นเป็นพู่ โคนก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นวงสีแดง
อ่อน ๆ โดยเกสรที่สมบูรณ์จะอยู่ข้างใน ขานฐานดอกมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน ขอบนูนขึ้น
ส่วนเกสรเพศเมียมีรังไข่ใต้วงกลีบ ลักษณะเป็นรูปกระสวยกลีบ มี 4 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุลจำนวนมาก โดยเกสรเพศเมียจะติดคงทน และก้านเกสรเพศเมียจะยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ดอกมีใบประดับลักษณะกลมหรือรี 3 ใบ มีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ แยกจากกัน ยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร
เป็นสีเขียวอ่อน หนาและค่อนข้างมน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน




สรรพคุณของกระโดน
  1. ดอก มีรสสุขุม สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย 
  2. ดอกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี  
  3. ดอก มีสรรพคุณช่วยแก้อาการหวัด หรือจะใช้ดอกและน้ำจากเปลือกสดผสมกับน้ำผึ้งกินเป็นยาแก้หวัดก็ได้  
  4. ดอก มีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ หรือจะใช้ดอกและน้ำจากเปลือกสดผสมกับน้ำผึ้งกินเป็นยาแก้ไอก็ได้
  5. ผล มีรสจืดเย็น มีสรรพคุณช่วยบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี ส่วนดอกและน้ำจากเปลือกสด หากนำมาผสมกับน้ำผึ้งก็เป็นยาบำรุงหลังคลอดได้เช่นกัน (ผล,ดอก,น้ำจากเปลือกสด)[3]
  6. ผล มีรสจืดเย็น ช่วยในการย่อยอาหาร 
  7. กระโดนจัดอยู่ในตำรับยาแก้โรคริดสีดวงทวาร ซึ่งในตำรับยาประกอบไปด้วยกระโดนโคก 1 ส่วน, ต้นกล้วยน้อย 1 ส่วน, ขันทองพยาบาท (ดูกใส) 1 ส่วน, ต้นซองแมว 1 ส่วน, ต้นค้อแลน 1 ส่วน, เงี่ยงดุกน้อย 1 ส่วน, กำแพงเจ็ดชั้น 1 ส่วน, ต้นมอนแก้ว 1 ส่วน, มอยแม่หม้าย 1 ส่วน, เล็บแมวแดง 1 ส่วน, ตากวาง 1 ส่วน โดยนำทั้งหมดมาต้มเป็นยากิน (ตำหรับยานี้พบในบ้านเชียงเหียน ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม)
  8. ต้นกระโดน สรรพคุณของเปลือกต้นใช้เป็นยาสมานแผลภายใน  
  9. ต้น ใช้ผสมกับเถายาน่องและดินประสิว นำมาเคี่ยวให้งวดและตากให้แห้ง ใช้สำหรับปิดแผลมีพิษ และปิดหัวฝี 
  10. เปลือกต้น นำมาแช่กับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย  
  11. เปลือกต้น ช่วยแก้โรคกระเพาะอาหาร 
  12. เปลือกต้น ช่วยแก้น้ำกัดเท้า 
  13. เปลือกต้น ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย เคล็ดเมื่อย เคล็ดขัดยอก  
  14. เปลือกต้น ช่วยแก้อาการอักเสบจากการถูกงูไม่มีพิษกัด แต่ในกรณีที่เป็นงูมีพิษกัดยังไม่ควรนำมาใช้ และบ้างก็ว่าใช้แก้พิษงูได้ 
  15. แก่น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสำหรับสตรีที่อยู่ไฟ   
  16. ใบ ใช้รักษาแผลสด ด้วยการนำมานึ่งให้สุกแล้วใช้ปิดแผล  
  17. ใบ มีรสฝาดใช้ใส่แผล หรือจะใช้ปรุงกับน้ำมันเป็นยาสมานแผล ส่วนเปลือกต้นก็ใช้เป็นสมานแผลได้เช่นกัน  
  18. เมล็ด มีรสฝาดเมาและมีความเป็นพิษ และมีข้อมูลระบุว่าใช้เป็นยาแก้พิษต่าง ๆ ได้ด้วย  
ตะขบ

 
ตะขบ นครศรีธรรมราชบ้านฉันคือ ลูกขลบ รสชาดฝาดค่ะ เนื้อข้างในสีชมพู ต้องคลึง เคล้น เคล้าก่อนกินพึ่งรู้นะนี่ว่าเป็นยากับเขาด้วย รู้แต่ว่าก่อนจะรับประทานต้องคลึงเบาๆ พอให้เนื้อข้างในเหลกๆ ไม่ถึงกับเหลว แค่นิ่ม ๆ อย่าให้ผลแตก เมื่อได้กินแล้วจะรับรู้ถึงรสชาดหวาน ไม่ฝาด ตะขบมีแคลเซียมสูง โปตัสเซียมก็สูง มีสารแอนโนไซานิน และใยอาหาร มิน่าละ กินแล้วอิ่มไปพักหนึ่ง
จากหนังสืออาหารเป็นยา ประโยชน์ทางยา
ผล เป็นสมุนไพรรสฝาด ต้องผ่านการคลึง เคล้า เบาๆ ก่อนจะกินให้มีรสหวานในเนื้อข้างใน 
มีรสหวาน เย็น หอม บำรุงกำลัง ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ

เนื้อไม้ มีรสฝาด แก้ท้องร่วง แก้บิด มูกเลือด 

ราก นำมาเป็นยามีรสฝาดเช่นกัน บรรเทาอาการจาม ลดเสมหะ 

นอกจากนี้ ตะขบ ยังช่วยดูดซับโคเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ และเส้นเลือดในสมองแตก
เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ก็อย่ามองข้ามผลไม้ บ้านๆ ไปนะค่ะ


 

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

ลูกหวาย



หวาย ลักษณะโดยทั่วไปของหวายเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยหรือไม้รอเลื้อยตระกูลปาล์ม ลำเถาชอบพันเกาะต้นไม้ใหญ่ มีกาบหุ้มต้น และมีหนามแหลม มีความเหนียว ใบเป็นรูปขนนกเล็กๆ ใบย่อยนั้นเรียวยาว 
มีสีเขียวสด ก้านใบหนึ่งๆ มีใบย่อยราว 60 - 80 คู่

 
ออกดอกเป็นช่อ สีขาวปนเหลือง ผลค่อนข้างกลม เปลือกเป็นเกล็ด ลูกอ่อนเปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ผลแก่เปลือกสีเหลือง เปลือกล่อน เนื้อแข็ง รสเปรี้ยวฝาด


ที่บ้านฉันเป็นป่ายางมีหวายขึ้นเยอะมาก เดินแต่ละทีต้องดูว่ามีหนามย้อยมาเกี่ยวหน้าหรือไม่ น่ากลัวจริง
แต่ทางของหวายแถวบ้านนิยมนำมาทำ ซ่อน ไว้ดักปลาตอนหน้าน้ำหลาก ลักษณะแบบนี้แต่ใช้หน้าที่เป็นหนามเป็นเส้นๆ ของหวายแทนไม้ไผ่มาทำ ทั้งเหนียว และหนาม พอปลาเข้าไปแล้วก็ออกไม่ได้ 
คนเวลาเอาปลาออกต้องถ่างก้นซ่อนออก เล็กน้อยจึงเอาปลาออกมาได้  นี่แหละสวรรค์บ้านนา


ในวัยเด็ก ก็บ้านนอกนี่ค่ะ มักจะมีแต่เมนูอาหารจากป่า เพราะเมื่อก่อนอุดมสมบูรณ์มาก ไม่ว่า เป็นลูกว้า กำซำ ลูกขลบ พลับพลา และ ลูกหวาย ข้าวช่วงท้อง ก็อร่อยฉีกกินน้ำนมข้าว 
กลับมาที่หวายค่ะ เพราะชอบขึ้นที่ในสวนยาง จึงมีให้เก็บกินได้เพราะอร่อยแถมฟันยังดี ขบกัดก็ไม่เป็นไร และหวายก็มีรสหวาน แต่เนื้อชอบติดตามซอกฟัน เป็นกันมั๊ยค่ะ และนำมาเป็นอาหารได้ด้วย

เป็นอาหาร 
ยอดอ่อน ลวก จิ้ม น้ำพริก หรือแกง  
เพราะยอดหวายมีโปรตีนสูง ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม เหล็กและสังกะสี

เป็นยา หวายเป็นยารสขมเย็น 
  • ช่วยบำรุงน้ำดี 
  • บำรุงธาตุไฟ 
  • สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ 
  • ช่วยขับเหงื่อ 
  • ระบายท้อง
  • แก้พิษไข้
นอกจากนี้ก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่า หวายนิยมนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ เลื่องลือชื่อในเมืองไทยตั้งหลายอย่าง ไม่ว่า กระเช้าหวาย เก้าอี้หวาย ราคาก็ใช่ย่อย

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

คุณมีอาการเหล่านี้บ้างมั๊ย 20 สัญญาณเตือนภัยเมื่อขาดเอนไซม์


เอนไซม์ หรือ enzyme คือ กลุ่มของโปรตีนที่มีหน้าที่พิเศษแตกต่างจากโปรตีนทั่วไป คือ มีความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมี ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง 
เพื่อใช้ในการสังเคราะห์องค์ประกอบภายในเซลล์ ระบบการย่อยอาหาร การดำรงชีวิตต้องอาศัยเอนไซม์กว่า 500 ชนิดช่วยเหลือ มนุษย์จึงขาดเอนไซม์ไม่ได้

คนเรามักตอบสนองต่อความผิดปกติบนผิวหนังหรือบาดแผลภายนอกที่มองเห็นก่อน ส่วนอวัยวะภายใจที่มองไม่เห็นกลับรอให้เกิดอาการเจ็บป่วยเสียก่อนจึงจะเข้า รับการรักษาและหันมาดูแล จึงมีน้อยคนที่จะสังเกตได้ถึงความผิดปกติของเซลล์ในสภาวะที่ยังไม่ป่วย 
และชอบคิดว่า งานยุ่ง ร่างกายอ่อนล้า หรืออายุมาก ไม่คิดว่าเพราะสุขภาพกำลังถูกคุกคาม

สัญญาณเตือนเมื่อเอนไซม์ลดลง
  1. เป็นหวัดง่าย
  2. ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เอว
  3. ท้องผูกต่อเนื่อง ท้องเสยหรืออุจจาระมีกลิ่นเหม็นมาก 
  4. ผิวหยาบ เป็นสิวหัวช้างบ่อย
  5. กลัวหนาว
  6. คลื่นไส้ ปวดกระเพาะ ไม่อยากอาหาร
  7. อาหารไม่ย่อย เรอบ่อย
  8. ตาล้า มองเห็นไม่ชัด
  9. ปวดหัว นอนไม่หลับ
  10. ผมร่วง ผมบาง
  11. กระและรอยย่นบนผิวหนังเพิ่มขึ้น
  12. นำ้หนักเพิ่มหรือลดกะทันหันโดยไม่มีสาเหตุ
  13. มือเท้าชา
  14. ตัวบวมง่าย
  15. เหนื่อยง่าย เวีนนหัว ตาลาย
  16. แพ้อาหาร ผิวหนังอักเสบ หอบ
  17. หูอื้อบ่อย
  18. ใจร้อน หงุดหงิด อารมณ์เสีย
  19. ไม่ค่อยมีสมาธิ วิตกกังวลง่าย
  20. ความอดทนต่ำ
หน้าที่หลักของเอนไซม์ คือ ช่วยในการย่อยอาหาร โดยเอนไซม์มีหน้าที่เป็นตัวเร่งในการย่อยอาหารให้สมบูรณ์ ทำให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพแล้วนำไปใช้ได้
ถ้าน้ำย่อยไม่ดีถึงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพียงใดก็ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ กับร่างกายทั้งสิ้น
นอกจากนี้เอนไซม์ยังมีหน้าที่ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ช่วยสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหดตัว สลายสารพิษ ทำให้เลือดบริสุทธิ์ ช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากปอด และช่วยลดความเครียดของตับอ่อนและอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกาย

เอนไซม์เป็นองค์ประกอบ ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของเราได้แก่ น้ำ อากาศ และอาหาร อาหารจะถูกส่งเข้าไปเลี้ยงในร่างกายได้จะต้องอาศัยเอนไซม์ในการกระบวนการ ย่อยอาหาร และจะต้องอาศัยวิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน สารไฟเตท ที่จำเป็นมาเป็นตัวประกอบสำคัญในการเสริมประสิทภาพการทำงานของเอนไซม์ ร่างกายของประกอบไปด้วยเซลล์ขนาดเล็กหลายล้านเซลล์ สารอาหารจะต้องถูกย่อยโดยการทำงานของเอนไซม์จนมีขนาดเล็กในระดับอิออน จึงจะสามารถผ่านหนังของเซลล์ขนาดเล็กแต่ละเซลล์ได้ ร่างกายจึงจะดำรงชีวิตอยู่ได้ ในทางกลับกันถ้าสารอาหารไม่สามารถส่งไปถึงเซลล์ได้
การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอก็ไม่สามารถทำได้ จึงทำให้ร่างกายเกิดภาวะเสื่อม ส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นโรคต่าง ๆ


เอนไซม์ มีหน้าที่อะไรบ้าง  
หน้าที่ของเอนไซม์ ได้แก่ ช่วยในการย่อยอาหาร 
โดยเอนไซม์มีหน้าที่เป็นตัวเร่งในการย่อยอาหารให้สมบูรณ์ ทำให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพแล้วนำไปใช้ได้ ถ้าน้ำย่อยไม่ดีถึงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพียงใดก็ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ กับร่างกายทั้งสิ้น นอกจากนี้เอนไซม์ยังมีหน้าที่ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ช่วยสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหดตัว สลายสารพิษ ทำให้เลือดบริสุทธิ์ ช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากปอด และช่วยลดความเครียดของตับอ่อนและอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกาย

เพราะเรามีแหล่งพลังงานจากเอนไซม์ที่จำกัด และแหล่งพลังงานนี้ก็จะสูญหายได้เรื่อย ๆ จากการเลือกบริโภคอาหารของเราเอง เช่น ชอบรับประทานอาหารที่ปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่าง ๆ หรืออาหารฟาสต์ฟู้ด การดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การรับประทานยา หรือแม้แต่อาหารที่ปรุงสุกแล้วก็จะไม่ค่อยมีเอนไซม์เหลืออยู่เลย เนื่องจากเอนไซม์จะถูกทำลายได้ง่ายโดยความร้อน ก็ล้วนแต่มีส่วนในการทำลายเอนไซม์ในร่างกายของแทบทั้งสิ้น เมื่อร่างกายได้รับเอนไซม์ไม่เพียงพอ
จะทำให้ร่างกายต้องดึงเอนไซม์ของตัวเองออกมาใช้ เพื่อช่วยย่อยอาหาร ทำให้มีผลเสียที่ตามมาคือ ร่างกายเสื่อมสภาพ แก่เร็วขึ้น และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

ข้อมูลดีๆจากหนังสือ กินอยู่อย่างฉลาด ปราศจากโรค สไตล์หมอชินยะ ภาพจากอินเตอร์เน็ต
 ลูกหว้า
 
ตอนเด็กๆ จำได้ว่า ลูกหว้าเป็นผลไม้รสเด็ดอีกชนิดหนึ่งที่โปรดปรานที่สุด เพราะลูกดำๆกินแล้วหวานอร่อย มักจะชวนเพื่อนๆ ปีนต้นหว้าหน้าบ้านปู่เป็นประจำ ปู่ก็ดุเหมือนกันว่าจะ (พลัด)หล่นลงมาแข้งขาหักเอาอย่าได้แคร์ค่ะ ปีน ปีน และปีน เก็บกินหรือไม่ก็ขย่มต้นให้ลูกสุกดำๆ หล่นร่วงลงมาไต้ต้นแล้วมานั่งพักเหนื่อย เก็บกินอีกที (ไม่รู้ตอนนั้นพยาธิเข้าไปทางไหนบ้าง) ก็นี่แหละนะความสุขของคนบ้านนอกคะ 

 
แต่สมัยนี้มีหว้า สายพันธ์ใหม่หลายสายพันธ์ุ ที่มีเนื้อมากกว่า เม็ดยาวรี ไม่กลมเหมือน หว้าพันธ์ุพื้นบ้านที่ลูกกลมๆถ้าไม่มีคนมาเก็บกิน ก็จะมีนกมาเก็บไปขยายพันธ์ุให้แทน นี่แหละธรรมชาติตัวจริง


สาระน่ารู้กับลูกหว้า ประโยชน์
  • มีวิตามิน บี 1 บี 2 บี 3 บี6 และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม            โปตัสเซียม 
  • มีสารอาหาร จำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เส้นใย 
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน เพราะมีธาตุเหล็กมาก
  • ลูกหว้า มีสรรพคุณช่วยชะลอความแก่และความเสื่อมของเซลล์ได้ 
  • ลูกหว้า ช่วยบรรเทาอาการของวัณโรค และโรคปอดได้ด้วยการนำผลหว้าไปตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดรับประทานเป็น ประจำจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น
  • น้ำจากลูกหว้า ถือเป็น 1 ใน 8 ของน้ำปานะที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาติแก่พระภิกษุ
  • ยอดอ่อน ของหว้าสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดได้ มีรสฝาด ภาคใต้นิยมกินกับขนมจีน
  • ผลสด ช่วยรักษาโรคหอบหืดที่เกิดจากการแพ้อากาศ ด้วยการนำผลหว้าสดมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการ 
  • ผลสด ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมองได้ 
  • ผลดิบ แก้ท้องเสีย
  • ผลดิบ ลูกหว้าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟัน 
  • ผลดิบ ช่วยแก้อาการท้องเสียได้ 
  • ผลดิบ แก้ท้องเสีย 
  • ผลสุก นิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้ กินเล่น และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มหรือไวน์ได้
  • ผลสุก รับประทานแก้อาการท้องร่วงและอาการบิด 
  • ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด 
  • เมล็ด มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจ   
  • ใบและเมล็ด รักษาอาการบิด มูกเลือด ท้องเสีย 
  • ใบและเมล็ด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบและเมล็ดหว้านำมาต้มหรือบดให้ละเอียด แล้วนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ 
  • ใบและเมล็ด นำมาตำให้แหลกแล้วใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้  
  • ใบและเมล็ด มีรถฝาด ใช้ล้างแผลเน่าเปื่อยได้
  • ใบและเมล็ด เมื่อนำมาต้มกับน้ำตาล แล้วนำน้ำที่ได้มาล้างแผลเน่าเปื่อยได้
  • เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย
  • เปลือกและใบ นำมาใช้ทำเป็นยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย แก้คอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้น
  • เปลือกและใบ แก้อาการน้ำลายเหนียวข้น  
  • น้ำมันหอมระเหย มีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง 
  • น้ำมันหอมระเหย ช่วยในการย่อยอาหาร ด้วยการเพิ่มการหลั่งน้ำดี และน้ำย่อยต่าง ๆ 
  • น้ำมันหอมระเหย ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร 
  • ช่วยยับยั้งเชื้ออี.โคไล ในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อย ๆ หรืออุจจาระเหลวเป็นน้ำ
  • น้ำมันหอมระเหย ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด 
  • น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • นื้อไม้ ของต้นหว้า สามารถนำมาใช้ทำสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนได้อีกด้วย
หว้า เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือ
รูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ 

 
ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง 
4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน 

 
ผลเป็นผลสด รูปกลมๆหรือรูป รีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1 เซนติเมตร ผลแก่ ราวเดือนพฤษภาคม เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่


อร่อยแบบเด็กๆ