ดอกกระโดน
ดอกกระโดน เป็นพืชพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่มีทุกภาค แต่
จะเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นถิ่น เช่น กระโดน (ภาคกลาง, ภาคใต้) ขุย (กาญจนบุรี) เส่เจ๊อะบะ
( แม่ฮ่องสอน) ปุย (ภาคเหนือ) ปุยกระโดน (ภาคใต้)
ปุยขาว ผ้าฮาด (ภาคเหนือ) พุย (เชียงใหม่) หูกวาง (จันทบุรี)
ซึ่งหลายคนอาจจะเคยเห็นหรือเคยทานบ้างแล้ว เก็บได้ไม่นาน เหี่ยวเฉาง่าย
ซึ่งหลายคนอาจจะเคยเห็นหรือเคยทานบ้างแล้ว เก็บได้ไม่นาน เหี่ยวเฉาง่าย
ช่วงเดือน ก.พ.- เม.ย.นี่แหละที่ดอกกระโดนเริ่มจะบานให้ได้ชมโฉมกัน
มัน ๆ เนื่องจากเป็นดอกไม้ และมีเกสรเยอะ ดอกมีสีออกครีม ๆ ชมพู จึงมีประโยชน์มากเหมือนกัน
แต่ถ้ากินเยอะ ๆ อาจถึงท้องผูกได้ และช่วยแก้ท้องร่วงได้ด้วย
ยอดอ่อนและดอกอ่อนรสฝาด อมมัน ในผักระโดน 100กรัม ให้พลังงาน 83 กิโลแคลอรี่
มีเส้นใย 1.9 กรัม แคลเซียม 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.7 มิลลิกรัม
วิตามิน เอ3958IU วิตามินบีหนึ่ง 0.10มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.88มิลลิกรัม ไนอาซิน1.8มิลลิกรัมวิตามินซี 126 มิลลิกรัม
อ่อน ๆ โดยเกสรที่สมบูรณ์จะอยู่ข้างใน ขานฐานดอกมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน ขอบนูนขึ้น
ส่วนเกสรเพศเมียมีรังไข่ใต้วงกลีบ ลักษณะเป็นรูปกระสวยกลีบ มี 4 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุลจำนวนมาก โดยเกสรเพศเมียจะติดคงทน และก้านเกสรเพศเมียจะยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ดอกมีใบประดับลักษณะกลมหรือรี 3 ใบ มีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ แยกจากกัน ยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร
เป็นสีเขียวอ่อน หนาและค่อนข้างมน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน
สรรพคุณของกระโดน
- ดอก มีรสสุขุม สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย
- ดอกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี
- ดอก มีสรรพคุณช่วยแก้อาการหวัด หรือจะใช้ดอกและน้ำจากเปลือกสดผสมกับน้ำผึ้งกินเป็นยาแก้หวัดก็ได้
- ดอก มีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ หรือจะใช้ดอกและน้ำจากเปลือกสดผสมกับน้ำผึ้งกินเป็นยาแก้ไอก็ได้
- ผล มีรสจืดเย็น มีสรรพคุณช่วยบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี ส่วนดอกและน้ำจากเปลือกสด หากนำมาผสมกับน้ำผึ้งก็เป็นยาบำรุงหลังคลอดได้เช่นกัน (ผล,ดอก,น้ำจากเปลือกสด)[3]
- ผล มีรสจืดเย็น ช่วยในการย่อยอาหาร
- กระโดนจัดอยู่ในตำรับยาแก้โรคริดสีดวงทวาร ซึ่งในตำรับยาประกอบไปด้วยกระโดนโคก 1 ส่วน, ต้นกล้วยน้อย 1 ส่วน, ขันทองพยาบาท (ดูกใส) 1 ส่วน, ต้นซองแมว 1 ส่วน, ต้นค้อแลน 1 ส่วน, เงี่ยงดุกน้อย 1 ส่วน, กำแพงเจ็ดชั้น 1 ส่วน, ต้นมอนแก้ว 1 ส่วน, มอยแม่หม้าย 1 ส่วน, เล็บแมวแดง 1 ส่วน, ตากวาง 1 ส่วน โดยนำทั้งหมดมาต้มเป็นยากิน (ตำหรับยานี้พบในบ้านเชียงเหียน ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม)
- ต้นกระโดน สรรพคุณของเปลือกต้นใช้เป็นยาสมานแผลภายใน
- ต้น ใช้ผสมกับเถายาน่องและดินประสิว นำมาเคี่ยวให้งวดและตากให้แห้ง ใช้สำหรับปิดแผลมีพิษ และปิดหัวฝี
- เปลือกต้น นำมาแช่กับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย
- เปลือกต้น ช่วยแก้โรคกระเพาะอาหาร
- เปลือกต้น ช่วยแก้น้ำกัดเท้า
- เปลือกต้น ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย เคล็ดเมื่อย เคล็ดขัดยอก
- เปลือกต้น ช่วยแก้อาการอักเสบจากการถูกงูไม่มีพิษกัด แต่ในกรณีที่เป็นงูมีพิษกัดยังไม่ควรนำมาใช้ และบ้างก็ว่าใช้แก้พิษงูได้
- แก่น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสำหรับสตรีที่อยู่ไฟ
- ใบ ใช้รักษาแผลสด ด้วยการนำมานึ่งให้สุกแล้วใช้ปิดแผล
- ใบ มีรสฝาดใช้ใส่แผล หรือจะใช้ปรุงกับน้ำมันเป็นยาสมานแผล ส่วนเปลือกต้นก็ใช้เป็นสมานแผลได้เช่นกัน
- เมล็ด มีรสฝาดเมาและมีความเป็นพิษ และมีข้อมูลระบุว่าใช้เป็นยาแก้พิษต่าง ๆ ได้ด้วย
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น