ประเพณีก่อกองทราย
มาทำบุญ..สงกรานต์.วัดห้วยทรายใต้ ประเพณีการก่อเจดีย์ทราย ประเพณีนี้ นิยมทำกันในทุกภาคของประเทศไทย ในวันสำคัญๆ เช่นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือวันสำคัญอื่น อย่างวันสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทยนั่นเอง
ประเพณีการก่อกองทราย นั้นย้อนไปได้ถึงสมัยพุทธกาล โดยครั้งนั้น
พระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งแคว้นโกศล ได้อัญเชิญพระพุทธองค์ ให้เสด็จไปประทับ
เพื่อแสดงพระธรรมเทศนา ครั้นเมื่อพระมหาบุรุษ ทรงเสด็จไปยังแคว้นโกศล
พร้อมพระสงฆ์สาวกจำนวนมาก พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงทอดพระเนตรเห็น
จึงมีความศรัทธา จึงชักชวนให้เหล่าพุทธบริษัท ก่อกองทรายเป็นรูปเจดีย์กว่า 8
หมื่น 4 พันองค์ พร้อมประดับธงทิวเป็นพุทธบูชา
นอกจากเรื่องความเชื่อทางศาสนาแล้ว ยังเป็นกุศลโลบายในเรื่องความสามัคคีแก่คนชาวบ้านในชุมชนโดยจะมีความเชื่อเกี่ยวเนื่องกับเรื่องการขนทรายเข้าวัด ที่เชื่อการว่าการที่เราเดิน ขี่รถ หรืออะไรก็แล้วแต่ จะทำไห้เท้าเราหรือล้อรถ ติดทรายที่วัดออกไป เพราะฉนันเราก็ต้องขนทรายมาในวัดเท่ากับที่ติดเท้าเราออกไปจะได้ไม่ติดหนี้วัด
ในสมัยก่อน ว่ากันว่าการช่วยกันขนทรายเข้าวัดสำหรับการซ่อมแซม หรือก่อสร้างสิ่งก่อสร้างในวัดนั้นจะได้บุญกุศล ส่วนทรายที่เหลือจากการก่อสร้าง ก็จะนำมาก่อเป็นเจดีย์ทราย เพื่อเพิ่มอานิสงส์ ผลแห่งการทำบุญนั้นเอง
วันสงกรานต์นั้น จะมีการขนทรายเข้ามาในวัด แต่เดิมนั้นเพื่อจุดประสงค์อื่น แต่ปัจจุบันนั้นเพื่อเป็นการใช้ก่อเจดีย์ทราย โดยพุทธศาสนิกชน จะเข้าวัดมาทำบุญ สรงน้ำพระ และมีการเล่นสาดน้ำ ตลอดจนการก่อเจดีย์ทรายประดับด้วยธงกระดาษหลากสีสันต่างๆ กันไป โดย จะมีการอธิษฐานเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องอานิสงส์ ของการก่อเจดีย์ทราย ดังที่กล่าวไปแล้วในพุทธตำนาน
ปัจจุบันประเพณีการก่อเจดีย์ทราย เริ่มจะเลือนหายไปจากสังคมไทยมากแล้ว
และทางวัดห้วยทรายใต้ยังมีการอนุรักษ์เอาไว้
ไห้สาธุชนได้มีการก่อเจดีย์ทรายกันทุกปี ในวันมหาสงกรานต์
หากยังไม่มีการอนุรักษ์เอาไว้ สักวัน ประเพณีก่อเจดีย์ทรายนี้ จะเลือนหายไปจากสังคมคนไทยแน่
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น