วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566

                                                                 ลูกหวายป่า

 ลูกหวายป่า หวายขม ของกินเล่นสมัยเด็ก กินแล้วหันมายิ้มยิงฟันกัน เพราะลูกหวายมียางเหนียวๆติดที่ฟัน หวายมีหนามที่แหลมคม ชอบขึ้นตามป่าทึบชื้น ออกผลเป็นช่อ ผลอ่อนผิวสีเขียว ผลสุกผิวสีเหลืองขาว เยื่อสีขาวใสหุ้มเมล็ดด้านในสีแดง เปลือกเป็นเกล็ดซ้อนกันเป็นชั้นๆ

      หวายเป็นพืชเลี้อยมีหลายสายพันธุ์ ลำต้นขึ้นเป็นกอยาว มีมือเลื้อยเกาะ กาบหุ้มและก้านใบมีหนาม   ต้นสีเขียวเข้มเป็นปล้อง มีหนามแหลมคมเหนียว ใบเป็นแบบขนนกเรียวยาว  เปลือกล่อน เมล็ดแข็งเคี้ยวได้ทั้งเนื้อ รสอมฝาด   

  

หวายมีความเหนียว ยืดหยุ่น แข็งแรง สามารถดัดโค้งงอได้ง่าย มีน้ำหนักเบาและทนนาน หวายมีความสวยงามตามธรรมชาติ 

  

ราก หน่อหวายบางชนิด  นำมาทำยาและเป็นอาหารได้

      หวายที่ใช้ชื่อเรียกของแต่ละพื้นไม่เหมือนกัน  และนำไปใช้ประโยชน์ไม่เหมือนกัน เช่น  เรียก หวายขม หวายลิง หวายช่อ หวายใหญ่ 

ประโยชน์ของหวาย นำมาจักสาน เป็นข้าวของเครื่องใช้ เช่น ตะกร้า ม้านั่ง โต๊ะ พัด หมวก มักใช้หวายใหญ่

 

นำมาทำเป็นของใช้และเครื่องมือทางการเกษตร เช่น สานข้อง  ใช้ทำขอบกระด้ง ใช้มัดไม้กวาด  มัดหัวสุ่ม ทำซ่อนดักปลา ใช้ทำขอบเสื่อคล้า  ใช้หวายขม หวายลิง หวายช่อ เพราะมีเนื้อที่เหนียว โค้งงอได้ดี    

วิธีใช้ กรีดเป็นเส้นๆ แช่น้ำแล้วนำมาตากแห้ง ดัดงอได้ตามต้องการ

ลูกหวายขม

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

   ลูกโผ้  ภาษาเรียกพื้นถิ่นภาคใต้ ต.หัวตะพาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 
ต้นโผ้ เป็นไม้พื้นถิ่น คล้ายๆต้นฉิ่ง ออกลูกเป็นพวงเหมือนกัน ผลใหญ่กลมแบน เปลือกหนา เหนียว      ผล ผิวภายนอกขรุขระ เป็นเม็ดๆรอบผล มีเส้นขีดสีน้ำตาลเข้มเป็นแนวยางจากขั่วผลถึงท้ายผล เมื่อผ่าผลออก จะมีน้ำยางสีขาวไหลออกมาจากเนื้อผล  ผลด้านในเหมือนรอยยิ้ม ไม่นิยมกินดิบ
 
 
 
ผิวสีน้ำตาลท้ายผลบุ๋ม เนื้อด้านในสีแดงเป็นเม็ดเล็กๆละเอียดอยู่ทั่วทั้งผล มียางสีขาวอยู่ในเนื้อผลทำไห้เหนียวติดมือ ผลอ่อนนำมาประกอบอาหาร ไม่นิยมกินผลดิบ

 
ควรผ่าแช่น้ำก่อนนำมาประกอบอาหาร  
 
 
นิยมนำมาประกอบอาหาร เช่นแกงเผ็ด เช่น แกงไก่  แกงหมู


ลูกโผ้ เป็นไม้พื้นถิ่น เปลือกลำต้นสีน้ำตาล คล้ายๆต้นฉิ่ง ออกลูกเป็นพวงเหมือนกัน นิยมนำมาประกอบอาหาร เช่นแกงเผ็ด เช่น แกงไก่  แกงหมู

 ข้อแตกต่าง ระหว่างลูกโผ้ กับลูกฉิ่ง

ลูกฉิ่ง ลูกเล็กกลม สีเขียว เปลือกบาง กรอบ มียางสีขาวในเนื้อผล นิยมกินสดหรือประกอบอาหาร

ลูกโผ้ ลูกใหญ่กลมแบบ สีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลแก่ เปลือกหนา เนื้อเหนียวแน่น มียางสีขาวในเนื้อผล ไม่นิยมกินสด ใช้ประกอบเมนูอาหาร

 

 

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2566

 งูกะปะสามเหลี่ยม
 
 
เป็นงูพิษพบได้ทั่วประเทศ ลักษณะหัวเป็นรูปสามเหลี่ยมคอเล็ก ลำตัวอ้วน หางเรียวสั้น มีลายจากเส้นกลางลำตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม จากกลางลำตัวออกด้านข้างตลอดลำตัว ออกหากินเวลาเย็นและกลางคืน 
 
 
       ชอบอาศัยในดินปนทราย หรือซ่อนตัวในใบไม้แห้ง ตามสวนไร่นา มักอำพรางตัวเหมือนกับสีใบไม้แห้ง จนบางครั้งแยกไม่ออก สังเกตุได้จากที่ บริเวณงูขดตัวอยู่จะเป็นลานโล่งๆรอบๆตัวมัน ภายในวงที่ขดตัวจะมีหัวโผล่มาตรงกลางขดพร้อมจะฉกกัดตลอดเวลา

เมื่อกัดคนแล้วมักไม่เลื้อยไปไหนจนกระทั่งมีคนมาทุบตีมัน พิษงูกะปะจัดเป็นพวกมีพิษทางโลหิต




 

        แมงพลัดผัดกะทิหรือผัดหัวทิ "แมลง ภาษาถิ่นใต้เรียกว่า แมง" เป็นเมนูพื้นบ้านตามฤดูกาล เมื่อถึงฤดูฝนตกย่างเข้าเดือนหกจะมีแมงพลัดเยอะมากบินมาหาแสงไฟ แมงพลัดเป็นแมลงที่อาศัยเกาะอยู่ที่ต้นไม้ต่างๆ และกัดกินใบไม้ยอดอ่อนหรือใบเพลาดเป็นอาหาร เช่นกระท่อม ทุเรียน มะขาม หัวครก เนียง ยางพารา มะนาว 

     แมงพลัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มี 6 ขา หนวด 1 คู่ ปีก 1 คู่หรือ 2 คู่ อาจจะมีสีน้ำตาลแก่หรือสีเทาขาวมันวาว  ตัวเต็มวัยเช่นตัวเมียจะมีไข่ฟองสีขาวมากมายๆอยู่ภายในท้อง

      วิธีผัดกะทิแมงพลัด

 1. นำแมงพลัดมาล้างไห้สะอาด ลวกน้ำร้อน ตัดปีก ขา ออก 

 

 2. คั้นเอาหัวกะทิ

 3. นำกระเทียมกับพริกไทยมาโขลกให้ละเอียด

 

 4. กระทะตั้งไฟใช้ไฟปานกลางใส่น้ำมันนิดหน่อยรอให้ร้อน นำกระเทียมกับพริกไทยที่โขลกแล้วลงไปผัดจนหอม

 5. นำแมงพลัดลงไปในกะทะผัด จะมีน้ำออกมาจากตัวแมงพลัด ผัดให้ทั่วจนน้ำแห้งได้กลิ่นหอมปรุงรส เช่นน้ำปลา น้ำตาล

 6. แมงพลัดที่ผัดเริ่มมีกลิ่นหอม ใส่หัวกะทิลงไปให้ท่วมตัวแมงพลัดจนแห้ง

  กระเช้าสีดา

 

กระเช้าสีดา เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นมีขนเล็กน้อย ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่่อสั้นตามง่ามใบ 2-3 ดอก มีกลิ่นเหม็น โคนดอกเป็นกระเปาะ ผลรูปทรงกระบอกก้านยาว 

 เมื่อแห้งจะแตกเป็น 6 แฉกกางออกเป็นรูปคล้ายกระเช้า ปลายกลีบผายออกเหมือนรูปปากแตร มีก้านที่ช่อยึดกับลำต้น เมล็ดแบบรูปหัวใจ 

ประวัติเกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเดิมเป็นกระเช้าของนางสีดา ที่ทำตกไว้ในป่าระหว่างที่ถูกยักษ์ทศกัณฐ์ อุ้มลักพาตัวไปจากพระราม เหล่าเทวดา จึงบันดาลให้รากงอกออกมากลายเป็นไม้เถาสืบมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงนางสีดา

สรรพคุณต้นทางยาของกระเช้าผีมด ข้อมูลจากราชบัณทิตยสภา

ต้นเป็นยาช่วยให้ธาตุปกติ ใบใช้ตำเป็นยาพอกภายนอก พอกศีรษะ ลดไข้ แก้ผิวหนัง เผาใบให้ร้อนวางบนท้องและแขนขาแก้บวม

วิธีเพาะเมล็ด

นำเมล็ดเพาะใส่กระถางหรือถุงดำ แล้วกลบดินบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อต้นโตประมาณ 15 ซม. สามารถย้ายลงปลูกตามจุดที่ต้องการได้

 

กระเช้าสีดาทั่วไปในไทยมี 19 ชนิด ในจำนวนนี้ 8 ชนิดที่น่าเป็นห่วงเพราะต้องอาศัยระบบนิเวศจำเพาะ พบในเขาหินปูนกระทุงบวบเหลี่ยม พบบางพื้นที่เท่านั้น

  1. กระเช้าภูเก็ต พบที่จ.ภูเก็ต
  2. นกกระจิบ พบที่สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
  3. กระเช้าเชียงราย พบที่จ.เชียงราย
  4. กระเช้าคลองพนม พบที่อุทยานแห่งชาติคลองพนม จ.สุราษฎร์ธานี
  5. กระเช้าเมืองเพชร พบที่เขาย้อย จ.เพชรบุรี
  6. กระเช้าเขานางพันธุรัต พบที่เขานางพันธุรัต อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
  7. กระเช้ายะลา พบที่จ.ยะลา

ชนิดของกระเช้าสีดา https://thaiza.com/variety/interest/516701

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566

 

ไข่ครอบ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านภาคคนใต้แถบจังหวัดสงขลา ใช้ไข่แดงที่เหลือจากการนำไข่ขาวไป "ย้อมอวน" ในการจับสัตว์น้ำในทะเล แล้วนำไข่แดงมาทำเป็นไข่ครอบ รสชาติออกเค็ม ๆ มัน ๆ มีขายตามตลาด หรือร้านแผงลอยข้างทาง ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ 

     โดยการนำไข่แดง มาใส่ในเปลือกไข่ที่ล้างสะอาด มารวมกันแล้วนึ่งไห้สุก รับประทานโดยการโรยพริกไทยป่นและเหยาะน้ำซ๊อตลงไป หรือรับประทานพร้อมสำรับกับข้าว รสเผ็ดจัด เช่นแกงส้ม ผัดเผ็ด หรือเป็นอาหารทานเล่น

วิธีการทำไข่ครอบ

  1. ไข่แดง (ไข่เป็ด)   
  2. เกลือ
  3. น้ำเปล่า

วิธีทำ

   1. ไข่เป็ดต้องสดใหม่ เจาะเปลือกไข่ด้านบนเอาไข่ขาวออกแยกไข่แดงไว้ แล้วตัดเปลือกออกประมาณครึ่งฟองไห้ส่วนที่ตัดเสมอกัน

    2. นำไข่แดง 2 ฟอง ใส่ลงไปในเปลือกไข่ที่ตัดเตรียมไว้ เยาะเกลือป่น

    3. นำเปลือกไข่ที่ปอกเปลือกเหลือประมาณครึ่งฟองมาครอบปิดไว้

    4. ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน ให้รสเค็มเข้าเนื้อไข่แดง นำไปนึ่งให้สุกประมาณ  6-7 นาที

วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

                                    ข้าวโพดหวานทานดิบสีม่วง พันธุ์ “เพียว ไวท์ ฮอกไกโด”

ข้าวโพดหวานทานดิบ สีม่วงทับทิมเป็นข้าวโพดสายพันธุ์ใหม่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ “เพียว ไวท์ ฮอกไกโด” รับประทานได้ทั้งดิบและสุก ด้วยรสชาติที่หวานหอม เมล็ดสีม่วงที่มี "แอนโทไซยานิน " หรือสารต้านมะเร็งสูงกว่าข้าวโพดทั่วไป มีเบต้าแคโรทีน สารที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ให้คุณค่าดีๆต่อร่างกาย รสชาติหวาน ชุ่มฉ่ำ กลิ่นหอมละมุน เหมือนกลิ่นน้ำนมสด แช่เย็นก่อนรับประทานยิ่งอร่อย มีสารสีแดง ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินซีและอีถึง 2 เท่า     

    

- ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ลดการอักเสบ                           

- ช่วยสมานแผล                                                                                

- ช่วยปกป้องหลอดเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดโคเลสเตอรอลในเลือด      

- มีวิตามินเอ วิตามินบี แร่ธาตุ เส้นใยอาหาร และเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ   

ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของข้าวโพดหวานสีม่วง เป็นข้าวโพดกินได้ทั้งสด ต้ม อบ เป็นข้าวโพดที่มีสารต้านมะเร็งในเกือบทุกส่วน มีทั้งในซังและลำต้น หากนำฝ้กสดมาต้มน้ำก็จะมีสีม่วงเช่นกัน

 

     ไหมข้าวโพด มีสารต้านมะเร็งที่สามารถนำมาทำเป็นชาชงดื่มได้อีกด้วย

     เมล็ดข้าวโพดหวาน เปลือกนอกสีม่วงมีแอนโทไซยานิน    

     เนื้อชั้นในสีเหลืองมีเบต้าแคโรทีน

 

วิธีการปลูกที่เหมือนกับข้าวโพดหวานทั่วไป 

  

1. นับเวลาปลูกตั้งแต่หยอดเมล็ดพันธุ์ถึงหักกินดิบ 58-63 วัน   

   2. หรือนับหลังออกไหม 18-21 วัน จะเป็นช่วงที่สามารถกินข้าวโพดหวานดิบได้  ซึ่งจะมีรสชาติอร่อยและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

 

3. หลังจากนั้น 7 วัน ไม่ควรที่จะกินดิบ เพราะมีความเข้มข้นของแป้งสูงนั่นเอง ควรรับประทานแบบสุก เช่น ต้มหรือนึ่ง

 

โรคของข้าวโพดก็จะเป็นโรคเหมือนข้าวโพดหวานทั่วไป เช่น โรคราน้ำค้าง ใบลาย จะเกิดจากเมล็ดพันธุ์และช่วงฤดู สภาวะของอากาศ ข้าวโพดสามารถปลูกได้ทั้งปี สลับแปลงปลูกได้ เพราะในแต่ละช่วง เช่น อากาศชื้น ฝนตกฉ่ำมากจนเกินไป ก็จะพบเจอโรค หรือว่าช่วงที่ปลูกอากาศแล้ง ช่วงที่เขาออกดอกผสมเกสรของเขา มันก็จะไปแห้ง


ข้อมูลบางส่วนจาก https://www.technologychaoban.com

 

ข้าวโพดหวาน สายพันธุ์ทั่วไปในท้องตลาด