ลูกหว้า
ตอนเด็กๆ จำได้ว่า ลูกหว้าเป็นผลไม้รสเด็ดอีกชนิดหนึ่งที่โปรดปรานที่สุด เพราะลูกดำๆกินแล้วหวานอร่อย มักจะชวนเพื่อนๆ ปีนต้นหว้าหน้าบ้านปู่เป็นประจำ ปู่ก็ดุเหมือนกันว่าจะ (พลัด)หล่นลงมาแข้งขาหักเอาอย่าได้แคร์ค่ะ ปีน ปีน และปีน เก็บกินหรือไม่ก็ขย่มต้นให้ลูกสุกดำๆ หล่นร่วงลงมาไต้ต้นแล้วมานั่งพักเหนื่อย เก็บกินอีกที (ไม่รู้ตอนนั้นพยาธิเข้าไปทางไหนบ้าง) ก็นี่แหละนะความสุขของคนบ้านนอกคะ
แต่สมัยนี้มีหว้า สายพันธ์ใหม่หลายสายพันธ์ุ ที่มีเนื้อมากกว่า เม็ดยาวรี ไม่กลมเหมือน หว้าพันธ์ุพื้นบ้านที่ลูกกลมๆถ้าไม่มีคนมาเก็บกิน ก็จะมีนกมาเก็บไปขยายพันธ์ุให้แทน นี่แหละธรรมชาติตัวจริง
สาระน่ารู้กับลูกหว้า ประโยชน์
- มีวิตามิน บี 1 บี 2 บี 3 บี6 และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม โปตัสเซียม
- มีสารอาหาร จำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เส้นใย
- ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน เพราะมีธาตุเหล็กมาก
- ลูกหว้า มีสรรพคุณช่วยชะลอความแก่และความเสื่อมของเซลล์ได้
- ลูกหว้า ช่วยบรรเทาอาการของวัณโรค และโรคปอดได้ด้วยการนำผลหว้าไปตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดรับประทานเป็น ประจำจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น
- น้ำจากลูกหว้า ถือเป็น 1 ใน 8 ของน้ำปานะที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาติแก่พระภิกษุ
- ยอดอ่อน ของหว้าสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดได้ มีรสฝาด ภาคใต้นิยมกินกับขนมจีน
- ผลสด ช่วยรักษาโรคหอบหืดที่เกิดจากการแพ้อากาศ ด้วยการนำผลหว้าสดมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการ
- ผลสด ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมองได้
- ผลดิบ แก้ท้องเสีย
- ผลดิบ ลูกหว้าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
- ผลดิบ ช่วยแก้อาการท้องเสียได้
- ผลดิบ แก้ท้องเสีย
- ผลสุก นิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้ กินเล่น และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มหรือไวน์ได้
- ผลสุก รับประทานแก้อาการท้องร่วงและอาการบิด
- ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด
- เมล็ด มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจ
- ใบและเมล็ด รักษาอาการบิด มูกเลือด ท้องเสีย
- ใบและเมล็ด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบและเมล็ดหว้านำมาต้มหรือบดให้ละเอียด แล้วนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
- ใบและเมล็ด นำมาตำให้แหลกแล้วใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้
- ใบและเมล็ด มีรถฝาด ใช้ล้างแผลเน่าเปื่อยได้
- ใบและเมล็ด เมื่อนำมาต้มกับน้ำตาล แล้วนำน้ำที่ได้มาล้างแผลเน่าเปื่อยได้
- เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย
- เปลือกและใบ นำมาใช้ทำเป็นยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย แก้คอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้น
- เปลือกและใบ แก้อาการน้ำลายเหนียวข้น
- น้ำมันหอมระเหย มีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง
- น้ำมันหอมระเหย ช่วยในการย่อยอาหาร ด้วยการเพิ่มการหลั่งน้ำดี และน้ำย่อยต่าง ๆ
- น้ำมันหอมระเหย ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- ช่วยยับยั้งเชื้ออี.โคไล ในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อย ๆ หรืออุจจาระเหลวเป็นน้ำ
- น้ำมันหอมระเหย ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด
- น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
- เนื้อไม้ ของต้นหว้า สามารถนำมาใช้ทำสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนได้อีกด้วย
หว้า เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล
ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือ
รูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14
เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ
ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง
4 กลีบ กลีบดอก 4
กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน
ผลเป็นผลสด รูปกลมๆหรือรูป รีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1
เซนติเมตร ผลแก่ ราวเดือนพฤษภาคม เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่
อร่อยแบบเด็กๆ
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น