ฤดูร้อนจะเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ ฤดูฝน
จะเจ็บป่วยด้วยธาตุลม ฤดูหนาว จะเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ
มนุษย์เรา จะเจ็บป่วยได้ทุกฤดูกาล
แต่จะเจ็บมากเจ็บน้อย ก็แล้วแต่สุขภาพของแต่ละคน
อย่างเช่นคนโบราณได้ กล่าวไว้ว่าย่างเข้าเดือนแปดซึ่งเป็นช่วงเข้าพรรษาลมจะแรงให้
กินแกงส้มดอกแค แก้ไข้หัวลม
อย่างเช่นคนโบราณได้ กล่าวไว้ว่าย่างเข้าเดือนแปดซึ่งเป็นช่วงเข้าพรรษาลมจะแรงให้
กินแกงส้มดอกแค แก้ไข้หัวลม
เป็นการแสดงให้รู้ว่าฤดูใหน ต้องปฎิบัติตัวอย่างไร หรือกินอย่างไรให้ปรับธาตุเข้าสมดุลกับ
ร่างกาย ซึ่งคนในสมัยนี้ไม่ค่อย รู้กันแล้ว นอกจากสังเกตุว่าเป็นภูมิแพ้ บ่อย เป็นหวัดบ่อย
หรือ ต้องลอง สังเกตสังกาดูแล้วว่าพอถึงช่วงฤดูไหนต้องปฎิบัติตัวอย่างไรให้ห่างไกลโรค
เพราะพืชผักก็เป็นตามฤดูเช่นกัน อย่างเช่น แตงโมจะกินตอนฤดูร้อนเสียมากกว่า เพราะ
ผลผลิต ตอนนั้นออกมามากตามฤดูที่ควรปลูก เมื่อราชาแห่งผลไม้เช่นทุเรียน ซึ่งกินแล้ว
จะร้อน ก็มีราชินี เช่น มังคุดที่มีฤทธิเย็น กินดับร้อนของทุเรียน ซึ่งทั้งสองชนิดจะเป็นผลผลิต
ตามฤดูกาล ของผลไม้แต่ละชนิดเช่นกัน
ฤดูร้อน จะเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ
อาหารประจำธาตุไฟควรรับประทานผักและผลไม้พื้นบ้านที่มี
รสขม รสเย็น รสจืด เช่น สะเดา มะระ แตงโม หัวผักกาด แตงกวา ฟักเขียว คะน้า บวบ ฯลฯ
รสขม รสเย็น รสจืด เช่น สะเดา มะระ แตงโม หัวผักกาด แตงกวา ฟักเขียว คะน้า บวบ ฯลฯ
ฤดูฝน จะเจ็บป่วยด้วยธาตุลม อาหารประจำธาตุลมควรรับประทานผักและผลไม้พื้นบ้านที่มี
รสเผ็ดร้อน เช่น กระเพราะ ใบโหระพา ตะไคร้ ข่า ขิง กระเทียม ยี่หร่า คึ่นช่าย ฯลฯ
ฤดูหนาว จะเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ อาหารประจำธาตุน้ำรับประทานผักและผลไม้พื้นบ้านที่มี
รสเปรี้ยว เช่น มะเขือเทศ ส้มโอ มะนาว สับปะรด ส้มเขียวหวาน ยอดมะขามอ่อน
รสเปรี้ยว เช่น มะเขือเทศ ส้มโอ มะนาว สับปะรด ส้มเขียวหวาน ยอดมะขามอ่อน
นอกจากนี้การแพทย์แผนไทยก็มีมาแต่โบราณกาล
เพื่อรักษา ปรับธาตุให้สมดุล
มาดูยาประจำธาตุตามฤดูกาล
มาดูยาประจำธาตุตามฤดูกาล
ยาประจำฤดูร้อน ตรีผลา ประกอบด้วยตัวยาสมอไทย
สมอพิเภก มะขามป้อม
ยาประจำฤดูหนาว ตรีสาร ประกอบด้วยตัวยา สะค้าน
เจตมูลเพลิง ช้าพลู
ยาประจำฤดูฝน ตรีกฏุก ประกอบด้วยตัวยา พริกไทย
ดีปลี ขิง
การใช้ยาสมุนไพรตามรสยา
ใช้ในการรักษาตามธาตุของตัวยาสมัยโบราณ
รสประธาน 3 รส
รสเย็น แก้ธาตุไฟ ได้แก่ เกสรดอกไม้ เขาสัตว์
รสร้อน แก้ธาตุลม ได้แก่ ขิง ข่า พริกไทย
รสสุขุม แก้ธาตุน้ำได้แก่ โกฐ เทียน
รสยา 9 รส มีสรรพคุณแก้ส่วนต่างๆ ดังนี้
รสฝาด ให้ฤทธิ์สมาน
รสหวาน ซึมซาบไปตามเนื้อ
รสเมาเบื่อ แก้พิษ
รสขม แก้ทางโลหิตและดี
รสมัน แก้เส้นเอ็น
รสหอมเย็น บำรุงหัวใจ
รสเปรี้ยว กัดเสมหะ
รสเผ็ดร้อน แก้ทางลม
รสเค็ม แก้ทางผิวหนัง
ธาตุดิน
คนธาตุดินมักมีร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง
ควรรับประทานผักและผลไม้พื้นบ้านที่มีรสฝาด
รสหวาน รสมัน รสเค็ม เช่น มังคุด ฝรั่งดิบ ฟักทอง หัวปลี กล้วย มะละกอ เผือก มัน ถั่วพลู
ถั่วต่างๆ เงาะ กระหล่ำปลี ผักกระเฉด น้ำนม น้ำอ้อย เกลือ
รสหวาน รสมัน รสเค็ม เช่น มังคุด ฝรั่งดิบ ฟักทอง หัวปลี กล้วย มะละกอ เผือก มัน ถั่วพลู
ถั่วต่างๆ เงาะ กระหล่ำปลี ผักกระเฉด น้ำนม น้ำอ้อย เกลือ
ธาตุน้ำ
คนธาตน้ำมักจะมีรูปร่างสมส่วน ท้วมถึงอ้อน
มีผิวพรรณสดใส ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มี
รสเปรี้ยว เช่น มะเขือเทศ ส้มโอ สับปะรด มะกรูด มะนาว ส้ม ส้มเขียวหวาน ยอดมะขามอ่อน
มะระ สะเดา
รสเปรี้ยว เช่น มะเขือเทศ ส้มโอ สับปะรด มะกรูด มะนาว ส้ม ส้มเขียวหวาน ยอดมะขามอ่อน
มะระ สะเดา
ธาตุลม
คนธาตุลมมักมีรูปร่างโปร่ง ไม่อ้วน ผิวหนังแห้ง
ควรรับประทานผักและผลไม้พื้นบ้านที่มรสเผ็ดร้อน
เช่น กระเพรา โหระพา ตะไคร้ กระชาย พริกไทย ข่า กระเทียม คึ่นฉ่าย ขิง ยี่หร่า
เช่น กระเพรา โหระพา ตะไคร้ กระชาย พริกไทย ข่า กระเทียม คึ่นฉ่าย ขิง ยี่หร่า
ธาตุไฟ
คนธาตุไฟมักมีรูปร่างผอม ผิวคล้ำ ตกระ
กล้ามเนื้อกระดูกหลวม ควรรับประทานผักและผลไม้
พื้นบ้านที่มีรสขม รสเย็น รสจืด เช่น ผักบุ้ง ตำลึง บัวบก ขี้เหล็ก สะเดา แตงโม หัวผักกาด
ฟักเขียว แตงกวา คะน้า บวบ มะเขือ
พื้นบ้านที่มีรสขม รสเย็น รสจืด เช่น ผักบุ้ง ตำลึง บัวบก ขี้เหล็ก สะเดา แตงโม หัวผักกาด
ฟักเขียว แตงกวา คะน้า บวบ มะเขือ
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น