วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อาหารก่อโรค  ไขมันเลือดสูง ความดันเลือดสูง หัวใจ เบาหวาน
 
ความเสื่อมของร่างกาย ทำให้เกิดต่างๆมากมาย ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นโรคไขมันเลือดสูง 
ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นเพราะความเสื่อมของร่างกายประการหนึ่งที่มาจาก
สารเสียที่ชื่อว่า อนุมูอิสระ ที่ได้จากการเผาไหม้หรือกระบวนออกซิเดชั่น 
ร่างการรับเข้าไปหลายทาง เช่น
จากอากาศ ควันรถยนต์ มลภาวะจากโรงงาน ควันบุหรี่
จากอาหาร เช่น อาหารปิ้ง ย่าง ทอด
สารแต่งสี แต่งกลิ่น สารกันบูด เนื้อแดง ไขมันอิ่มตัว นมเนย ส่วนที่เหลือจากการดูดซึม ผ่านสู่ลำไส้ใหญ่ เกิดการหมักหมมของแบคทีเรีย เกิดสารอนุมูลอิสระ
ข้าวขาว แป้งขัดขาว คาร์โบไฮเดรตอย่างง่าย เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม กินบ่อยๆทำให้
ตับอ่อน อ่อนล้า และเสื่อมสภาพลง
จากความเร่งรัดเคร่งเครียด
ร่างกายต้องเร่งหาพลังงานป้อนเซลล์ ตับอ่อนต้องทำงานหนักขึ้น
การนั่งๆ นอนๆ ไม่ออกกำลังกาย อาหารส่วนเกินเพิ่มน้ำตาลในเลือด
ความเคร่งเครียด ทำให้อัตราเผาผลานร่างกายมากขึ้น อนุมูลอิสระมากขึ้นเช่นกัน
การดูแล การปรับอาหารมารักษาโรคความเสื่อมของร่างกาย
1. กินข้าวกล้อง  
  คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ย่อยสลายอย่างช้าๆ ให้เวลาตับอ่อนขับอินซูลิน  
  วิตามินบี ในข้าวกล้องช่วยการเผาผลาญน้ำตาลได้อย่างหมดจด 
  เส้นใยในข้าวกล้องมีมากกว่าข้าวขาว 9 เท่า ช่วยให้อิ่มง่าย น้ำตาลในเลือดไม่สูง
  วิตามินอีและเซเลเนียม ต้านอนุมูลอิสระปกป้องหลอดเลือด และหัวใจ
 
2. หลีกเลี่ยไขมันอิ่มตัว ลด ละ อาหาร ปิ้ง ย่าง ทอด ไขมัน นม เนย 

3. กินเนื้อสัตว์แต่พอควร กินปลาดีกว่ากินไก่ กินไก่ดีกว่าหมู กินมังสวิรัติได้ จะดี 

4. กินผักสด ผลไม้ให้มาก ประมาณ 5 ส่วนต่อวัน  ผักและผลไม้มีวิตามินซี เบต้า แคโรทีน
 ต้านอนุมูลอิสระ และสารผัก


5. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เดิน วิ่ง แกว่งแขน ฤาษีดัดตน โยคะ

6. ใช้ชีวติแบบสมถะ คลายเครียด ฝึกสมาธิ การรักษาโรคไขมันเลือดสูง ความดันเลือดสูง 
โรคหัวใจ  โรคเบาหวาน จำเป็นต้องได้รับ สารต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูง การกินผักพื้นบ้านที่อุดม
ด้วยสารอาหารเหล่านี้ จึงช่วยรักษาโรกลุ่มนี้ได้โดยรวม
7. ผักที่มีเบต้า แคโรทีนสูง ในปริมาณ 100 กรัม 
ยอดแค ใบกระเพรา ใบขี้เหล็ก ผักเชียงดา ผักติ้ง ผักกะเฉด แครอต

8. ผักที่มีวิตามินเอสูง 100 กรัม 
ใบยอ ใบย่านาง ใบชะพลู ยอดและใบตำลึง ผักกูด ผักแพว ผักชีลาว ผักแว่น ใบบัวบก ใบเหมียง 
ใบกระเจี๊ยบ ใบแมงลัก แครอต ผักปลั่ง ผักหวาน ดอกขี้เหล็ก ยอดกระถิน ใบชะมวง ผักหนาม ผักชีฝรั่ง 
9. ผักที่มีวิตามินซีสูง 100 กรัม 
ดอกขี้เหล็ก ใบเหมี่ยง ผักหวาน ผักเชียงดา ใบยอ ผักแพว ผักไผ่ ผักชีลาว ผักติ้ว ส้มเขียวหวาน ส้มจีน

สารผักในผักพื้นบ้านที่ใช้รักษาการเกิดโรค โรคไขมันเลือดสูง ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ   
โรคเบาหวาน
มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก เม็ดมะขาม เม็ดลำใย เม็ดทุเรียน ผักรสฝาด เช่น มะกอก ผักติ้ว
ลูกฉิ่ง ผักใบเขียวเข้ม ผักแดงเข้มทุกชนิ เช่น ขี้เหล็ก ใบเหมียง ผักหวาน ผักเชียงดา ใบยอ 
ผักแพว ผักไผ่ ผักชีลาว 
กระเทียม ลดไขมันเลือด

ขมิ้น ป้องกันการเสื่อมของหลอดเลือด

ใบบัวบก  มะเขือพวง กระชาย ยอดกระเจี๊ยบ ตะไคร้ พลูคาว  ลดความดันเลือด 

ตำลึง แตงกวา มะระขี้นก มะระจีน ยอดสะเดา ลดน้ำตาลในเลือด
กินมะเขือพวง มะระขี้นก สะเดา ลูกฉิ่ง กับน้ำพริก ประมาณ 200 กรัม ช่วยควบคุมไขมันในเลือด
กินกระเทียม วันละ 10 -15 กลีบ กินสดหรือยำ แกล้มน้ำพริก ช่วยควบคุมไขมันในเลือด  
ชนิดไตรกลีเซอไรด์สูงจะคุมได้ง่ายกว่า
กินยอดสะเดา จิ้มน้ำพริกเป็นประจำ ควบคุมเบาหวาน
 

กินกระชาย ยอดกระเจี๊ยบ ตะไคร้ พลูคาว เป็นประจำกินเป็นยา ในปริมาณที่แน่นอน 
ช่วยรักษาโรคได้ เช่น
กินมะระขี้นกหรือมะระจีน ทุกเช้า หรือคั้นน้ำดื่มสดเอาเม็ดออก เติมน้ำมะนาวเล็กน้อย 
วันละ 2-3 ลูก  ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด
กินน้ำใบบัวบกสดๆ คั้นน้ำวันละ 1 กำมือ กินทุกวัน ลดความดันในเลือดหรือผสมคึ่นฉายด้วยก็ได้
กินแตงกวา คั้นเอาน้ำ ถ้าเป็นเก๊าให้เอาเม็ดออก ดื่มวันละ 1 แก้ว ช่วยคุมน้ำตาลในเลือด
กระเทียม ชนิดสีชมพู ใช้ 30-40 กรัม โลกผสมน้ำผึ้ง 3 ช้อนโต๊ะ กินครั้งละ 1 ช้อนชา 
หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ช่วยรักษาความดันเลือดสูง
มะขามป้อม ใช้ผลไม่จำกัด  สะกัดเป็นน้ำมะขามสด 
ลดโคเลสเตอร์รอล ไตรกีเซอไรด์ และLDL  โคเลสเตอรรอล


ผักที่มีเส้นใยทำให้อิ่มง่าย ถ้ากินเส้นใยมาก แคลอรี่ที่ได้รับเข้าร่างกายจะน้อย จึงป้องกันและ
รักษาเบาหวานได้ เพราะเส้นใยช่วยดูดซับไขมันส่วนเกินในอาหารมื้อนั้นได้ หรือซับกรดไขมัน
ที่ขับออกมาพร้อมกับกรดน้ำดี ไม่ให้ดูดซึมกลับเข้าร่างกาย ทำให้ขับถ่ายได้ง่าย อาหารเส้นใยสูง
จึงช่วยป้องกันรักษาเบาหวาน โรคไขมันสูง ช่วยรักษาความดันเลือดสูง หรือโรคหัวใจในระยะยาวได้
ผักพื้นบ้านที่มีเส้นใยมาก 100 กรัม ได้แก่
มะเขือพวง สะเดา พริกขี้หนู ใบขี้เหล็ก ดอกแค ขนุนอ่อน หน่อไม้ 
กุ่ม ใบกระเพรา ใบแมงลัก 
ชะอม ผักบุ้งไทย ผักคะน้า มะระขี้นก ยอดมะกอก ใบเหมียง ลูกฉิ่ง ใบชะพลู ใบบัวบก ยอดแค 
ใบยอ กระเทียม ใบโหระพา ผักกะเฉด ผักกวางตุ้ง
แต่ถึงอย่างไร โรคต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นกลุ่มของโรคความเสื่อมของร่างกาย ต้องรักษาด้วยการแพทย์แบบองค์รวม ซึ่งประกอบไปด้วย การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การฝึกจิต 
การอดเพื่อสุขภาพ และต้องดูแลอย่างทั่วถึงรอบด้าน จึงจะได้ผลดี เพราะผักพื้นบ้านโดยทั่วไป
นั้นหาได้ง่าย และเพื่อสุขภาพที่ดี กลับมาใช้ชีวิตที่ปลอดสารเคมีได้ยิ่งดีกว่า 


0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น