พระธาตุเมืองนคร
คนไทยถ้าไปนครศรีธรรมราชแล้วไม่ไปไหว้พระธาตุ แล้วก็เหมือนไปไม่ถึง เป็นนิยามที่ว่าต่อๆกันมา
จริงหรือไม่ก็แล้วแต่จะคิด แต่คนที่มานครศรีธรรมราชแล้วไม่ได้แวะไหว้พระธาตุก็เหมือนขาดอะไร
สักอย่างหนึ่งไป เกิด 1 ครั้ง ได้ไหว้พระธาตุสักครั้งก็ ตายตาหลับแล้ว คนแก่ๆ เขาพูดกัน เพราะอะไร
สักอย่างหนึ่งไป เกิด 1 ครั้ง ได้ไหว้พระธาตุสักครั้งก็ ตายตาหลับแล้ว คนแก่ๆ เขาพูดกัน เพราะอะไร
หรือ ทำไม ก็ไม่ทราบ หรือเพราะความเชื่อ
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมเรียกว่า วัดพระบรมธาตุ เป็น
วัดใหญ่ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพง
เมืองโบราณ
ค่อนมาทางทิศใต้ เนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัด
เข้าใจว่าเดิม
คงเป็นถนนโบราณ
ประวัติ การสร้างวัดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัด
นอกจาก ประวัติจากตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้าง
พระมหาธาตุ ซึ่งเป็น
เอกสารที่ี่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์จริงเป็นเวลายาวนานมาก
หลักฐานทางเอกสาร ที่ชัดเจน ปรากฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์กล่าวว่าวัดนี้เป็น
วัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร
อุปราชปักษ์ใต้ทรงพระสงฆ์จากวัดเพชรจริก มาดูแล รักษาวัด
และคราวที่รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสเมืองนคร ได้โปรดพระราชทานนามวัดว่า
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ประวัติ จากตำนานที่เล่า
เรื่องการก่อสร้างพระบรมธาตุมีหลายสำนวนสามารถประมวล เนื้อหาได้ว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมืองต่าง ๆ
ในแว่นแคว้นชมพูทวีปได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปเก็บ รักษา เคารพบูชา
มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองทนธบุรี ได้พระทันตธาตุมาเก็บรักษาไว้
ต่อมามีกษัตริย์จากเมืองอื่นยกทัพ
มาเพื่อขอแบ่งพระทันตธาตุ
กษัตริย์สิงหราชเจ้าเมืองทนธบุรีเห็นว่าจะรักษาเมืองไว้มิได้ จึงให้
พระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมารพระธิดาและพระโอรสอัญเชิญพระทันตธาตุ ลงเรือหนีไปลังกา เผอิญเรือกำปั่นถูกพายุพัด
เรือแตกทั้งสองพระองค์มาขึ้นฝั่ง ณ หาดทรายแก้ว แล้วฝัง
พระทันตธาตุไว้
เรื่องราวดำเนินต่อไปจนทั้งสอง พระองค์ได้กลับไปลังกา โดยมีพระทันตธาตุส่วนหนึ่งยังฝังอยู่ที่หาดทรายแก้วต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
ได้มาพบพระทันตธาตุ และโปรดให้ สร้าง
พระบรมธาตุเจดีย์
ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมือง ณ หาดทรายแก้ว
จนสำเร็จ
เมืองดังกล่าวก็คือ เมืองนครศรีธรรมราชพระบรมธาตุเจดีย์ก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
ซึ่งเชื่อกันว่าเดิมเป็นเจดีย์แบบอิทธิพลศิลปะ
ศรีวิชัย คือเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีหลังคาเป็น
สถูปห้ายอดคล้ายพระบรมธาตุเจดีย์ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อายุราว
พุทธศตวรรษที่ 13-15 ต่อมา
พระสถูปแบบศรีวิชัยทรุดโทรมลง
จึงได้มีการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ทรงลังกาซึ่งเป็นเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบไว้
เชื่อกันว่าในขณะนั้นคือราวพุทธศตวรรษที่ 18
อิทธิพลพุทธศาสนาแบบลังกาในดินแดน
นครศรีธรรมราช เข้มแข็งมาก นครศรีธรรมราช
จึงได้รับอิทธิพลทั้งศาสนาและศิลปกรรมจากลังกา
ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลทรงวินิจฉัยว่าพระบรมธาตุเจดีย์
ปัจจุบัน มีลักษณะคล้าย
เจดีย์กิริเวเทระในเมืองโบโลนนารุวะ
ประเทศ ศรีลังกา สร้างในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช
ราวต้น พุทธศตวรรษที่
18 พระบรมธาตุเจดีย์ ก็ควรสร้างหลัง จากนั้นมากส่วนสถาปัตยกรรมอื่น ๆ
ภายในวัดพระมหาธาตุฯ ล้วนเป็นของที่สร้างขึ้นใน สมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่จะ
มีสิ่งก่อสร้างใน
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บ้าง เช่น วิหารทับเกษตร วิหารพระแอด เป็นต้น
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บ้าง เช่น วิหารทับเกษตร วิหารพระแอด เป็นต้น
วิหารพระแอด
และต่อมาก็มีเรื่องราวของ ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ ตามมาอีกมากมาย แต่คนไทยและคนต่างประเทศก็ไม่เคยเสื่อมคลายความศัทธาตามกระแสของข่าว ความขลังเข้มเคยเป็นอย่างไรก็ยังยั้งยืนยงอยู่อย่างนั้น
พิธีปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง คือ การนำผ้าขึ้นธาตุ ตามตำนานเชื่อว่า
หากใครได้นำผ้าขึ้นธาตุ และบนขอพรในเรื่องใด จะขอให้หายเจ็บหายไข้ ขอให้ได้ลูก ขอเรื่องการงานการเรียน
สิ่งนั้นก็จะเป็นจริงดังหวัง
มีเรื่องเล่าว่า มีชายคน
หนึ่งประสบอุบัติเหตุเดินไม่ได้ รักษาเท่าไหร่ก็ ไม่หาย
สุดท้ายพ่อแม่ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงมาบนและนำผ้าขึ้นธาตุที่ พระบรมธาตุ
ขอให้ลูกชายหายจากอาการป่วยและหากหายจะ
ให้มาบวชที่วัดพระธาตุ
ในไม่ช้าชายหนุ่มคนดังกล่าว
ก็หายวันหายคืน
จนกลับมาเดินได้เป็นปกติในทุกปีช่วงวันมาฆและวันวิสาขบูชา
จะจัดงานแห่ผ้าขึ้นธาตุซึ่งถือเป็น งาน
บุญประจำปีที่มีผู้คนจากทั่วสารทิศมาร่วมสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่นี้ความ
มหัศจรรย์อย่างหนึ่งของ องค์พระบรมธาตุ
คือ องค์พระธาตุจะไม่มีเงาทอดลงพื้นไม่ว่าแสงอาทิตย์จะส่องกระทบไปทางใด
ซึ่งยังไม่มี ใครหาคำตอบได้ว่าเป็น เพราะอะไร
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น