ฝายมีชีวิต
เราจะ
สร้างฝายขึ้นก่อนด้วยไม้ไผ่ จากนั้นค่อยปลูกไทรขึ้นสองฝั่ง
เราล่อรากไทรให้เลื้อยไปขัดตามช่องไผ่ที่เราทำโครงไว้ ให้รากเขากินไม้ไผ่
ทิ้งไว้สัก 3-4 ปี รากไทรก็จะงอกมาเต็มทำให้ฝายแข็งแรงแน่นหนามากขึ้น
เป็นตัวช่วยยกระดับน้ำให้ฝายได้อย่างดีด้วย
เพราะไทรกับรากจะไม่หยุดโต แนวคิดนี้เองทำให้รากไทรเป็นตัวสร้างสายน้ำและ
คืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศด้วย เพราะ
แต่ละชั้นของฝายที่มีรากไทรโอบอุ้มอยู่นั้นจะเอื้อให้เกิดการชุมนุมกันของ
ปลา และปลายังจะสามารถว่ายขึ้นลงตามกระแสน้ำและทวนกระแสขึ้นมาได้
เหมาะแก่การอยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของปลาพื้นเมืองชนิดต่างๆ
สร้างให้เกิดวังปลาในบริเวณนั้นได้ นีคือคำพูดของแกนนำของคนสร้างฝายมีชีวิต
ได้ยินได้ฟังมาจากหลากหลายทาง และได้ชมทางโทรทัศน์ ก็รู้สึกดีใจไปกับ ชาวบ้าน พี่น้อง เด็กๆ และฝูงปลา ที่พากันได้แหวกว่ายไปตามสายน้ำที่ใส ไหลอย่างมีระบบกับ ฝายมีชีวิต ที่มีการตื่นตัวทำกันมากมายหลายแห่งหน ตำบล เพื่อกักน้ำไม่ไห้ไหลผ่านอย่างรวดเร็ว เป็นการชะลอการไหลของน้ำนั่นเอง และทำกันอย่างมีระบบแบบแผน ไม่ต้องมีค่าแรง มีแต่แรงงานที่ชาวบ้านได้ช่วยๆ กันก็เพื่อ ตำบลที่อยู่อาศัย และการมีอาหารที่อุดมสมบูรณ์ และได้ใช้น้ำอย่างไม่ขัดสนอีกต่อไป ภายใต้แกนนำสำคัญหลักๆ อยู่ไม่กี่คน ที่ทำด้วยใจรัก และอยากให้ทุกบ้าน ทุกตำบลอยู่กันแบบไม่เดือดร้อน
ภายใต้สโลแกน ฝายมีชีวิต ที่ทุกชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันได้ และหลากหลายหน่วยงานก็ให้การสนับสนุน ใครมีอะไรก็ช่วยกัน ทั้งทราย ไม้ไผ่ และคนงาน คือชาวบ้านละแวกนั้นๆ มีแรงช่วยแรง มีเงินช่วยเงิน
หัวใจหลักของการทำฝายมีชีวิต
นอกจากเป็นโครงสร้างสีเขียว 100% ไม่ใช้สิ่งแปลกปลอมธรรมชาติ เช่น เหล็ก
หรือปูน แล้ว โครงสร้างฝายมีชีวิต ยังแตกต่างจากฝายอื่นๆ หรือเขื่อน
โดยฝายโดยทั่วไปทำโครงสร้างสี่เหลี่ยม
พอน้ำมาก็มาตีและทรายก็กองอยู่หน้าฝาย ยิ่งนานๆ เข้าก็จะตื้นเขิน
ขณะที่ปลาว่ายน้ำมา ชนเขื่อน ชนฝายที่มีโครงสร้างแข็ง
นี่คือการทำลายระบบนิเวศน์
ที่ผู้นำชุมชนท่านนี้อธิบายให้เห็นภาพถึงความแตกต่าง
เริ่มจาก นำไม้ไผ่มาตัดให้ได้ขนาด แล้วนำมาปักเป็น ชั้นๆ เหมือนขั้นบันได (ผู้ชายทำ)
เมื่อเสร็จแล้วก็ทำการ นำกระสอบทราย มาวางที่ทำเป็นโครงสร้างไว้ จนเต็ม
นี่เพื่อนๆ ชมรมจักยาน แบก แบก หนักนะนี
พักเหนี่อย ทดสอบความหนาแน่น
วางไว้จนเต็มพื้นที่ อย่างใหญ่
อันนี้ผู้ตรวจงาน
สาวๆ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำทีมโดยผู้ใหญ่ พิศิษฐ์ สันฐมิตร ไปช่วยทำที่กรุงชิง อ.นบพิตำ
พี่ผู้ใหญ่พิศิษฐ์ นำน้องๆนศ.มวล.ร่วมสร้างฝายมีชีวิต.ณบ้านกรุงชิง
บรรดาแม่ครัว มือฉมัง เพื่อเลี้ยงคนมาช่วยทำฝายกัน
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น