น้ำมันปลากับสุขภาพ
น้ำมันปลา คนที่รักสุขภาพคงจะรู้จักกันดี เพราะเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพที่นิยมบริโภคกันอย่างทั่วไป เพราะเชื่อกันหรือบอกต่อๆกันมาว่า น้ำมันปลาแก้ปัญหาการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้เมื่อรับประทานได้มาสักระยะ จากการสังเกตุหรือตามที่แพทย์ตรวจก็ตาม มีเพื่อนคนหนึ่งเขาเป็นเส้นเลือดขอดอยู่นานแล้วมีคนแนะนำให้รับประทานน้ำมันปลาไป สักระยะ อาการของเส้นเลือดขอดก็ดีขึ้นตามลำดับ
จากการวิจัยของชาวญี่ปุ่นในปี 1980 ชาวบ้านหมู่บ้านชาวประมงรับประทานปลาเป็นอาหารหลังมีปัญหาโรคหลอดเลือดและหัวใจต่ำ การเกาะกันของเกล็ดเลือดและความหนืดต่ำ เนื่องจากอาหารทะเลมีน้ำมันปลาในปริมาณสูง ดังนั้นน้ำมันปลาจึงอาจเป็นแนวทางในการป้องกันรักษาภาวะเส้นเลือดอุดตัน จนมีคนที่รับประทานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
น้ำมันปลากับน้ำมันตับปลา ไม่เหมือนกันแม้จะมาจากปลาเช่นเดียวกันก็ตาม
น้ำมันปลา ได้จากการสกัดน้ำมันจากส่วนเนื้อปลา หนัง หัวและหาง ของปลาทะเลหลายชนิด
น้ำมันตับปลา สกัดจากตับของปลาทะเล นิยมรับประทานเพื่อเสริมวิตามินดีและวิตามินเอ
ประโยชน์ของน้ำมันปลาต่อสุขภาพ
- น้ำมันปลาป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- เพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรรอล ลดไตรกลีเซอไรด์และความดันโลหิต
- ช่วยลดอุบัติการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ทั้งหลอดเลือดหัวใจแข็ง กล้ามเนื้อหัวใจตาย
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หัวใจวาย ลดความหนืดของผนังหลอดเลือด
- เส้นเลือดอุดตัน ความดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น
- ช่วยป้องกันการจับตัวเป็นก้อนของเลือด
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบไหลเวียนในโลหิต
- ช่วยเสริมให้ผนังเซลล์แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ผิวยืดหยุ่นดี ไม่แห้งเป็นขุย
- มีส่วนช่วยป้องกันและรักษาอาการปวดศีรษะหรือไมเกรน
- ช่วยให้เส้นประสาทตาแข็งแรง ลดโอกาสเป็นต้อกระจก
- ช่วยลดอาการอักเสบของไขข้อ และซ่อมแซมเนื้อเยื่อใหม่ ในผู้ป่วยโรคเก๊าท์หรือไขข้ออักเสบ
- บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของโรคปวดข้ออักเสบรูมาตอยด์
- บำรุงระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นลดการอักเสบของโรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อนกวาง
- ลดอาการซึมเศร้า
- ช่วยรักษาทางเคมีบำบัดดีขึ้น ลดผลข้างเคียงของเคมีบำบัด
การรับประทานปลาทะเลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็อาจได้ประโยชน์จากน้ำมันปลาเพียงพอ
ปลาทะเลที่มีน้ำมันมาก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคเคอรเรล ปลาแซลมอน ปลาทูน่า
มีไขมันโอเมก้า 3 สูงถึง 1-4 กรัมต่อเนื้อปลา 100 กรัม ส่วนปลาทะเลไทยที่มีไขมันในกลุ่มโอเมก้าสูงเช่น ปลาทู มีน้ำมันปลา 2-3 กรัมต่อเนื้อปลา 100 กรัม ปลาอีกา ปลากระพง ปลาตาเดียว มีน้ำมันปลา 0.5 - 2กรัม ต่อปลา 100 กรัม
การวิจัยแนะนำให้รับประทานในรูปผลิตภัณฑ์เสริม ช่วยลดความเสี่ยง การตายจากโรคหัวใจ
วันละ 0.5-1.8 กรัม จากอาหารวันละ 1.5 -3 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจเช่นกัน
ทานอย่างไร
ทานพร้อมมื้ออาหาร ตอนเช้ายิ่งดีเพราะร่างกายได้ให้พลังงานเผาพลานไม่ตกค้างในร่างกาย
กรณีไม่เป็นโรคหัวใจ ให้บริโภคปลาให้หลากหลายชนิดปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
น้ำมันจากถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืชที่มีกรดอัลฟาลีโนเลนิคสูง เช่นแฟลกซีด วอลนัท น้ำมันคาโลลา น้ำมันถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะ
กรณีเป็นโรคหัวใจ ให้บริโภคกรดอีพีเอและดีเอชเอวันละ 1 กรัม บริโภคปลาทะเลให้มากขึ้น
กรณีมีไตรกลีเซอไรด์สูง รับประทานกรดอีพีเอและดีเอชเอวันละ 2-4 กรัม จากน้ำมันปลาและปลาทะเล
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น