วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

 ยาฆ่าเชื้อต้องรับประทานให้หมดตามหมอสั่ง เพราะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้

เรื่องมีอยู่ว่า น้องนักศึกษาคณะเภสัช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ไปให้ความรู้เรื่องยาปฎิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื่อ และพี่ๆก็ได้มีความรู้ เรื่องการใช้ยาให้ถูกต้องและถูกโรค ทั้งวิธีการใช้ การกิน และการรักษา
ข้อบ่งชี้ต่างๆ และชนิดของยาได้สนทนากันระหว่างการให้ความรู้ของน้องๆ


ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างของตัวเองเป็นตัวอย่างของการใช้ยาไม่ถูกวิธี ทำให้เชื้อโรคดื้อยา ต้องใช้ยาแรง
เริ่มเรื่อง....ครั้งหนึ่งผู้เขียนไม่สบายแล้วไปนอนโรงพยาบาล เพราะโรคลำไส้อักเสบ นอนอยู่ 2 คืน
ให้น้ำเกลือเพราะเพลียมาก อาการเริ่มดีหมอให้กลับมานอนพักที่บ้าน ได้ยามา 1 ถุงใหญ่ๆ ยาที่ได้มาด้วยคือยาฆ่าเชื้อหมอกำชับว่าต้องรับประทานให้หมด ไม่งั้นเชื้อจะดื้อยา กินไปพอจะเริ่มหายดีแล้ว
มีคนมาเยื่ยมไข้ก็เห็นถุงยา เขาถามว่าจะหายดีแล้วใช่มั๊ย ขอได้ไม่ยา เขาไม่สบายเจ็บคอ ด้วยการรู้เท่าไม่ถึงการ เราใจดีให้ไปคะ

.... ประมาณ 1 ปีผ่านไปมีเหตุการณ์ซ้ำของโรคลำไส้อักเสบอีกคะ คราวนี้นอนโรงพยาบาลนาน 10 วัน ทั้งน้ำเกลือ ทั้งยา ทั้งอวกใน 2 วันแรก อวกนี้อาการหนัก อวกจนไม่มีอะไรจะอวก แสบอก ปวดท้องมากจนทนไม่ไหว  ขอให้คุณหมอเปลี่ยนยาฆ่าเชื้อเป็นยาฉีด
.... คุณหมอถามว่าคุณจะรับได้มั๊ยยาแรงขึ้นเพราะเชื้อโรคดื้อยา รับได้คะหมอ  หลังจากนั้น
ฉีดยาฆ่าเชื้อ 2 ชั่วโมง 1 เข็ม จัดไป 8 วัน นับจากนั้นไม่เคยให้ยาใครอีกเลยและจะรับประทานยาตามหมอสั่งทุกอย่าง เพราะไม่อยากจะเป็นอีกแล้ว


ยาปฏิชีวนะ ก็คือ ยายับยั้ง ฆ่า หรือ ต้าน จุลชีพซึ่งโดยทั่วไปมักเป็นเชื้อแบคทีเรีย บางคนจึงเรียกว่า ยาต้านแบคทีเรีย (แอนติแบคทีเรียล/Antibacterial) แต่ยังอาจครอบคลุมถึงเชื้อไวรัสบางชนิด และเชื้อราบางชนิดได้ด้วย

1. ยาเพนิซิลลิน(Penicillin) เป็นยาใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียได้ในหลายเนื้อเยื่อ อวัยวะ เช่น คออักเสบ
 
2. อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) เป็นยาปฏิชีวนะใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่กระดูก ข้อ การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อหลังผ่าตัด

 3.เซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) จัดเป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น ชนิดก่อการอักเสบของทางเดินหายใจ และของทางเดินอา หาร 

4.  แมคโครไลด์ (Macrolide) จัดเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้แพร่หลายอีกกลุ่มหนึ่ง สา มารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยการก่อกวนที่สารพันธุกรรม 

5. เตตราไซคลีน (Tetracyclines) ใช้รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อในลำไส้ รักษาหลอดลมอักเสบ แผล ฝี หนอง


ยาปฏิชีวนะที่มีจำหน่ายในร้านยา และสถานพยาบาลมีหลายรูปแบบ อาทิเช่น ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาฉีดชนิดผงแห้ง  

ผลเสียจากใช้ยาปฏิชีวนะนานๆหรือพร่ำเพรื่อ ที่พบบ่อยคือ
  • เชื้อโรคมีพัฒนาการต่อต้านยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้เกิดภาวะดื้อยา (เชื้อดื้อยา)
  • ได้รับผลข้างเคียง ของการใช้ยา เช่น ท้องเสีย ผื่นคัน ลมพิษ และ โรคหืด
  • รบกวนการทำงานของยากลุ่มอื่น (ปฏิกิริยาระหว่างยา) เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มพร้อมกับยาเม็ดคุมกำเนิด จะทำให้ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดลดลง จนอาจเกิดการตั้งครรภ์ตามมาได้

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น