ยิ่งพุงใหญ่เท่าไหร่ ยิ่งตายเร็วเท่านั้น
อ้วน ลงพุง ยุ่งยากกาย
ยิ่งพุงใหญ่เท่าไหร่ ยิ่งตายเร็วเท่านั้น จากการสำจวจ คนไทยที่มีอายุมากกว่า 35 ปี มีเส้นรอบพุงเกินเกณฑ์ที่กำหนด (รอบพุงตั้งแต่ 80 ซม. ขึ้นไปในผู้หญฺิง 90 ซม. ในผู้ชาย) เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง
คนอ้วนลงพุง จะมีไขมันสะสมในช่องท้องปริมาณมาก ยิ่งรอบพุงมากเท่าไหร่ไขมันยิ่งสะสมในช่องท้องมากเท่านั้น ไขมันที่สะสมนี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดเป็น โรคอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง
โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โดยรอบพุงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ซม. จะเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน 3-5 เท่า
ดัชนีมวลกาย
ตั้งแต่ 23-24.9 ต่อตรม. ถือว่า น้ำหนักเกิน
ตั้งแต่ 25-34.9 ต่อตรม. ถือว่า อ้วน
ตั้งแต่ 35 ต่อตรม.ขึ้นไป ถือว่าอ้วนรุนแรง
การคำนวณดัชนีมวลกาย (กก.ต่อตรม.) = น้ำหนัก หาร ส่วนสูง คูณ ส่วนสูง (ควรใช้เครื่องคิดเลข)
เกณฑ์การวินิจฉัยอ้วนลงพุง เมื่อวัดเส้นรอบพุง ถ้ารอบพถงเข้าได้กับข้อใดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าลงพุง
* รอบพุงเกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง
* ผู้ชายรอบพุง 90 เซนติเมตรหรือมากกว่า
* ผู้หญิงรอบพุง 80 เซนติเมตรหรือมากกว่า
การวัดรอบพุง ควรทำช่วงเช้าขณะยังไม่รับประทานอาหาร และไม่ควรมีเสื้อผ้าปิดตำแหน่งที่วัด
1. อยู่ในท่ายืน เท้าห่างกันประมาณ 10 เซ็นติเมตร
2. วัดตำแหน่งบนสุดของกระดูกเชิงกราน ขอบล่างของชายโครง (บริเวณล่างสะดือ)
3. วัดในช่วงที่หายใจออก ให้สายวัดแนบกับลำตัวพอดีไม่แน่น
การปฎิบัติการ พิชิตอ้วน พิชิตพุง ขึ้นกับภารกิจ 3 อ.
1. ปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร
2. ออกกำลังกาย
3. ควบคุมอารมณ์และความรู้สึก
การออกกำลังกาย ให้หัวใจเต้นได้ถึง 60-70 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (การออกกำลังกายระดับปานกลาง) ประมาณ 20-30 นาที ก็เพียงพอที่จะกระตุ้นพัฒนาอวัยวะต่างๆ แต่ถ้าเพื่อลดน้ำหนักอาจต้องออกกกำลังกายอย่างน้อย 30-60 นาที ขึ้นไปเช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การขี่จักรยาน ว่ายน้ำ
ควรยืดกล้ามเนื้อทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น