เมื่อเจ้าตัวน้อยไม่สบาย
หากลูกน้อยไม่สบาย คุณแม่สังเกตุได้จากท่าทางซึมเซา หน้าซีดเซียว ปากแดงๆ ไม่ยอมกินข้าว กินนมหรือไม่ซุกซน หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ น้ำลายไหล สำหรับลูกน้อยวัยต่ำกว่า 1 ขวบต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเด็กวัยนี้จะมีอาการรุนแรงอย่างรวดเร็ว คอยดูอาการ ทุก 1-2 ชั่วโมง ไข้จะสูงตอนเย็นๆ
จากประสบการณ์ของลูกชายมีไข้ทำให้เกิดการชัก ลูกไม่สบายตัวร้อนเจ็บคอ
ประมาณ 1-2 วัน ให้กินยาพาราไข้ลดลงแล้วก็กลับมาใหม่ หลังจากนั้นเช็ดตัวประมาณ 5 นาทีจนตัวเย็นแล้ว อยู่สักพักได้ยินเสียงลูกครางหันไปมองตกใจมาก ลูกตาเหลือกไปอยู่ด้านบน
ไม่ได้สติ มีอาการเกร็งกำมือแน่น 2-3 นาที จากนั้นจะเกิดการกระตุก ไม่รู้ทำไงกลัวลูกจะกัดลิ้นตัวเอง ตัดสินใจให้นอนตะแคงให้น้ำลายไหลออกมา แล้วเรียกชื่อลูก ก็ไม่รู้สึกตัวพาไปโรงพยาบาลตอนกลางคืน ไปถึงหมอถามอาการแล้วให้เช็ดตัวจนกว่าไข้จะลด เช็ดไปประมาณ 5 นาท ไข้ลด กลับมาใหม่ เช็ดอีก 10 นาที ก็เหมือนเดิม และเช็ดต่อไปสงสารลูกมาก เพราะลูกบอกว่าเย็นแต่หมอก็ให้เช็ดต่อ จนเช็ดเป็น 1 ชม. จึงจะหยุด เหนื่อยล้าก็ยอม หมอบอกว่าที่ไข้ลดช้า เพราะเด็กไข้สูงมาก ตั้ง 40 ํCC หมอว่าเด็กทนอยู่ได้ไงหัวใจเต้นกระหน่ำเชียว (หัวใจแม่เต้นกระหน่ำกว่า) เพราะลูกมีอาการเพ้ออย่างเห็นได้ชัด
เมื่อลูกรู้สึกไม่สบาย *ลูกจะอ้อนคุณแม่ เพราะต้องการความเอาใจใส่มากว่าปกติ เพ้อ ตกใจง่าย
มือเท้าจะเย็นออกสีม่วงๆ เพราะไข้สูงมาก ปากแดงจัด ลมหายใจร้อนมาก (เพราะไข้สูง)
ชักหมดสติ มีอาการเกร็งนาน 2-3 นาที จากนั้นจะเกิดการกระตุก
พบแพทย์ * เมื่อลูกไข้สูงมากๆ เช็ดตัวไข้ไม่ลด
ควรเร่งรีบเมื่อใด * ขอความช่วยเหลือเมื่ออาการรุนแรง
อาการ * เมื่อลูกไม่สบาย
- มีไข้ อุณภูมิตั้งแต่ 38 ํ CC ( 100.4 ํF) ขึ้นไป
- ร้องกวน หงุดหงิดง่าย
- อาเจียนหรือท้องเสีย
- ไม่กินนม หรือดื่ม
- เจ็บคอ คอแดง
- มีผื่นขึ้นตามตัว
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอหรือหลังขากรรไกรโต (กกหู)
สัญญาณอันตราย ฉุกเฉิน
- หอบ หายใจลำบาก มีเสียงดัง
- ชัก
- หมดสติหลังจากพลัดตก
- เจ็บปวดรุนแรงมากและตลอดเวลา
- มีไข้ซึมผิดปกติ หงุดหงิดง่าย
- มีผื่นสีแดงคล้ำหรือมีจุดเลือดออก
วิธีลดไข้ลูก
- เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น / น้ำเย็น
- กินยา เมื่อไข้ลดลูกจะมีเหงืออกมา
- ให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติ
- เช็ดย้อนเส้นขน บริเวณใบหน้า ลำคอ และข้อพับต่างๆ
- ถอดเสื้อผ้าให้หมด จะง่ายต่อการระบายความร้อนในร่างกาย
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น