เพาะหน่อเหรียง
ฝักเหรียงแก่ดีแท้
เม็ดเหรียง
ตัดเมล็ดเหรียงตรงรอยหยักหรือส่วนหัว เพื่อให้แตกหน่อ นำไปแช่น้ำ 1 คืน
นำไปแช่น้ำ 1 คืน ล้างเมือกออก
เตรียมที่เพาะ ให้น้ำไหลผ่านได้ ใส่ทราย แล้วโรยลูกเหรียงที่แช่น้ำแล้วลงไปโรยทรายปิดบางๆ
แล้วรดน้ำชุ่ม วันละ 2-3 ครั้ง วางไว้ในที่ร่ม
วันที่ 1 -2 ก็ประมาณนี้ แค่แย้มๆ
พอได้วันที่ 3 ก็ถอนมาเอาเปลือกออกตัดปลายราก ถ้าไว้นานหน่อจะยิ่งยาว
ขุดมาล้างทรายออกก่อนแล้ว แกะเปลือกออก เอาไว้แกง และเหนาะ ตามสะดวก
แกงกับหมู แกงกับเนื้อ ก็อร่อย
หรือจะลวก ไว้ดอง ก็ดี
ถ้าขาย แพงนะกิโลละ 200 - 250 บาท เชียวนะ
ต้นเหรียง จัด เป็นเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีลำต้นเป็นเปลาตรง มีความสูงได้ถึง 50 เมตร
มีพูพอนสูงถึง 6 เมตร ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกับสะตอ แต่จะแตกต่างกันตรงที่พุ่มใบของต้น
เหรียง มักจะเป็นพุ่มกลม ไม่แผ่กว้างมากนัก และมีพุ่มใบแน่นและเป็นสีเขียวทึบกว่าพุ่มใบของสะตอ เปลือกต้นเรียบ ที่กิ่งก้านมีขนปกคุลมขึ้นอยู่ประปราย และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงสว่างและพื้นที่ค่อนข้างชุ่มชื้น มักจะเริ่มผลัดในในช่วงที่ออกช่อดอก และใบจะหลุดร่วงจนหมดต้นเมื่อผลเริ่มแก่พร้อม ๆ ไปกับใบอ่อนที่จะเริ่มผลิออกมาใหม่ ส่วนวิธีการปลูกต้นเหรียงจะนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดเป็นหลัก นอกจากนี้ยังสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น ๆ ได้อีก เช่น การตัดกิ่งปักชำและการติดตา แต่ไม่เป็นที่นิยม
ผลเหรียง หรือ ฝักเหรียง ผลเป็นฝักกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 22-28 เซนติเมตร ตัวฝักตรงไม่บิดเวียนเหมือนกับสะตอบางพันธุ์ และเมล็ดก็ไม่นูนอย่างชัดเจน ฝักเมื่อแก่เต็มที่เปลือกจะแข็งและมีสีดำ ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดประมาณ 11 x 20 เซนติเมตร หนึ่งฝักมีเมล็ดประมาณ 20 เมล็ด โดยจะออกผลหรือฝักในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และฝักจะแก่ในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ลูกเหรียง หรือ หน่อเหรียง มีลักษณะคล้ายกับถั่วงอกหัวโตแต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าและมีสีเขียว
มีรสมันและกลิ่นฉุน เกิดมาจากการนำเมล็ดเหรียงของฝักแก่ไปเพาะในกระบะทรายเพื่อให้เมล็ดงอกราก และมีใบเลี้ยงโผล่ขึ้นมาเหมือนกับถั่วงอก จึงจะสามารถนำมารับประทานได้ (เมล็ดเหรียงนั้นมีเปลือกแข็งจึงไม่สามารถรับประทานได้โดยตรง
บางภาพจากอินเตอร์เน็ต เรียบเรียงโดยบ้านบิวเบสท์
ได้ความรู้ดีครับ กำลังสนใจเพราะเม็ดเหรียงขายพอดี
ตอบลบจ้า ง่ายๆแบบบ้านๆ
ตอบลบ