ชัก ลากพระ
ประเพณีชักพระ "ลากพระ " เป็นประเพณีพื้นเมืองของพี่น้องชาวภาคใต้ ด้วยวิธีการลากหรือชัก
พระพุทธรูป ซึ่งประดิษฐานอยู่บนบุษบกที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างสวยงาม แห่แหนไปตาม ถนนหนทาง
ทั่วเมือง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชา และถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์
มีพุทธตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงผนวชได้ 7 พรรษา และ พรรษาที่ 7
นั้นได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นออกพรรษาแล้ว
ยามเช้าของแรม 1 ค่ำ เดือน 11
ได้เสด็จกลับ มายังโลกมนุษย์ ในการนี้พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
และ อุบาสิกา ซึ่งรอคอยพระพุทธองค์มาเป็นเวลานานถึง 3 เดือน ครั้นทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ
จึงได้รับเสด็จและได้นำภัตตาหารคาวหวานไปถวายด้วย
ผู้ไปทีหลังนั่งไกล ไม่สามารถเข้าไป
ถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้ จึงใช้ใบไม้ห่ออาหารและส่งผ่านชุมชนต่อๆกันไป เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อผู้นั่งใกล้ๆ ถวายแทน บุญ
พอถึงวันอาปวารณาออกพรรษา (วันออกพรรษา) ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านไปวัดทำบุญกันและ
ได้ทำขนมต้ม เหนียวห่อกล้วย ไปวัดด้วยเป็นประเพณีมาแต่โบราณที่ต้องทำขนมต้ม และอื่นๆ ไปทำ
บุญเดือน 11 ก่อนที่จะมีการชักลากพระ
ขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ต้ม" เป็นขนมประจำประเพณีทำด้วยข้าวเหนียว
ห่อด้วยใบกะพ้ออ่อนๆ
ช่วยกันทำทั้ง เด็กและผู้เฒ่า ผู้แก่ คนละไม้คนละมือ เดี๋ยวเดียวก็เสร็จ ได้กินและไปวัดวันรุ่งเช้า
เมื่อถึงวัดก็ทำพิธีการทางสงฆ์ เช่นถวายข้าวพระ ฟังเทศน์นา
รับประทานอาหาร และอาบน้ำพระลาก ก่อนวันลากพระ เพื่อเป็นสิริมงคล
การแต่งนมพระ
1. นมพระ หมายถึง พนมพระ เป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก
เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ"
นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับ
ข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔
ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย
รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง
ประดับ ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า
มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ
นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระ
วางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ
ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ
เพราะความสง่าได้สัดส่วนของ นมพระขึ้นอยู่กับยอดนม
2. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร
แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า
ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า
ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น 2 สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตี
ให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ
คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระ
เพื่อผ่อนแรง
ตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย : อี้สาระพา เฮโล เฮโล
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ ช่วยกัน ลาก ช่วยกัน จูง ตามศัธทา ของชาวพุทธ แต่เดี๋ยวนี้ดีหน่อยที่เรือพระนั้น บางวัดมีรถยนต์ รองเรือไว้เพื่อได้ลากจูงง่าย แทนล้อเลื่อน และสะดวกที่จะไปที่อื่นได้ไกลๆ
บางแห่งมีขบวนแห่กลองยาว เพื่อความครึกครื้นของคนลาก และอาจจะมีการวางหีบไว้ในเรือพระเพื่อ
รับเงินบริจาก และจะกลับวัดกันในวันนั้นเลยก็ได้ หรือจะลากจูกกันต่อไปอีก 2-3 ก็แล้วแต่ทางวัด
หรือจะมีการประกวด เรือพระ กันบ้างบางพื้นที่
การตกแต่งเรือพระ
เมื่อถึงกำหนด ก็ลากเรือพระกลับวัด
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น