วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558


ใบชะมวงต้านมะเร็ง


จากที่ได้อ่านและได้รู้จากข้อมูต่างๆ มากมาย ทั้งในเฟสบุ๊คส์ ในโลกอินเตอร์เน็ต ก็ทำให้เข้าใจได้ว่า 
ใบชะมวงที่เราๆ รู้จักกัน ใช้ประกอบอาหารเสียเป็นส่วนมาก ทั้งใช้ต้มกับกระดูกหมู แกงกับหมู และ 
อีกมากมายที่จะทำ ก็พึ่งรู้ว่าใบชะมวงสามารถต้านมะเร็งได้ด้วย  
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟสบุ๊คส์ หมอสารภี เชียงใหม่ เรียบเรียงโดย บ้านบิวเบสท์


ข้อมูลมีดังนี้   
รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ อาจารย์และผู้อำนวยการสถานวิจัยยาสมุนไพร
และเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เปิดเผยว่า 

ได้ร่วมกับนายอภิรักษ์ สกุลปักษ์ นักศึกษาทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ภาควิชาเภสัชเวท
และเภสัชพฤกษศาสตร์ ศึกษาวิจัยคุณสมบัติในการมีฤทธิ์ต้านมะเร็งของพืชผักพื้นบ้านที่นำมาประกอบ อาหารโดยเฉพาะผักพื้นบ้านภาคใต้ และสามารถแยกสารต้านมะเร็งและต้านแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารจาก “ใบชะมวง” ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก โดยทำการศึกษาต้นคว้าอยู่เป็นเวลา 2 ปี 
ผลงาน ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Food Chemistry ซึ่งเป็นวารสารที่ได้รับความเชื่อถือและยอมรับอย่างมากในวงวิชาการ

การศึกษาวิจัยเริ่มจากการเก็บรวบรวมพืชผักพื้นบ้าน  จำนวน 22 ชนิด เพื่อนำมาสกัดและทดสอบว่า
มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Helicobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อโรคในทางเดินอาหารหรือไม่ โดยพบว่าชะมวง
เป็นพืชที่ออกฤทธิ์ดีที่สุด จึงได้นำมาแยกสารที่ต้องการ จนสามารถได้สารตัวหนึ่งซึ่งมีฤทธิ์ในระดับ
ดีมาก มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ หรือ MIC ประมาณ 7.8 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร 
สิ่งที่สำคัญคือหลังจากหาสูตรโครงสร้างแล้ว พบว่าสารตัวนี้เป็นสารใหม่ที่ไม่เคยมีใครรายงานมาก่อนในโลก จึงตั้งชื่อว่า “ชะมวงโอน” (chamuangone) เพื่อให้แสดงว่ามาจากประเทศไทย ต่อจากนั้นได้
มีการศึกษาต่อถึงความเป็นไปได้ในการออกฤทธ์ยับยั้งเชื้อโปรโต ซัวร์ เพื่อนำไปสู่การศึกษาการยับยั้งเซลมะเร็งต่อไป

โดยได้นำไปทดสอบกับกลุ่มโปรโตซัวร์ Leishmania major ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคที่เคยพบระบาดในภาคใต้ของไทยมาแล้ว พบว่าสารชะมวงโอน สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งโปรโตซัวร์ Leishmania major ได้ดี จึงได้นำ“ชะมวงโอน” ไปทดสอบกับเซลมะเร็งปอดและเซลมะเร็งเม็ดเลือดขาว และพบว่าสารชะมวงโอนมีในการต้านเซลมะเร็งได้ฤทธิ์ดี

รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์
อาจารย์และผู้อำนวยการสถานวิจัยยาสมุนไพร และเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม

     

อย่างไรก็ตาม การนำสารดังกล่าวไปใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง อาจจะต้องมีกระบวนการศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายขั้นตอน เช่น ศึกษาการมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติหรือไม่ การเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์
โดยการเปลี่ยนแปลงสูตรโครงสร้าง เพื่อการรักษาที่ได้ผลมากขึ้นหรือเพื่อลดอาการข้างเคียงในการ
ใช้ยาผล 

จากความสำเร็จในการค้นคว้าครั้งนี้ คือ การได้โครงสร้างใหม่ของสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง เพื่อจะได้มีการดัดแปลงพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งที่ออกฤทธิ์ดีขึ้น และลดอาการข้างเคียงต่อเซลล์ปกติ และพบว่า 
การที่สังคมไทยใช้ ใบชะมวง มาประกอบอาหารแสดงให้เห็นว่าเป็นพืชที่ปลอดภัย และอาจจะมีส่วนในการช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารและมะเร็งได้ในระดับ หนึ่ง ส่วนการที่คนไทยรู้จักนำใบชะมวงมาต้มกับหมูนับเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ดี เลิศ เพราะพบว่าสารชะมวงโอนสามารถละลายในไขมันได้ดีกว่าละลายในน้ำธรรมดา 

แต่ในปัจจุบันคนไทยยังเข้าใจผิดคิดว่าการใช้สมุนไพรไม่มีอันตราย สมุนไพรบางตัวมีสารที่ทั้งให้ประโยชน์และสารที่ให้โทษต่อร่างกาย แม้แต่สมุนไพรที่ใช้เป็นพืชอาหารบางชนิดก็ตามถ้าใช้ไม่ถูกต้อง การใช้ผิดวัตถุประสงค์ ผิดวิธี ผิดขนาด อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้โดยเฉพาะอันตรายต่อ ตับและไต จากการที่ตับและไตต้องทำงานหนัก เพราะการกินสมุนไพรเข้าไปร่างกาย ร่างกายต้องกำจัดสารส่วนเกินความจำเป็นออกจากร่างกาย ผู้ป่วยบางคนใช้ทั้งยาแผนปัจจุบันควบคู่ไปกับการใช้สมุนไพรด้วย ดังนั้น ต้องมีการสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้กับประชาชนมากขึ้น 
 ผู้อำนวยการสถานวิจัยยาสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม กล่าว


ทุกวันนี้ เภสัชกรทุกคนจะต้องรู้จักใช้ยาสมุนไพร เพราะการพัฒนายาแผนปัจจุบันมักเริ่มต้นมาจากสมุนไพรซึ่งเป็นยาที่อยู่ใน ธรรมชาติก่อน แล้วจึงค่อยดัดแปลงโครงสร้าง การเรียนการสอนระดับปริญญาตรีในอดีต จะสอนตามตำรา ที่เขียนโดยนักวิชาการต่างชาติ ที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมต่าง
จากประเทศไทย และต้องนำมาปรับใช้  แต่เมื่อนักวิชาการไทยมีประสบการณ์จากการวิจัยขึ้น 

 

 เราสามารถนำองค์ความรู้จากการค้นคว้าวิจัยมาสอนนักศึกษาได้ ซึ่งจะเป็นความรู้จริงที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยอาจารย์ที่ทำวิจัยและมีประสบการณ์จากงานวิจัยและสามารถนำความรู้ที่ได้มา ถ่ายทอดให้นักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โทและเอก โดยเฉพาะกับนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก 
ซึ่งมีการทำวิจัยในเชิงลึก ทำให้สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้อีก
     

     


 

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น