สมุนไพรไทย นั้นดีเหลือหลาย
อย่างที่เราทราบกันดีว่า สมุนไพรไทยนั้นมีการใช้มาแต่โบราณกาล ทั้งที่ปลูกกันริมรั้ว ทั้งที่อยู่แต่ในป่าซึ่งก็มีหมอสมุนไพร เท่านั้นที่รู้จักชนิด สมุนไพรได้อย่างถ่องแท้ เพราะว่าต้องรู้จักในการใช้สมุนไพรแต่ละชนิดว่าต้องใช้ส่วนใหนของสมุนไพร เช่น หัว ใบ ราก ดอก ลำต้นหรือทั้ง ห้า คือตั้งแต่รากจนถึงต้น
ซึ่งมีสรรพคุณแตกต่างกันไปตามชนิดนั้นๆ จนปัจจุบันก็มีการแพทย์ทางเลือกและ มีโรงพยาบาล
อภัยภูเบศร ซึ่งศึกษาพืชสมุนไพร และนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย จนกลายมาเป็น เครื่องสำอางค์
ในชื่อ เวชสำอางค์ และได้อธิบายหลักของสมุนไพรไทยและสรรพคุณไว้อย่างน่าสนใจว่า
สมุนไพรมีสีต่างๆ และแต่ละสี ก็มีสรรพคุณแตกต่างกันไปตามสีนั้นๆ เช่น
- สี เหลือง หมายถึง สีแห่งสติปัญญา ความเบิกบาน ร่าเริง มีชีวิตชีวา แจ่มใส ความคิดสร้างสรรค์ การมองโลกในแง่ดี สรรพคุณของสมุนไพรสีเหลืองส่วนใหญ่มีฤทธิ์ช่วยในการขับลม ช่วยให้น้ำดีในลำไส้ทำงานได้ดี เช่น ขมิ้นชัน ดอกดาวเรือง ฝักทอง
- สีเขียว หมายถึง สีแห่งการพัฒนาและสื่อถึงความสงบ เยือกเย็น ผ่อนคลาย สรรพคุณของสมุนไพรสีเขียวนั้นมีฤทธิ์เย็น ช่วยผ่อนคลาย สร้างสมดุล ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด เช่น ย่านาง ใบเตย บัวบก
- สีแดง หมายถึง สีแห่งอำนาจ แสดงถึงพลัง การกระตุ้นระบบประสาทได้อย่างรุนแรงที่สุด ให้ความรู้สึกเร้าใจ ตืื่่นเต้น ท้าทาย มีควมเชื่อมโยงกับสุขภาพอย่างชัดเจน เช่น มะเขือเทศ กระเจี๊ยบแดง แตงโม มีสรรพคุณ บำรุงร่างกาย และปรับสมดุลธาตุไฟ นอกจากนี้ ผักและผลไม้สีแดง ยังเป็นแหล่ง วิตามินบี 12 ทองแดง เหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารช่วยบำรุงระบบประสาท ตรงกับพลังของสีแดงที่ช่วยกระตุ้นพลังชีวิตให้เข้มแข็ง มีความกระตือรือร้น ทำให้มีชีวิตชีวาขึ้น
- สีขาว หมายถึง สีแห่งความบริสุทธิ์ สะอาด ช่วยให้ร่างกายสะอาด ขับปัสสาวะ ขับของเสียออกจากร่างกาย เป็นยาบำรุงปอด ฟอกเลือด เช่น หญ้าดอกขาว บานไม่รู้โรยสีขาว
- สีม่วง หมายถึง สีแห่งจิตวิญญาณการหยั่งรู้ สื่อถึงความคิดสร้างสรรค์ มีจิตนาการ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ มีความคิดและการมองเห็นกว้างไกล พัฒนาการเรียนรู้เร็ว มรรพคุณของสมุนไพรสีม่วงช่วยในการเพิ่มการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดฝอย เพิ่มความจำ ช่วยในการบำรุงสายตา เช่น ดอกอัญชัน องุ่นแดง มะเขีือเทศม่าง มันต่อเผือก ลูกหม่อน
เมื่อสมุนไพรดีต่อสุขภาพเราแล้วนอกจากทำเป็นอาหาร หรือเป็นผัก ผลไม้แล้วเรายังทำเป็นเครื่องดื่มได้อีกด้วย เช่นน้ำสมุนไพรต่าง เช่นน้ำอัญชัน น่้ำกระเจี๊ยบ น้ำฝักทอง น้ำแตงโม น้ำใบเตย หรือจะทำชาดื่ม
ชาอัญชัน โดยการล้างดอกอัญชันให้สะอาด นำไปตากแดดให้แห้งแล้วนำมาอบให้แห้งหรือคั่ว เก็บใส่ขวดปิดฝาให้สนิท
เวลาจะทำ ก็นำดอกอัญชัน ประมาณ 45 ดอก หรือ 1 หยิบมือใส่แก้วน้ำ
เติมน้ำร้อน ทิ้งไว้ให้ประมาณ 15-20 นาที ก็ดื่มได้
อัญชัน มีารแอนโทไซยานิท เพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดเล็กที่ไป บำรุงรากผม และตา มีสารต้านอนุมูลอิสระ บรรเทาอาการผมร่วงได้
ชาใบเตย โดยการล้างใบเตยให้สะอาด นำมาหั่นให้ละเอียด นำไปตากแห้ง แล้วนำมาอบให้แห้งหรือคั่ว เก็บใส่ขวดปิดฝาให้สนิท เวลาจะทำ ก็หยิบชามาประมาณ 1 หยิบมือ ใส่แก้ว เติมน้ำร้อน ทิ้งไว้ให้ประมาณ 15-20 นาที ก็ดื่มได้
ใบเตย ช่วยบำรุงหัวใจ เหมาะกับผู้ที่หัวใจไม่แข็งแรง ช่วยแก้ร้อนใน
กระหายน้ำ ดับพิษ ชูกำลัง
ชาดอกบานไม่รู้โรย
โดยการล้างดอกบานไม่รู้โรยให้สะอาด
นำไปตากแห้ง แล้วนำมาอบให้แห้งหรือคั่วเก็บใส่ขวดปิดฝาให้สนิท เวลาจะทำ ก็หยิบชามา12 ดอก ใส่แก้ว เติมน้ำร้อน ทิ้งไว้ให้ประมาณ 15-20 นาที ก็ดื่มได้
ดอกบานไม่รู้โรย ช่วยบำรุงตับ แก้อาการเจ็บตา แก้ไป ระงับอาการหอบหือ ขับปัสสาวะ แก้ปวดศรีษะ บิด ไอกรน แผลผื่นคัน
ชาดอกดาวเรือง
โดยการล้างดอกดาวเรืองให้สะอาด
นำไปตากแห้ง แล้วนำมาอบให้แห้งหรือคั่ว
เก็บใส่ขวดปิดฝาให้สนิท เวลาจะทำ ก็หยิบชามา12 ดอก หรือ 1 หยิบมือใส่แก้ว เติมน้ำร้อน
ทิ้งไว้ให้ประมาณ 15-20 นาที ก็ดื่มได้
ดอกดาวเรือง ช่วยบำรุงสายตาได้ดี ฟอกเลือด ละลายเสมหะ ขับลม ขับร้อน แก้ไอหวัด ไอกรน เต้านมอักเสบ คางทูม แก้เวียนศรีษะ
ชากระเจี๊ยบ
โดยการล้างดอกกระเจี๊ยบให้สะอาด นำไปตากแห้ง
แล้วนำมาอบให้แห้งหรือคั่ว เก็บใส่ขวดปิดฝาให้สนิท
เวลาจะทำ ก็หยิบชามา5-10 ดอก เติมน้ำร้อน
ทิ้งไว้ให้ประมาณ 15-20 นาทีก็ดื่มได้
น้ำกระเจี๊ยบ นำดอกกระเจี๊ยบต้มกับน้ำเปล่าจนได้สีแดง ยกลง
เติมน้ำตาล เล็กน้อย เกลือนิดหน่อย ก็ได้น่้ำกระเจี๊ยบแล้ว หรือจะให้กระเจี๊ยบเย็นเจี๊ยบ ก็เติมน้ำแข็งลงไป เย็นชื่นใจ
กระเจี๊ยบ
ชาขมิ้น นำขมิ้นชันสด 45 กรัม ผสมกับชะเอม 30 กรัม
ต้มในน้ำร้อนประมาณ 5-6 ลิตร กินได้ทั้งครอบครัว
ขมิ้น ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ชะลอความแก่ ทำลายเชื้อไวรัสได้ มีประโยชน์ต่อโรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจ และหลอดเลือด
มีสมุนไพรอีกตัวที่ดีมากๆ สำหรับล้างพิษ คือ
รางจืด เป็นสุดยอดสมุนไพรล้างพิษ ไม่ว่าจะเป็น พิษยาเบื่อ พิษยาสั่ง พิษยาฆ่าแมลง พืชพิษ เห็ดพิษ รวมไปถึงโรคพิิษสุรา พิษงู ยาเสพติด พิษตะขาบ แมงป่อง
มีการวิจัยว่า รางจือ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านไวรัสโรคเริม
มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ถ้าไม่รู้เรื่องสมุนไพรให้ หรือใช่สมุนไพรอย่างไร สอบถามข้อมูลได้ที่ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้
ขอบคุณข้อมูลจากนิตยสาร ลิปส์ เรียบเรียงโดยบ้านบิวเบสท์
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น