สมองเสื่อม โรคใกล้ตัว
โรคสมองเสื่อมเดี๋ยวนี้คนสูงอายุเป็นกันมาก เป็นโรคที่ไม่ควรมองข้าม เพราะต่อไปจะมีเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่นพ่อหรือแม่ของดารา ที่ออกข่าวให้เห็นบ่อยๆก็มี เช่น แพท ณปภา ตันตระกูล ที่ต้องดูแลแม่ที่เป็นโรคสมองเสื่อม บางครั้งจำอะไรไม่ได้ แม้แต่ลูกตัวเอง หรือคนในครอบครัว
ภาพจากอินเตอร์เน็ต |
ซึ่งคุณป้าของผู้เขียน ก็เป็นเช่นกัน บางวันแกนั่งมองเฉยๆ ถามไปก็ไม่พูด ถามไปสิบคำ กว่าจะพูดออกมาสักคำก็นาน จากที่เป็นคนทำกับข้าวเก่ง แกก็บอกว่าทำไม่ได้ไม่รู้จะใส่อะไรไปมั่ง
ใส่ก่อนใส่หลัง เรียงลำดับไม่ถูก จนญาติๆ สงสัยว่าแกเป็นอะไร ก็เลยบอกแม่ให้พาไปหาหมอ เนื่องจากคุณป้าไม่แต่งงานเป็นโสด เลยให้มาอยู่กับแม่ผู้เขียน เพราะแกเลี้ยงแม่มาเมื่อตอนเป็นเด็ก เลยสนิทกับแม่ผู้เขียนมาก เมื่อไปหาหมอ ก็ได้โรคนี้มา แม่ผู้เขียนเลยต้องรับงานหนักกว่าใคร ดูแล เอาใจใส่ผู้เขียน ก็ไปถามไถ่ พูดคุยกับท่านอยู่เรื่อยๆ สงสารท่านและสงสารแม่ตัวเองด้วย ที่มีภาระเยอะกว่าใคร
วิธีดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่่อม
รองศาสตร์จารย์ นายแพทย์วีรศักดิ์ เมืองไพศาล ภาควิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุและประสาทแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงการดูแลเอาไว้ดังนี้
1. ควรทำความเข้าใจกับอาการโรคสมองเสื่อมให้ดี โดยการ อ่านหนังสือ บทความ ข้อมูลทางวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต หรือปรึกษาแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วย จะช่วยให้รับมือกับโรคนี้ได้
2. อธิบายให้ผู้ป่วยรู้เรื่องที่สุขภาพที่เปลื่ียนไปของตัวเอง กรณีที่เป็นไม่มากนัก ยังพอรับรู้ข้อมูลได้
3. ควรแก้ไขอารมณ์ พฤติกรรมที่เป็นปัญหามากที่สุดของผู้ป่วยก่อน เนื่องจากโรคนี้มักมีปัญหาหลายๆอย่างพร้อมกัน ให้แก้ปัญหาที่สำคัญสุดก่อน
4. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและให้รู้สึกมีส่วนร่วมกับครอบครัว
แต่ไม่กระตุ้นจนเกินไป
5. ควรใช้สัญชาตญาณและจิตนาการในการดูแลผู้ป่วย อย่ายึดติด กับความถูกต้องทั้งหมด
6. จัดรูปแบบการดูแลที่สม่ำเสมอ ไม่เปลื่ียนไปมา และกำหนดเวลาในการทำกิจวัตรที่แน่นอน เช่น
กิน นอน อาบน้ำ ออกกำลังกาย เข้านอน
7. ควรสื่อสารกับผู้ป่วยเป็นประจำ บอกกับเขาว่าเรากำลังทำอะไร บอกทีละขั้นตอน เช่นอาบน้ำ
ทำอย่างไร
8. หลีกเลื่่ยงการวิพากษ์วิจารย์ผู้ป่วยต่อหน้า และเตือนให้ไม่ทำอย่างนั้นอีก
9. หาสร้อยหรือกำไลข้อมือ มีข้อความระบุว่ามีปัญหาด้านความทรงจำ ป้องกันการพลัดหลงจากบ้าน
10. ผู้ดูแลต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่้อจากการที่ต้องดูแลผู้ป่วยเป็นเวลานาน ทำให้อ่อนล้าได้ ความเครียด ทำให้ความอดทน ลดลงได้ หรือหงุดหงิดง่าย
11. ผู้ดูแลต้องทำจิตใจให้สดใส มีอารมณ์สดชื่น สนุกสนาน เนื่องจากคนป่วยต้องการความสนุก
เช่นคนทั่วไป ผู้ดูแลต้องอารมณ์ดี จะส่งผลดีต่อผู้ป่วย เช่นกัน
ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องเข้าใจทั้งคนป่วยและคนดูแล เพราะอาจมีภาวะทางอารมณ์ ได้เช่นกัน
ข้อมูลจากนิตยสารชีวจิต เรียบเรียงโดยบ้านบิว เบสท์
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น