วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เรื่องหนังตะลุง 

 
 หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงที่มีเพียงฉากผ้าขาว กับแสง และเงา จากดวงไฟและรูปหนังที่ได้แกะจากหนังวัว แล้ว นำมาตกแต่ง พ่นสี เสียบไม้ เสริมเชือก ไว้ชัก และหยวกกล้วยไว้ปักตัวรูปหนังเหล่านั้น
หนังตะลุง เป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน ในยุคสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้กัน 

ฤาษีและตัวตลกของหนังตะลุง ตัวละครคู่ตรงข้ามที่ถูกจับไห้อยู่ด้วยกันในจอ ฤาษีเป็นแหล่งสร้างและอ้างอิงความรู้ของชาวบ้าน ส่วนตัวตลกเป็นผู้ทำลายระเบียบกฎเกณฑ์ ต่างๆ และสร้างความตาลปัตรให้กับเจ้านายบ่อยครั้ง พร้อมกับการกล่าวคำตลกออกมาสร้างความสำราญให้ผู้คน ตามความคิดของนายหนัง


หนังตะลุง แสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญ
จะมีหนังตะลุง มาแสดงให้ชมด้วยเสมอ เป็นการสร้างความครื้นเครงให้กับคนในงาน เป็นแหล่งรวมผู้คนให้มาอยู่รวมกันอย่างมีความสุข ด้วยการหัวเราะ ขำขัน จากการแสดงของตัวตลก เช่นนายเท่ง นายหนูนุ้ย นายทอง นายแก้ว นายหมี นายโถ บังสม้อ นายพูน และอีกหลากหลายตัวตามยุค สมัยแต่ยังคงมี ชื่อตัวตลกเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ ของหนังตะลุงภาคใต้  และมีรูปฤาษี เป็นตัวเปิดเรื่องของหนังทุกคณะ

 



หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นของภาคใต้ นอกจากโนราห์ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" 
มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด

 **ข้อมูลบางส่วนจากวีกิพีเดีย**รูปบางรูปจากอินเตอร์เน็๋ต**

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น