ลูกเนียงหมาน
และ ลูกนาง นิยมบริโภคกันมากทั้งหมด ส่วนลูกเนียงดาน ช่อหนึ่งมี 10-12 เมล็ด
ลูกเนียงข้าวจะลูกเล็กกว่า คนใต้นิยมรับประทาน ลูกเนียงอ่อน ปอกเปลือกจิ้มน้ำพริก
หรือรับประทานร่วมกับอาหารรสเผ็ดจัดจ้าน เช่น แกงส้ม แกงกะทิ ขนมจีน หรือจะนำมาแกงก็ได้
ลูกเนียงแก่นำไปเพาะในกระบะทรายให้มีรากอ่อนเรียกว่า ลูกเนียงหมาน
บ้านฉัน เรียกว่าลูกเนียงหมาน แต่กว่าจะมาเป็นลูกเนียงหมาน ต้องให้ลูกเนียงที่แก่ได้ขนาดพอดี
คือไม่อ่อน จนเกินไป ถ้าอ่อนเกินไปจะทำให้ ลูกเนียงเน่าได้
กว่าจะมาเป็น ลูกเนียง ให้ได้เพาะกันต้อง รอให้ถึงฤดูที่ลูกเนียง ลูกนาง และสะตอ เป็นฤดูที่ออกดอกพร้อมๆกัน และเป็นได้เพียงปีละครั้ง ในช่วงฤดูที่เป็นสามารถออกดอก ตอนเข้าพรรษาและเป็นอยู่จนหมดช่วงออกพรรษา หลังจากนั้นก็ เป็นการถนอมลูกเนียงไว้กินต่อไปโดยการ หมานลูกเนียง
ไว้กินได้นานๆ
มารู้จัก ต้นลูกเนียงกัน
ดอกเริ่มเป็นตุ่มตา
จนบานสะพรั่ง
จนเริ่มเป็นพุ่มเป็นพวง เริ่มมีตุ่มตรงกลาง คือเนื้อลูกเนียง
เวลาผ่านไป ก็เริ่มมีเนื้อนิดหน่อย นูนๆ ขึ้นมาจากเปลือก และเปลือกเป็นสีน้ำตาลดำๆ
เมื่อเวลาผ่านไป ลูกเนียงประมาณนี้ก็กินได้แล้ว เป็นลูกเนียงอ่อน บางคนชอบกิน บางคนไม่ชอบ
ก็แล้วแต่ความพอใจ (ลูกเนียงอ่อนต้องกินทั้งเปลือกด้านใน) จะไม่ทำให้ท้องเสีย
ลูกเนียงเริ่มแก่
เมื่อแก่ดีแล้วก็ สอยลงมาจากต้น
มาเริ่มต้นการ เพาะลูกเนียงหมานกัน
นำลูกเนียง แกะออกจากพวง แล้วแกะเปลือกนอกออก เหลือแต่เม็ดข้างใน
ถ้าลูกเนียงแก่ดี เนื้อเม็ดจะตึงแข็ง สังเกตุได้ว่าแก่หรืออ่อน ก็ให้ใช้เล็บกดลงไปดู
แกะเปลือกออกให้หมด แล้วนำมารวมกัน
เพาะได้ทั้งทรายและดิน เตรียมทรายใส่ถัง หรือ อะไรก็ได้ ตามสะดวก
นำลกเนียงมาเทใส่รวมกัน
แล้วฝังกลบ ให้มิดลูกเนียง หลังจากนั้นให้รดน้ำบ้าง เพื่อให้ลูกเนียงไม่เหนียวและกรอบ
รอจนลูกเนียงที่เพาะ เริ่มแตกและงอกหน่อออกมา ก็ขุดมารับประทานได้แล้ว
ล้างทรายออกให้หมด รับประทานได้
ถ้าเพาะนานเกินไป ลูกเนียงจะมีสีเขียว และจะมีแมลงมาไช ที่บ้านเรียกว่า เป็นหร้า เป็นจุดดำๆ
กลิ่นจะหอมมาก แบบกินแล้วต้องรีบแปรงฟันโดยด่วน
นิยมขายกันเป็น ถาดๆ ประมาณ 5 ลูก 20 บาท
เวลาจะรับประทาน ก็นำมาหั่นเป็นชิ้นๆ สะดวกต่อการกิน
ลูกนาง ผิวจะมัน และกินออกมันกว่าลูกเนียง ลูกจะเล็กกว่าด้วย กินสดก็อร่อย
ผิวลูกนางหมาน จะเรียบ มันวาว กว่าลูกเนียง
ลูกเนียงนก นิยมกินสดๆ รสชาด หวาน มัน กรอบๆ
แม้ค้าจะขาย ถาดละ 20 บาทเช่นกัน ยังไม่เพาะ
ฝักลูกนาง
ภาพจากอินเตอร์เน็ต |
เพาะทั้งฝักก็ได้ หรือจะเพาะ แต่เม็ดก็ได้ เช่นกัน
++++++++++++++++++++++++++++
ลูกเนียงอ่อน และ แก่กำลังดี
ลูกเนียงดาน เมล็ดจะติดกัน แก่กำลังพอดีหรือพอสู้เล็บ ภาษาใต้ คือใช้เล็บกดลงในเนื้อได้
เปลือกนอกจะหนากว่าเนียงข้าว
ลูกเนียงข้าว ผิวเกลียง มีการเว้นระยะ ของลูกเนียง ผลจะกลม เม็ดแก่ขนาดพอกิน
ลูกเนียงข้าว เปลือกจะบางกว่า
ลูกเนียงดาน ผิวจะหยาบ และด้านกว่าลูกเนียงข้าว (ผลยังอ่อน)
ขนาดและสีผิวที่แตกต่างกัน ของลูกเนียง
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น