โรคหลอดเลือดสมอง
ไปเยื่ยมพ่อสามีเมื่อคืน ถามใถ่สาระทุกข์ สุกดิบแล้ว รู้สึกว่า แกพูดไม่ค่อยชัด ลิ้นแข็งๆ ฟังไม่รู้เรื่อง
เวลาพูด รู้สึกว่าพูดอยู่แต่ในปาก ถามแกว่าเจ็บคอมั๊ย แกบอกว่าไม่เจ็บ แค่คอแห้งๆ กินไม่ได้ ก็เลย
ไม่มีแรง น่าสงสารจริงๆ ถามแกว่าอยากกินอะไรมั๊ย แกบอกกินไม่ได้ จะเอาน้ำผึ้งให้กิน แกก็ไม่กินบอกกลืนไม่ลง น้ำเกลือก็ให้ไม่ได้หมอกลัวน้ำท่วมปอด บางครั้งเพ้อเห็นโน้น เห็นนี่ ได้ยินเสียงอะไรต่างๆนาๆ และบางครั้งก็ เวียนหัว ขนาดนั่งก็ต้องมีคนคอยจับไว้ ไม่งั้นลมตึง อีกอย่างพ่อก็เป็นโรคหัวใจโต
อยู่ด้วยนอนโรงพยาบาลมา 2 อาทิตย์แล้วยังกลับไม่ได้
พอฉันกลับมาก็ถามเพื่อนซึ่งเป็นน้องสาวคุณหมอ เพื่อนก็บอกว่าสงสัยว่าจะแพ้ยาหรือเปล่าตัวเขาเองก็เคยเป็น ตอนแพ้ยาแก้โรคเลือด แต่ต้องลองถามหมอดู ว่าเพราะอะไรกันแน่ ก็เลยมาหาข้อมูลจาก หลายๆที่ ทั้งกูเกิลล์ ทั้งหนังสืออ่านๆดู หรือจะเป็นเพราะโรคนี้หรือเปล่า
โรคหลอดเลือดสมอง ว่าแล้วก็ไปดูกันว่าจะมีอาการอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้สังเกตุอาการกัน
ข้อมูลจากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง
โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักจะมีอาการเป็นขึ้นอย่างรวดเร็วทันทีทันใดมีน้อยรายที่จะมีอาการเตือน มักจะมีประวัติว่าสบายดีมาก่อน อยู่ดีๆก็มีอาการชาหรืออ่อนแรง
ครึ่งซีก ปากเบี้ยวพูดไม่ชัด อาการของโรคหลอดเลือดสมองที่ทราบและรู้จักกันดีคืออาการอัมพาต
ครึ่งซีก หรือ ชาครึ่งซีก เนื่องจากตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าสมองแต่ละซีกทำหน้าที่คุมร่างกายซีก ตรงข้ามแต่อาการพิการเฉพาะที่อื่น ๆ ที่เกิดจากสมองก็เป็นได้แทบทุกอย่าง เช่น มองไม่เห็นครึ่งซีก
พูดไม่ชัดกลืนไม่ได้ ไม่รู้ตัว ฯลฯ อาการที่สำคัญได้แก่
1. อ่อนแรงครึ่งซีก มีอาการแขนขาอ่อนแรง ยกไม่ถนัดเดินลำบาก อาจมีปากเบี้ยวร่วมด้วย
อาการอ่อนแรงนี้ถ้าเป็นน้อยอาจเรียกว่าอัมพฤกษ์ ถ้าเป็นมากจนขยับไม่ได้เลยเรียกว่าอัมพาต
2. ชาครึ่งซีก อาจพบร่วมกับอาการอ่อนแรง หรือไม่ก็ได้ ชาในที่นี้หมายถึงการเสียความรู้สึกเจ็บ สัมผัส เมื่อหยิกหรือจับบริเวณที่ผิดปกติจะรู้สึกน้อยลงหรือถ้าเป็นมากอาจไม่รู้สึก เลย
3. ลิ้นแข็งพูดไม่ชัด เกิดอาการทำงานของกล้ามเนื้อลิ้นและปากผิดปกติ
สืบเนื่องมาจากโรคในสมอง
4. พูดลำบาก พูดตะกุกตะกักหรือฟังภาษาพูดไม่เข้าใจ เกิดจากโรคที่สมองซีกซ้าย
ซึ่งเป็นสมองข้างเด่นควบคุมเกี่ยวกับภาษา
5. คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ โดยทั่วไปอาการเหล่านี้มักจะเกิดจากโรคหูส่วนใน
แต่ก็มีบางครั้งที่เกิดจากโรคหลอดเลือดจากบริเวณก้านสมอง
6. อาการเห็นภาพซ้อนเป็น 2 ภาพ มักจะเกิดจากโรคบริเวณก้านสมอง
7. เดินเซ ทรงตัวไม่อยู่ อาจร่วมกับอาการอ่อนแรงหรือไม่ก็ได้ เกิดจากโรคบริเวณ
สมองน้อยหรือก้านสมอง
8. หมดสติทันที มักจะเกิดจากสมองเสียการทำงานไปมากโดยเฉพาะบริเวณก้านสมอง
หรือเกิดจากหลอดเลือดสมองแตกที่รุนแรง
ในกรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก
ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศีรษะและคลื่นไส้อาเจียนมากร่วมกับอาการอ่อนแรง ในบางรายอาจ
ถึงกับหมดสติ ความรุนแรงของอาการของโรคหลอดเลือดสมองขี้นกับตำแหน่งของสมองที่
เกิดโรคและ ปริมาณของสมองที่ถูกทำลายไป ถ้าโรคเป็นน้อยและได้รับการรักษาทันท่วงที
ผู้ป่วยก็อาจหายได้เอง ในเวลาเป็นนาที หรือเป็นวัน ถ้าเป็นมากและรุนแรงผู้ป่วยก็อาจเสียชีวิต
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักจะมีความพิการเกิดขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดความพิการ
พอช่วยตัวเองได้ บางรายอาจช่วยตัวเอง ไม่ได้ต้องมีคนพยาบาลตลอดเวลา
หรือบางรายอาจไม่รู้สึกตัวไปเลยก็ได้
ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะได้รับการวินิจฉัยและการตรวจเพิ่มเติม
อย่างไรบ้าง
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ การตรวจพิเศษ
อื่นๆได้แก่
1. การทำ CT Scan หรือเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองจะช่วยให้การวินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้น
สามารถทำได้รวดเร็ว มักจะทำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันทุกราย
2. การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) จะตรวจ
ได้ชัดเจนแม่นยำกว่าเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่กินเวลานานกว่าและราคาสูงกว่ามาก
จึงมักใช้ในรายที่จำเป็น
3. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound) ใช้ตรวจหลอดเลือด
โดยเฉพาะหลอดเลือดใหญ่บริเวณคอได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่นิยมใช้ในการตรวจหา
โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันบริเวณนี้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ตรวจ
หลอดเลือดสมองได้ด้วย
4. การตรวจหัวใจ รวมถึงการตรวจคลื่นหัวใจ และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ใช้ในกรณีที่สงสัยว่าอาจจะมีโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุ
5. การตรวจอื่นๆ เช่นการตรวจเลือดเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและการตรวจภาพรังสีปอด
6. การตรวจด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือด (Angiogram) ทำได้โดยการผ่านสายสวน
เข้าไปในหลอดเลือดและฉีดสีเพื่อดูหลอดเลือด เป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก
ใช้เฉพาะบางกรณีที่มีความจำเป็น เช่นตรวจหาหลอดเลือดโป่งพองในสมองเป็นต้น
7. การตรวจเลือดเพื่อค้นหาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อดูโรคเบาหวาน การตรวจไขมันในเลือด
การตรวจนับเม็ดเลือด เป็นต้น
เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองเมื่อเกิดขึ้นแล้วถ้าแม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการดีขึ้นแต่ก็
อาจไม่หายเป็นปกติ บางคนที่โชคร้ายอาจมีความพิการตลอดไป ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่ง
ที่จำเป็น การป้องกันทำได้โดยการค้นหาปัจจัยเสี่ยงและควบคุมรักษาปัจจัยเสี่ยงนั้น อย่างดี
ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า และโรคหัวใจบางชนิด
ดังนั้นในผู้ใหญ่ที่ไม่เคยมีโรคมาก่อนจึงควรตรวจสุขภาพ วัดความดันโลหิต และตรวจเลือด
เป็นประจำ ทุกปี และควรงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาดสำหรับผู้ที่มีโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ก็ควรดูแล
ตัวเอง รับประทานยาและปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ในผู้ที่เคยมีอาการเตือนของ โรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ที่เคยมีอาการแล้ว ถ้าเป็นชนิดหลอด
เลือดสมองตีบตัน ควรรับประทานยาป้องกันเช่นยาในกลุ่ม Aspirin
หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
ในปัจจุบันมีแนวทางการรักษาใหม่ๆ ที่อาจช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว และลดการเกิด
ความพิการได้อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ที่มีอาการจะต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน
เนื่องจากถ้ามาพบแพทย์เร็วภายใน 3-6 ชั่วโมง ก็จะมีโอกาสที่จะได้รับการรักษาที่ได้ผลดี
ดังนั้นถ้ามีอาการต่างๆ ที่สงสัยว่าจะเกิดจากโรคหลอดเลือดสมองจึงไม่ควรรอช้าควรรีบไปหา
แพทย์โดยเร็ว เป็นที่น่าเสียดายที่คนไข้ส่วนใหญ่มักจะรอดูอาการอยู่ที่บ้าน บีบนวดอยู่ 2-3 วัน
จนเห็นว่าไม่ดีขึ้นแล้วจึงมาโรงพยาบาล ซึ่งทำให้การรักษาได้ผลไม่ดีเท่าผู้ที่มารับการรักษา
ตั้งแต่เริ่มแรก
สำหรับแนวทางการรักษา ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง ถ้าเป็นโรคหลอดเลือด
สมองแตก ก็อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเอาก้อนเลือดออกในบางกรณีที่ทำได้ ถ้าเป็นโรคหลอด
เลือดสมองตีบหรือตัน การรักษาก็มีได้หลายแนวทางขึ้นกับตำแหน่งของโรคและระยะเวลา
ก่อนที่จะมาพบ แพทย์
ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นยาใหม่ๆหลายชนิด โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วย
อาการ ดีขึ้นได้ แต่มีข้อจำกัดคือผู้ป่วยจะต้องได้รับยา ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ
และจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อน
ได้อย่างทันท่วงที ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดอาจใช้ฉีดให้ผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะผู้ที่มีโรค
หัวใจร่วมด้วย หรืออาจใช้ยาต้านเกร็ดเลือด
นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยการทำกายภาพบำบัดและอาชีวะบำบัด เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยฟื้นฟู
สุขภาพและความพิการของผู้ป่วย ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นและสามารถทำ
ให้ผู้ป่วย ช่วยตัว เองได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการป้องกัน
การเกิดซ้ำเนื่องจากผู้ที่ เคยมีอาการแล้วมีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคซ้ำอีก
การป้องกันที่ดีที่สุดคือการระวังรักษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่นการควบคุมความดันโลหิต
ให้เหมาะสม ควบคุมน้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือด ในผู้ที่มีหลอดเลือดสมองตีบอาจ
ใช้ยาต้านเกร็ดเลือด เช่นยาในกลุ่ม Aspirin หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน
ในบางกรณีเช่นในผู้ป่วยที่มีการตีบตันของหลอดเลือดบริเวณคอ อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด
หลอดเลือดส่วนที่ตีบอุดตัน
ส่วนนี่ก็เป็นข้อมูลของแฟนเพื่อน
ประมาณกลางเดือน แฟนผมมีอาการลิ้นแข็งพูดไม่ได้คือบังคับลิ้นไม่ได้ไม่กี่นาที ระยะแรกจะเป็น
ช่วงตื่นนอนเช้าและช่วงเช้าเป็นส่วนใหญ่ จนมา เลยนัดหมอ เพื่อปรึกษาอาการว่าเกิดจากอะไร
หมอบอกหลายอย่างเช่นอาจเกิดพังผืด หรือเป็นหวัดอักเสบ ...ซึ่งก็คงมาจากผลข้างเคียงของ
รังสี หมอก็ลองใช้โฮมีโอพาธีย์ ให้ยาน้ำตัวหนึ่งมาคือ H.PHOS.ทานก่อนทานต้องทุบขวด 10 ครั้ง
ช่วงแรกทานไปก็ไม่มีอาการลิ้นแข็ง แต่พอมาสัก2-3วันก็เป็นอีก อาการมันจะเป็นช่วงเช้าแต่ไม่ได้
เป็นทุกวัน แฟนผมเลยไปหาหมอแผนก หูคอ จมูก ตรวจ
เมื่อ23ก.ย. หมอคิดว่าอาจอักเสบที่ลิ้นเลยให้ยาแก้อักเสบมาทาน แต่ก็หายไปสัก3วัน
วันนี้ตอน10โมงเช้าเธอก็มีอาการอีก ผมเลยคิดว่าจะพาไปทำ MRI เพื่อตรวจดูว่าเกิดจากอะไร
ช่วงตื่นนอนเช้าและช่วงเช้าเป็นส่วนใหญ่ จนมา เลยนัดหมอ เพื่อปรึกษาอาการว่าเกิดจากอะไร
หมอบอกหลายอย่างเช่นอาจเกิดพังผืด หรือเป็นหวัดอักเสบ ...ซึ่งก็คงมาจากผลข้างเคียงของ
รังสี หมอก็ลองใช้โฮมีโอพาธีย์ ให้ยาน้ำตัวหนึ่งมาคือ H.PHOS.ทานก่อนทานต้องทุบขวด 10 ครั้ง
ช่วงแรกทานไปก็ไม่มีอาการลิ้นแข็ง แต่พอมาสัก2-3วันก็เป็นอีก อาการมันจะเป็นช่วงเช้าแต่ไม่ได้
เป็นทุกวัน แฟนผมเลยไปหาหมอแผนก หูคอ จมูก ตรวจ
เมื่อ23ก.ย. หมอคิดว่าอาจอักเสบที่ลิ้นเลยให้ยาแก้อักเสบมาทาน แต่ก็หายไปสัก3วัน
วันนี้ตอน10โมงเช้าเธอก็มีอาการอีก ผมเลยคิดว่าจะพาไปทำ MRI เพื่อตรวจดูว่าเกิดจากอะไร
เท่าที่ผมหาข้อมูลอาการลิ้นแข็งส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือสมองที่มาเลี้ยงตรงลิ้นมีปัญหาเป็น
อาการคล้ายพวก เส้นเลือดสมองตีบ อัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งอาการเธอคล้ายๆโรคนี้ คือ
อาการคล้ายพวก เส้นเลือดสมองตีบ อัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งอาการเธอคล้ายๆโรคนี้ คือ
ลิ้น แข็ง พูดไม่ชัด หรือสำลัก อาการเป็นค่อนข้างเร็ว กระทันหัน ภายในเวลาเป็นนาที หรืออาจ
เป็นหลังตื่นนอน โดยที่ก่อนเข้านอนยังปกติอยู่
เป็นหลังตื่นนอน โดยที่ก่อนเข้านอนยังปกติอยู่
แต่อาการอื่นไม่มีเช่น แขนขาอ่อนแรง หรือชาซีกใดซีกหนึ่ง (บางกรณีอาจเป็น ทั้ง2ซีก)
เวียนศีรษะมาก เดินเซ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน มองไม่เห็นซีกใดซีกหนึ่ง
ซึ่ง ผมคิดว่าน่าจะมาจากผลข้างเคียงในการฉายรังสี เมื่อ3ปีก่อน อยากปรึกษาหมอว่า แนวโน้มน่า
จะใช่หรือไม่ที่เส้นเลือดสมองตีบเพราะรังสี หรือว่าเป็นแค่พังผืดไม่ถึงกับเส้นเลือดสมองตีบ
รบกวนคุณหมอด้วยครับ และการรักษาโดยการฝั่งเข็มจะช่วยอาการนี้ได้มากน้อยแค่ไหน รวมทั้งกายภาพบำบัด
จะใช่หรือไม่ที่เส้นเลือดสมองตีบเพราะรังสี หรือว่าเป็นแค่พังผืดไม่ถึงกับเส้นเลือดสมองตีบ
รบกวนคุณหมอด้วยครับ และการรักษาโดยการฝั่งเข็มจะช่วยอาการนี้ได้มากน้อยแค่ไหน รวมทั้งกายภาพบำบัด
เรียบเรียงโดยบ้านบิวเบสท์
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น