วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิถีทำนาบ้านหัวตะพาน




ได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว ชอบมาก มนต์เพลงบ้านนา อีกอย่างเราก็อยู่บ้านนอกนะ ได้ยินเสียง
เพลงเกี่ยวกับท้องนารวงข้าวแล้วซึ้งกินใจดีจริง ซึ่งบอกถึงวิถีชีวิตของคนชนบทที่ทำนา
 แบบพอเพียงสวรรค์บ้านนา พาให้หลงใหล ชุ่มฉ่ำสดชื่น เริงรื่นหัวใจ ไม่ขอจากไกลบ้านนาเรา 
รวงข้าวสีทองอร่อมทั่วท้องทุงนา แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีการไถนาแบบเดิมกันสักเท่าไหร่ เพราะมีรถไถ
คันใหญ่ๆ มาไถแทน วัว ควาย และ รถไถแบบมือจับ ที่เรียกว่าควายเหล็ก แต่เป็นรถไถแบบนั่งขับเสียมากกว่า คนไถจะไม่ ค่อยเหนื่อยเหมือนเมื่อก่อน ทำงานได้มากกว่า และไม่ค่อยมีแบบช่วยเหลือพึ่งพากันเหมือนเมื่อก่อน (ที่บ้านเรียกว่า ซอ กัน ) คือ วันนี้มาช่วยเรา พรุ่งนี้เราไปช่วยคนอื่นๆ จนหมดกลุ่มที่มาช่วยเรา แต่จะเป็นการจ้างแทน เพราะเดี่ยวนี้ต้องต้องหาเงิน หาทอง เลี้ยงปากท้องมากกว่าเก่า


ว่าไปแล้วมีเพลงเกี่ยวกับชาวนา หรือสวรรค์บ้านนอก มีหลากหลายเพลงด้วยกันซึ่งเพราะเช่นกัน
เช่น  เพลงไก่นาตาฟาง ก๊อส จักรพันธ์  เพลงเขมรไล่ควาย สุรพล สมบัติเจริญ  
เพลงกระท่อมปลายนา ของศรเพชร ศรสุพรรณ


แต่เพราะดูหนังเรื่องนี้เลยชอบเพลงของเขาด้วย  มนต์เพลงบ้านนา – ไชยา มิตรชัย



ธรรมชาติบ้านดงพนา เหมือนดังว่าจิตรกรวาดไว้ ได้ยินเสียงเพลง เจื้อยแจ้วบรรเลง มนต์เพลงบ้านนา สุดแสนตราตึง ซาบซึ้งอุรา  นี่แหละสวรรค์บ้านนา พาให้หลงใหล ชุ่มฉ่ำสดชื่น 
เริงรื่นหัวใจ ไม่ขอจากไกลบ้านนาเราเอ๋ย

**********************************

ที่บ้านฉัน ทำนา 2 ครั้ง คือนาปรัง และ นาหยาม หรือนาปี
สำหรับชาวนา เมื่อถึงเดือนหก ฝนตกลงมา ชาวนาก็จะเริ่มฤดูการทำนา หว่านไถ ตามแต่ท้องถิ่น
ที่ทำการไถแปลงนาไว้ก่อน เพื่อจะได้หว่านต้นกล้า เมื่อกล้าได้ระยะการถอน คือประมาณ 1 เดือน
หรือ 1 เดือน 1/2  และเมื่อฝนเริ่มตกหนาแน่น คือเต็มท้องนา ก็จะทำการไถแปลแปลงนาไว้ก่อน
พร้อมแปลงต้นกล้า แล้วก็ไถดะ เป็นขั้นตอนต่อไป ไถคราด ทำเป็น เทือก (ตม) รอปักดำต้นกล้า
ที่ถอนไว้เรียบร้อยแล้ว จนเสร็จเรียบร้อย ที่บ้านทำนา ปรังโดยใช้ ข้าวหอมมะลิ


ขั้นตอนการทำนา

1.เตรียมต้นกล้า

เพื่อนำไปปักดำ โดยการหว่านกล้าต้องนำพันธุ์ข้าวที่จะหว่านมาเเช่น้ำก่อน 1 คืน
หลังจากนั้นนำไปหว่านจะงอกเป็นต้นกล้าภายใน 1 สัปดาห์ โดยต้นกล้าต้องหว่านไว้
ประมาณ 1 เดือนจึงจะถอนได้

นำเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างดี ตามจำนวนที่จะหว่าน ไร่/ถัง


นำข้าวเปลือกใส่กะละมัง หรือกระสอบ ก็แล้วแต่สะดวก เม็ดลีบก็จะลอยขึ้นมา 


จะต้องตักออก 


 เหลือแต่เมล็ดดีๆ ก็จะจมอยู่ด้านล่าง แช่เอาไว้ 1 คืน เพื่อให้เมล็ดข้าวอิ่มน้ำพร้อมงอก


นำขึ้นจากน้ำ แล้ววางไว้ในที่ชื้นๆ แง้มดูข้าวเริ่มงอก 

 

อีกวัน ก็เริ่มยาวมาอีกนิด ยังใช้ไม่ได้ รออีกนิส เพื่อความชัว


เมื่องอกได้ที่ก็ใช้มือ แกะส่วนของเมล็ดข้าวที่เกาะกันเป็นก้อนให้แยกจากกัน จนร่วงดี

                                             
 ก่อนจะนำไปหว่านในนาที่ทำเทือก (ตม) เอาไว้แล้ว

 
หลังจากนั้น ก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยแบ่งเป็นร่องๆ ไป


บางทีหว่านกันหลายๆ คน จึงทำเป็นร่อง ของใครของมัน พันธุ์ข้าวอาจจะไม่เหมือนกัน


การหว่านเมล็ดพันธุ์นี้ต้องใช้ความชำนาญกันสักหน่อย เพราะบางที่หว่านมากไป
ต้นกล้าจะแน่นเล็กลำต้นอ่อน ถ้าห่างไปก็ทำให้ได้ต้นกล้าไม่มากนักแต่ลำต้นจะใหญ่


แบบนี้ห่างไปนิด ต้นกล้าข้าวที่จะได้ลำต้นใหญ่ๆ ซึ่งบางครั้งทำให้กล้าข้าวไม่พอปักดำ


พอข้าวเริ่มงอกสีเขียวช่วงนี้ต้องดูแล น้ำให้ดี ไม่ให้ขาดน้ำถ้าขาดน้ำก็จะทำให้ต้นกล้าไม่สมบูรณ์


แต่ถ้าน้ำมาก จำทำให้ต้นกล้าหยั่งรากลงลึก ทำให้ยากเวลาถอน


 เมื่อกล้าข้าวครบตามกำหนดสัก 1 เดือนก็ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น รอที่จะถอนต้นกล้าไปปักดำ

2. ไถดะและไถแปร



การไถดะ คือการไถพลิกหน้าดินจนหมดทั้ง บิ้งนา (บิ้งคือนาทั้งผืน )แล้วหมักไว้ให้วัชพืชตาย 


รอไถแปรและไถคราดอีกที


ไถ และไถ ด้วยควายเหล็ก ที่พัฒนามาจากควายไทย



ไม่ใช่เท่าแต่ผู้ใหญ่ เด็กๆอย่างเราก็ทำได้ ส่วนคนที่เหลือก็หา กุ้ง ปู ปลาตามรอยไถ สวรรค์ของเด็กๆ


นี่แหละควายไทย พร้อมแอกที่คอและคันไถ
ตอนสมัยเด็กๆ พ่อจะจูงควายบ้างวัวบ้างไป 1 คู่หรือ 1 ตัว พร้อมแบกคันไถ อีก 1 อัน บนบ่า 
แบบว่า 2 มือไม่ว่าง เมื่อตอนครอบแอกแล้วพ่อจะลงนาไถนา ตอนจะเลี้ยวซ้ายหรือขวา พ่อจะบอกว่า ซ้าย ซ้าย หรือ ขวา ขวา จนเสร็จทั้งไถและคราด วัวหรือควาย ก็เดินตามที่พ่อบอก ได้ดีไม่เกเร 
พอเที่ยงก็ปลดให้วัว ควายได้พักหายเหนื่อยและเล็มหญ้าตามหัวนา ส่วนคนก็กินข้าว พักที่ขนำที่ทำไว้ปลายนา


ควายไทยพร้อมแอกที่คอและคราดไม้ 


ส่วนควายเหล็กไม่ต้องบอก แค่บังคับกับมือ มันก็หันไปตามที่เราบัญชา 5555


ราดนา หรือ ไคคราดนา ก่อนจะดำต้องราดนาให้เทือกนอนไว้ 1-2 คืนแล้วก็ดำ


แต่เดี๋ยวนี้พัฒนาขึ้นมาอีก เป็นรถที่ทำการเกษตรที่ทำได้วันละหลายๆไร่ ไม่ต้องออกแรงขา
ออกแต่แรงแข็น ไถและคราด วันเดียวเสร็จ วันรุ่งขึ้นก็ทำตามลำดับ ดำ

3. การถอนต้นกล้า 



อย่างที่บอกไว้ ถ้าหว่านกล้าดี ก็จะได้ลำต้นที่แข็งแรง ต้านทานโรคดี



ถอนเป็นร่องๆ ไปจนกว่าจะหมดร่อง พร้อมฟ้ามืดๆ ไม่ร้อน  การถอนต้นกล้าทำได้ทั้งมีน้ำและไม่มีน้ำ



ถ้าดินในนาแฉะจะต้องเติมน้ำเพื่อจะได้ล้างรากต้นกล้า




นี่ก็เป็น ศิลปะการถอนกล้า เมื่อรวบต้นกล้าได้ประมาณ 1 กำมือแล้ว ก็นำมา (ฟัดกล้า) ให้ดินที่ติดกับราก

 
หลุดออกไป กับเท้าของเรา 1 ข้างเพราะอีกข้างไว้ยืน 555 
นี่แหละสวรรค์บ้านนา แม้อาทิตย์อัสดง แล้วก็ยังทำนาได้ ไม่รีบร้อน


ทำนาอย่างชิล ชิล ไม่ต้องรีบร้อน ค่อยๆ รวบกำกล้า แล้วฟัดแหมะที่เท้า แล้วมัด รวมกัน


จะฟัดให้กระเด็น (ดิน)



เมื่อฟัดให้ดินหลุดออกไป ก็ส่ายรากต้นกล้ากับน้ำ แล้วดึงส่วนที่เกินออกให้หมด เป็นการดี


สะบัด สะบัด สะหลัด สะหลัด ให้หญ้าหรือวัชพืช หล่นไป

สู้ ๆ ค่า


เมื่อถอนแล้วก็จะต้องมัดกำกล้า 


ด้วยตอกต้นคล้าทำเป็นเส้นๆ เอาใส้ในออกเหลือแต่เปลือกด้านนอก


สำหรับมัดกำกล้า ระวังบาดมือแม่บอก แต่ต้องมัดให้แน่น ถ้ากำกล้าโดนดิน (หลุด) ที่เราฟัดออกไป 
ก็ต้องล้างให้หมดดิน เพราะจะทำให้ต้นกล้าแดงเวลาปักดำต้นกล้าอาจตายได้


กำกล้าที่นาแห้ง รากก็จะน้อย ถอนง่ายกว่า 


 แต่ถ้าเดิมนาแห้งแล้วเปิดน้ำใส่ก็ถอนไม่ยากเช่นกัน


เมื่อถอนได้ตามต้องการแล้ว ก็จะตัดกำกล้า คือตัดส่วนยอดของต้นกล้าออก เพื่อจะได้แตกใหม่
ขั้นตอนนี้ ที่บ้านฉันทิ้งกำกล้า ไว้ 2-3 คืน เพื่อให้ลำต้นแข็งเนื่องจาก มันอ่อนแรงเพราะโดนฟัดมา
เมื่อครบ กำหนดก็จะนำกำกล้าไปปักดำ


ส่วนยอดกล้า ก็นำไปเป็นอาหารเลี้ยงวัว เป็นอาหารชั้นยอด


เด็กๆ นั้นหรือสบายใจ กระโดนเล่นน้ำกันไป ผู้ใหญ่ก็ถอนกล้ากันไป 


เป็นความสุขของเด็กๆ หรือคนบ้านนอก ที่คนเมืองกรุงศิวิไลต์ ไม่มีหรือหาไม่ได้


ส่วนนาที่หว่านกล้าเมื่อถอนกล้าหมดแล้วก็จะทำการไถและคราด ไว้ดำต่อไป

 4. การดำนา


            เมื่อต้นกล้าพร้อม นาเทือกพร้อม กำกล้าพร้อม คนพร้อม ก็ทำการดำ ดำ และดำนา
เครื่องแต่งตัว มี หมวก ถุงเท้า ผ้าคลุมหน้ากันร้อน น้ำแก้คอแห้ง ข้าวปลาแก้หิว ตาลาย พุ่มไม้หรือ
ขนำน้อย ริมหัวนาไว้หลบยามแดดร้อน พักพ่อนยามเที่ยงหลังกินข้าวเสร็จ บ้านฉันเรียกว่า เอนหลัง

              
 แต่ถ้าแปลงนากับแปลงต้นกล้าอยู่ไกลกันก็ต้องใช้ไม่หาบกำกล้ามาที่นาที่จะดำ
 เช่น ไม้หาบกล้า ไม้ไผ่ แสก(สาแหรก)  หรือ อะไรต่อมิอะไรก็ตามที่ใช้ได้ 

 
สบาย ไม่หนัก คับผม พร้อมรอยยิ้ม

นี่ก็เป็น ศิลปะของการหาบกล้าไปดำนา เช่นกัน หนักนะคะ
 เพื่อให้เห็นว่ากว่าจะเป็นข้าวสัก 1 เมล็ด หรือข้าวสัก 1 ช้อน ชาวนานั้นต้องผ่านอะไรบ้าง 


จะหน้าเดิน หันหลังเดินหน้า ก็ตามแต่ ต้องเดินอย่างระมัดระวัง เพราะเดี๋ยวจะตกหัวนา(คันนา)
 เพราะลื่นล้ม




เดินแบบสบายสบายนายกางเกงยีน ข้างละ 6 - 7 กำ ก็สบาย สบาย


จะเด็ก หรือคนแก่ ที่พอทำได้ ก็หาบๆ หาบๆๆ ผู้หญิง ผู้ชาย ก็หาบๆๆ ข้างละ 3-4 กำ ก็พอ


หุ่นอย่างผม ข้างละ 1 กำ ก็ดีแล้วคับ หนัก หนักคับ เสื้อผ้าเลยไม่ต้องใส่


นี่ก็สามัคคีชุมนุม ร่วมด้วยช่วยกัน


นำกำกล้ามาไว้ในนา บางคนจะเรียงแถวไว้ให้คนดำ  เพื่อพร้อมทุกเมื่อที่จะดำนา เรียกว่า รายกล้า

ชาวนาอย่างผม ไม่กลัวดำ  เอ้าวาง วาง เรียงแถวหน้ากระดาน

  
ผู้เขียนมาช่วยแม่ดำนา สักนิสก่อนจะดำ
เมื่อตอนผู้เขียนเป็นสาวๆ ก็ไปดำกับเขาอย่างนี้แหละ แต่ตกอยู่หลังสุดเพราะเราเป็นเด็ก 
ประสบการณ์น้อยกว่าผู้ใหญ่ เมื่อก่อนชาวนาจะ ซือ กันคือช่วยๆกันวันนี้ของคนนี้ พรุ่งนี้ของอีกคน 
เดี่ยวนี้เขา จ้างเสียส่วนใหญ่


ศิลปะของการดำนา ป้าผู้เขียนดำสวยสุด แถวนี้ตรงดิ่งไม่ต้องขึงเชือก


สีเขียวของต้นกล้า กับน้ำสีขุ่นๆ สวยงามจริง


เหนื่อร้อน ก็เช็ดเหงื่อกันไป


ส่วนมากจะเป็นผู้ใหญ่ วัยกลางคน เป็นส่วนมากที่จะทำนา แล้วถ้ารุ่นต่อมาไม่ทำตามบ้าง
แล้วใครจะมาสืบทอดการทำนา แบบดั้งเดิมละ เพราะเดี๋ยวนี้มีรถดำนาแล้วค่า มันช่างไม่ได้ฟิลลิ่งเลย


และเมื่อช่วยกันดำ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่


เมื่อนางจะดำ จะดำ นา สวย(คน)


เมื่อชายหนุ่ม ดำ

เมื่อคุณครู สอนนักเรียนดำ นา


เมื่อสาวงามดำ ดำนา


เมื่อเด็กมหาลัยดำนา


เมื่อแม่สอนลูก ดำ


ผมขอหน่อยคับ คุณยาย เมื่อยายสอนหลาน


ผมช่วยด้วยคับ  แม้ไม่มีน้ำ ก็จะดำ


แม้น้ำจะลึกก็จะดำ


เมื่อแม่ดำ นา หนูขอเล่นน้ำในนา ระวังปลิงนะจ๊ะหนู

 
เมื่อเพื่อนดำนา แต่ฉันอยากเล่นโคลน 
ตอนดำนานี้แหละผู้เขียนเกลียดปลิงที่สุด เพราะต้องยืนนิ่งสักพัก มันชอบมาว่ายวนเวียนอยู่นั่นแหละ

*********************
การดำนานี้คือ อุ้มกำกล้าไว้ในอ้อมแขนข้างหนึ่ง แล้วอีกมือก็ดึงต้นกล้ามาไว้ในมือ 
เรียกว่า หุด ต้องกำมือแล้วใช้หัวแม่มือกำตรงโคนต้นไว้แล้วปักในแปลงนา

 
 อุ้มกำกล้า แล้วแบ่งมาประมาณ 5-10 ต้น เรียกว่า 1 หุด

 

โดยแบ่งการปักเป็นหน้า แถวเรียงหน้ากระดาน ปักต้นกล้าไว้ประมาณ 6 หุด คือพอเอื้อมถึง


จากซ้ายมาขวา หรือจากขวามาซ้ายก็ตามแต่ถนัด จนหมดหน้าหรือถึงหัวนาอีกด้าน


สำหรับชาวนา แม้แดดกล้า หรือ อ้อนล้า ก็ยังสู้ไม่ถอย

ดำนาจนเสร็จ เพื่อป้องกันการกัดกินของศัตรูข้าวให้ดำเพิ่มที่ริมๆหัวนาไว้ซ่อมแซม
เมื่อดำเสร็จเรียบร้อย รอเติบโตเป็นกอข้าว


ประมาณ 1 เดือน ข้าวเริ่มแตกกอ


ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 เอาให้แตกกอ



เขียวชะอุ่ม 


 ถ้าโดนปูหรือหนู หอย กัด ก็ทำการซ่อมแซม  โดยการแบ่งจากกอข้าวที่ดำ เสริมเอาไว้



ช้อน ปลา กุ้ง ที่น้ำไหลบนหัวนา





แตกกอสวยงาม ต้นข้าวแข็งแรง ปราศจากศัตรูข้าว


เมื่อเริ่มทำนา เริ่มมีขนำน้อย ไว้พักผ่อน แก้ร้อนแดด




เมื่อท้องนาเขียวขจีไปด้วย ต้นข้าว 

ดูน้ำ ในนาให้ดีอย่าให้ต้นข้าวขาดน้ำนาน


เมื่อเวลาผ่านไป


ข้าวเริ่มตั้งท้อง 


 ลำต้นจะกลมเต่งตึง


เมื่อเริ่มออกรวง





น้ำค้างบนรวงข้าว ช่างสดชื่น





ข้าวเริ่ม ออกรวง เสียส่วนมาก


รวงยังไม่มีน้ำหนักเพราะยังไม่มีน้ำนมข้าว


ช่วงนี่แหละที่ชาวนาจะทำข้าวเหม้า จากข้าวระยะน้ำนมผ่านมานิดหน่อยเริ่มเป็นเมล็ดอ่อนๆ


ข้าวเริ่มเหลืองด้านข้างหัวนา จะโน้มรวงมาที่หัวนา ไม่รู้ทำไมเป็นเช่นนั้นเสมอ



สังเกตปลายรวงจะสุกเหลือง ต้องให้สุกทั่งทั้งรวงจึงจะเก็บเกี่ยวได้ ถ้าจะเก็บกับรถ ก็เก็บได้เลย





เมื่อสุกทั่วทั้งรวง ก็ทำการเก็บเกี่ยว ไว้บน เพิง หรือยุ้งฉาง


ยืนยันสิทธิการเป็นเจ้าของ ตามนโยบายราชการ


นี่แหละทุ่งรวงทอง เหลืองอร่าม


5. เก็บข้าวกับแกะ


บ้านฉันยังใช้แกะ สำหรับเก็บข้าวอยู่ แม้จะมีรถเก็บแล้วก็ตาม เพราะบางที่น้ำลึกรถเก็บข้าวลงไม่ได้


ขั้นตอนการเก็บกับแกะ


 จับแกะให้มั่นโดยจับส่วนที่เป็นไม้ไผ่ไว้ในกำมือ คีบด้วยนิ้วหัวแม่มือ  ให้กระดานที่มีคมอยู่ระหว่าง
นิ้วกลางกับนิ้วนาง ไว้บังคับการคีบรวงข้าว  ใช้หัวแม่มือจับรวงข้าวคีบให้ขาดจากลำต้น



สอนคนรุ่นใหม่เก็บข้าวกับแกะ เก็บ เก็บ หรือดึง



ช่วยๆ กันเก็บ จะได้เสร็จเร็วๆ  จ้างเขาเดี๋ยวนี้ เลียงละ 15 บาท เชียว


เรียงหน้ากระดานเก็บ เก็บ



หนูน้อยช่วยเก็บ ตาก็ดูปลิงที่เท้ากันไป


ดูสิค่ะว่าน้ำลึกขนาดไหน ลึกขนาดนี้แต่งตัวต้องรัดกุม




เก็บมาที 1 หน้าแกะ



  ใช้ส้นมือ ตบๆ ให้หัวเสมอกัน



แล้วนำมารวมกับข้าวในกำมือ กำไว้ให้แน่น


และหักคอข้าวในกำมือ เพื่อให้คอข้าวนวล แล้วผูกคอข้าวด้วยต้นข้าว


ผูกคอข้าว หรือ ผูกเลียงข้าง โดยการตัดต้นข้าวมาสัก 2-3 ต้นตัดข้อที่ 2  รีดให้แบน  


 แล้วหมุนเกลียวให้แน่นเสมือนเชือกแล้วนำมามัดกับข้าวในกำมือ 2 กำมือรวมกันเรียกว่า 1 เลียง



 แล้วบิด บิดให้เป็นปีกไก่ จะได้เลียงข้าวแน่นๆ



น้ำลึกค่ะ ข้าวเลยเปียก



เลียงข้าว ถ้าน้ำในนามาก ก็ใช้ต้นข้าวหรือซังข้าว รองเลียงไว้ไม่ให้ข้าวเปียก





ท่าพิเศษในการผูลเลียงข้าวคือ ปากคาบแกะ มือก็บิด บิด หมุน หมุน  สอนเด็กไปในตัว



บิดแล้วหมุน หมุน และหมุน



หมุน จนได้ปีกไก่ บนเลียงข้าว



นี่แหละปีกไก่ บนเลียงข้าว



แดดร่มแล้วผมช่วยขนเลียงข้าวคับ


เลียงข้าว มัดมาวางรวมกันไว้ที่บนหัวนา รอไว้ตากวันรุ่งขึ้น วันนี้เก็บได้กี่ เลียงหนอเรา



ถ้าเก็บตอนเช้ามากๆ จะมีน้ำค้างที่รวงข้าว เมื่อผูกเป็นเลียงแล้วก็ ทำการหงายเลียงข้าว 
เรียกว่าหงายบัวหรือหงายเลียงข้าว เป็นการตากเลียงข้าวให้แห้งสนิท ทั้งรวงข้าวและคอข้าว



ทั้งพลิกคว่ำและพลิกหงาย



จนเป็นสีเหลืองทอง



หรือแห้งสนิทดี ตั้งเรียงรายที่บนหัวนา



กว่าจะแห้งดีก็ต้องทำการ ลอม ไว้กันฝนตกแล้วเลียงข้าวจะไม่เปียกมาก แล้วตากรอบต่อไป
หรือเก็บไว้ในยุ้งฉาง


ถ้านาอยู่ไกลถนน ก็จะหาบด้วย แสก (สาแหรก) 
โดยการวางเลียงข้าวซ้อนๆ กันสลับหัวท้ายเลียงข้าวให้ได้สมดุล จะได้ไม่หล่นเสียหาย 
จนถึงเพิงหรือยุ้งฉาง ที่บ้าน


บางส่วนก็เก็บกับรถเก็บข้าว สะดวกไปอีกอย่าง เอากลับไปแต่เมล็ดข้าว

6. ตากข้าวเปลือก


อุปกรณ์ตาก  1. สาดคล้า


2. พูลินในล่อน
 
เมื่อตากตอนเช้าหลังน้ำค้างแห้งดี แล้วนำพูลินมาคลี่แล้วนำข้าวมาเท แล้วเกลี่ยให้เสมอกันทั่วดี




ตากได้ทั้งที่บ้าน หรือถนนหน้าบ้าน หรือข้างๆบ้าน



เพราะโดนแดดทั้งวัน



พอเวลาผ่านไป ประมาณ 1-2 ชั่วโมงก็มากลับข้าวจากด้านบนลงข้างล่าง (เรียกว่าคนข้าว


เมื่อแห้งสนิทดี ตอนแดดร่ม ๆ ก็เก็บใส่กระสอบ ใส่เพิง หรือยุ้งฉางเก็บไว้ กินหรือขายต่อไป


เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวหมด น้ำในนาก็เริ่มแห้งขอด ปลา เริ่มดิ้นรนหาที่ซ่อน 
ช่วงนี้แหละ ที่ว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว 
ที่บ้านฉันเรียกลูกคลัก คือปลาชอบอยู่ในรูแถวๆ กอข้าวเพราะมีน้ำตอนที่มันยังเล็กแต่พอเริ่มโต
น้ำแห้งเหือดหายไป มันก็เลยมาคลักรวมกันเป็นกระจุก


บ้านฉันเรียกว่า ลูกคลัก คือปลามาคลักดินในนา



อาชีพเสริม เลี้ยงเป็ดให้กิน หอย และวัชพืชบางตัว



เมื่อเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว


 ต้นข้าวอ่อนหรือหญ้าอ่อนๆ ก็เป็นอาหารของวัว


 เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขียงนาหรือขนำน้อย ก็ต้องโดนทิ้งร้างไว้เจอกันอีกทีก็
ตอนทำนาใหม่อีกรอบ

**************
แบบนี้ทำนาหว่าน ต้องดูแลยิ่งกว่านาดำ เพราะมีศัตรูข้าวเยอะกว่า



 

ยืนยันสิทธิ เช่นกัน

+++++++++++++++++++++
ศัตรูของข้าว

 
ปูนา
หอยเชอร์รี่ และไข่หอยเชอร์รี่ แต่นี่หอยขมชอบอยู่ในนา เช่นกัน


นี่แหละตัวฉกาจ หนูนา ต้องกำจัด



วัชพืชที่กินได้ เช่น ผักบุ้ง บริเวณที่น้ำลึก หรือบัว


*******************

เพลงเขมรไล่ควาย สุรพล สมบัติเจริญ 


เพลงกระท่อมปลายนา ของ ยอดรัก สลักใจ                 เพลงไก่นาตาฟาง  ของ จีระพัน วีระพงษ์


เด็กบ้านนอกขี่หลังควายหลังเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ
ที่มีภาพจากอินเตอร์เน็ตเพราะอยากให้ผู้อ่านได้ทราบว่าแต่ละท้องที่ แม้อยู่กันหลายๆ ภูมิภาคในประเทศไทย แต่ยังมีชาวนาที่ทำนาให้เราได้ รับประทานข้าวอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยกับหน้าที่
อันมีเกียรติและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อคนทั้งประเทศ กับมุมของชาวนาบ้านนอกและเมล็ดข้าวสู่เมืองกรุงสิวิไลต์ เพราะกระดูกสันหลังของชาติ ที่ทำให้ทุกคนอิ่มท้อง

ขอบคุณภาพบางภาพจากอินเตอร์เน็ต เรียบเรียงโดยบ้านบิวเบสท์

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น