วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ข้าวหลาม หลามเหนียว
 



เมื่อถึงเดือน สาม หรือ วันมาฆะบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือนสาม หรือ 15 ค่ำเดือน 3  
ที่บ้านฉัน เขาทำข้าวหลามกันไปทำบุญกัน หรือไม่ก็ไปทำกับที่วัดเลย เป็นวันใส่ข้าวโบสถ 
เป็นประเพณีของวัด ซึ่งส่วนมากตามวัดแถวๆบ้านฉัน ก็นิยมทำบุญข้าวหลามกัน ไม่ว่าจะเป็นวัดคลองดิน วัดสโมสรหรือ วัดด่าน วัดโคกเหล็ก เท่าที่เคยไปวัดมา ถ้าช่วงที่จำพรรษาพระไม่มีครบ ก็นิมนต์ 
พระจากวัดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงแถวนั้นมาร่วมทำบุญด้วย

(ประเพณีใส่ข้าวโบสถนี้ เปลี่ยนจากการใส่ข้าวเป็นข้าวหลาม ) เป็นความคิดริเริ่มของพ่อท่านเสน 
เจ้าอาวาสวัดด่าน เป็นคนคิดค้น และวันละแวกใกล้เคียงก็ทำตามกัน ที่วัดคลองดินจะมีพระจากวัดดังที่เกาะสมุยมาทุกปี ท่านว่าวัดคลองดินเป็นบ้านเกิดของท่านที่สำคัญยิ่งกว่าคือ มาเอาข้าวหลามหรือหลามเหนียวไปฝากคนที่เกาะสมุย เพราะหลามเหนียวที่นี่อร่อยไม่เหมือนใคร ท่านก็ว่าติดตลกไป 
แท้ที่จริงแล้วท่านมาร่วมทำบุญด้วยกันปีละครั้ง ท่านว่าดีที่วัดนี้ยังมีคนเข้าวัดกันมากอยู่ จะได้รักษาประเพณีกันสืบต่อไป อีกนาน

ประเพณีเดือนสาม หลามเหนียว แม้จะเหนื่อยอย่างไร ชาวบ้านก็ยังมาร่วมกันทำตามประเพณี
ที่มีมานาน 

(ข้าวหลามที่ดีต้อง มีข้าวเหนียวที่นุ่ม หอมกระทิ และรสชาดออก มันๆ เค็มนิดๆ หวานหน่อยๆ)


ไม้ไผ่ที่จะใช้หลามเหนียว บ้านฉันเขาใช้ไม่ไผ่เถื่อน จะมีเยื่อไผ่ติดดี 
ได้จากที่พูดมาว่า ไม้ไผ่ทรามหลามเหนียว ไม้ไผ่บ้าน ไม้ไผ่รวก ไม้ไผ่กำหยัน และอีกมากมาย ที่จะใช้
ตามสะดวกที่จะหามาได้



ถ้าทำที่บ้านก็ช่วยกันตามคนในครอบครัว ถ้าทำที่วัดจะมีบรรดาประชาชน ผู้ใจบุญมาร่วมกันทำเป็นอย่างมาก คนละไม้คนละมือ ไม่นาน เดี๋ยวก็เสร็จสรรพ

สิ่งที่ต้องเตรียม
1. ข้าวเหนียวขาว หรือ ข้าวเหนียวดำ
2. มะพร้าว
3. กระบอกไม้ไผ่
4. อุด
5. ถ่านหรือไม้ฟืน
6. ผู้ทำและผู้ช่วยทำ
7. เกลือ น้ำตาลทราย
8. ถ้าจะใส่ถั่วก็แช่ถั่วไว้ด้วย

การทำข้าวหลาม     100 กระบอก
1. ข้าวเหนียวชนิดดำหรือขาว จำนวน   1 ถัง 15 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทราย จำนวน                         1 กิโลกรัม เพิ่มได้ถ้าให้หวาน
3. น้ำกะทิ จำนวน                                 10 กิโลกรัม
4. เกลือ จำนวน                                     2 - 3 ขีด

หรือ ข้าวเหนียว 5 กิโลกรัม   มะพร้าวลูกใหญ่ 10 ลูก  

ขั้นตอนการทำและเตรียมพร้อม


เข้าป่าหรือสวนหลังบ้าน ที่มี ก่อไผ่เถื่อน ตามที่บ้านฉันเรียก ขึ้นไปตัดมาเฉพาะที่ขนาดจะทำหลามเหนียวได้ เพราะหนามทั้งนั้น (งานผู้ชาย) ยากลำบากอย่างไรก็ต้องทำเพราะอร่อยทำปีละครั้ง (ยอม)
มาวางไว้ให้น้ำในกระบอกแห้งหมาดๆ เวลาหลามจะได้ไม่ใช้เวลามาก

มะพร้าว ถ้าให้ดีต้องมะพร้าวที่สด มีสีเขียวๆ จะหวานมันอร่อย กว่ามะพร้าวห้าว

ช่วยกันขูดกับเครื่องขูดมะพร้าว เรียกว่า หัวมอน ขูดๆๆ ด้วยไฟฟ้า ขูดได้ทั้งหญิงและชาย


เนื้อมะพร้าว


1. ข้าวเหนียวเขี้ยวงู  ถ้าเป็นข้าวเหนียวใหม่จะอร่อยมากกว่า แช่ไว้ประมาณ 1/2 ชั่วโมง
ถ้าข้าวเหนียวเก่า ประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพราะจะแข็งกว่าข้าวเหนียวใหม่



ล้างให้สะอาด แล้วทำการใส่ในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ พักไว้ (ถ้าจะใส่ถั่วก็แช่พร้อมข้าวเหนียว)


2. อุด ทำจากทางต้นจาก นำทางมาลอกส่วนที่แข็งออกแล้วเอาเนื้อด้านในทำอุด 
ถ้าทางแห้งลอกแล้วใช้ได้เลย ถ้าเป็นทางสด จะต้องตากให้แห้ง หมดยาง จึงจะนำมาใช้ได้ 

ตัดเป็นท่อนๆ พอประมาณ หรือจะทำกับขุยมะพร้าวก็ได้ ตามสะดวก สีหน้าช่างมีความสุขจริงๆ

3. ไม้ไผ่  เมื่อได้มาแล้วก็ทำการตัดๆ ตามข้อของตาไม้ไผ่ เป็นกระบอก ให้ขนาดเท่าๆ กัน
เพื่อเวลาหลามจะได้ไม่ลำบาก ทำ ราว คือส่วนที่จะนำข้าวหลามไปวางพิงเพื่อหลาม

 กระบอกบางๆ กำลังดี เห็นเยื่อใผ่บางๆ ถ้าหนาจะไม่สุกพร้อมกัน บางจะสุกเร็วกว่า

นี่แหละไม่ไผ่เถื่อน ขนาดกำลังดี ไม่อ่อนไม่แก่ ไม่เล็กไม่ใหญ่ ขนาดพอดี้ พอดี สวยงาม

ตาไม้ไผ่ยังติดอยู่เลย  ต้องเหลาให้เกือบหมดจะได้ไม่กีดขวางเพื่อนบังเอิญไม้ไผ่ไม่พอ กะทิเหลือเลยไปเอาของเพื่อนมา 


4. กะทิ จากมะพร้าวที่ขูดเสร็จแล้ว นำมาคั้นกะทิ


ครั้งแรกคั้นแยก หัวกะทิ กับ หางกะทิ ไว้ก่อน


                     เมื่อคั้นได้ที่แล้ว เติมเกลือและน้ำตาล คนให้เข้ากัน เตรียมพร้อม อย่างข้น


5. (การกรอกบอก) ข้าวเหนียว เมื่อพักให้สะเด็ดน้ำดีแล้ว ก็นำมาใส่หม้อลูกใหญ่ๆ ไว้
 เพื่อจะกรอกใส่กระบอกไม้ไผ่

จับกระบอกไม้ไผ่แล้วนำข้าวเหนียวกรอกใส่ในกระบอกไม้ไผ่  เว้นปากกระบอกไว้ประมาณ 1 นิ้วชี้ 
วัดโดย ใส่ข้าวเหนียวในกระบอกแล้ว กระแทกที่ท้าย เบาๆ 1 ครั้ง เพื่อความแน่นของข้าวเหนียว  
แล้วใช้นิ้วชี้ แหย่ ลงไปที่ปากกระบอก ถ้าไม่ถึงก็เพื่อข้าวเหนียวลงไป ถ้าเกินก็เอาออก 

เยื่อไผ่อ่อนๆ และ ปากกระบอก พร้อมข้าวเหนียว


6. (กรอกน้ำกระทิ) เมื่อกรอก ข้าวเหนียวจนหมดกระบอก แล้วทำการ ใส่น้ำกะทิลงไปให้เหลือปากกระบอกประมาณ 1 ข้อนิ้ว

เพื่อไว้ อุดปากกระบอก ไม่ให้น้ำกระทิล้นปากกระบอก ช่วยกันคนละไม้คนละมือ


(ต้องระวังให้ดี กรอกน้ำกระทิเรียบร้อยแล้ว นำใส่ภาชนะ ป้องกันการล้มน้ำกระทิจะไหลออกหมด)

7. การอุดกระบอก     รองอุดด้วย ใบตอง


หลังจากนั้น อุดปากกระบอกให้เรียบร้อย

 

เมื่อเรียบร้อยแล้ว รอตั้งไฟ


ต่อไปนี้จะเรียกว่า การหลามเหนียว
8. ก่อไฟหลามข้าวหลาม เมื่อกระบอกข้าวหลามพร้อม ก็ก่อกองไฟ ด้วยถ่าน หรือไม้ฟืนก่อน
เมื่อถ่านติดดีแล้ว ก็นำกระบอกข้าวหลามมาตั้งทั้งสองฝั่ง 
ซึ่งมีราววางไว้กับไม้ตรงกลาง กองไฟ สูงประมาณ 3/4 ของกระบอกข้าวหลาม




วางครบหมดทุกกระบอกตอนทำต้องต่อ ราว และกองไฟทุกทีเพราะกระบอกข้าวหลามจะเหลือล้นราวทุกครั้งไป ไม่มีความพอดีว่างั้น


ร้อนน่าดู ดูสีหน้าจากคนข้างๆ แต่นางเซลฟี่ เมื่อความร้อนได้ที่ หลาม ไปสักพัก ประมาณ 20 -30 นาที 
กระบอกเริ่มเปลื่ยนสีจากสีเขียวเป็นสี น้ำตาลอ่อนๆ ตอนนี้แหละกระทิเริ่มเดือดปุดๆ
ต้องควบคุมความร้อนให้สม่ำเสมอ ไม่ร้อนเกินไป คอยเติมถ่านถ้า ไฟเริ่มอ่อน
 รูปนี้ทำข้าวหลามที่วัดกัน ที่ภาคใต้มีหลายๆวัด ทำบุญข้าวหลามกัน ชาวบ้านมาร่วมกันทำเพื่อจะได้บุญ
หลังจากนั้น เริ่มจะสุกบ้าง ให้หันกระบอกส่วนที่ยังไม่โดนไฟ ให้โดนไฟทั่วๆ กันทั้งกระบอก  
รอกันไปหนทางยังอีกยาวไกล กว่าจะสุกได้ที่ ตามชอบ

ช่วยกันพลิก ช่วยกันแปล ร่วมด้วยช่วยกัน จนกว่าสุกโดยทั่วกัน สังเกตร่องรอยน้ำกระทิไหล
เป็นทางที่ข้างๆ กระบอกข้าวหลาม ที่สำคัญไฟต้องไม่มอดดับ 




แบบนี้แหละค่า ที่เรียกว่าทำให้เป็นดังแข็งๆ กรอบๆ หรือบ้านฉันเรียกว่า หมกหลามเหนียว


เมื่อสุกได้ตามต้องการ เช่น แบบไม่เป็นดังหรือสุกพอดีๆ ส่วนที่ไหม้ๆจะเป็นดังแข็งๆ 
ตามความชอบของคนกินยกออกจากราว วางไว้ให้เย็น 

รอที่จะทำการ ปอกเปลือก และ เหลาให้สวยงาม ก่อนจะนำไปทำบุญที่วัด 
หรือแจกเพื่อนๆ คนเฒ่าคนแก่


9. ปอกข้าวหลาม (บ้านฉันเรียก ลิดหลามเหนียว) เพื่อความสวยงาม สะอาดสะอ้านน่ากิน


เริ่มจากที่นำกระบอกข้าวหลามที่เย็นดีแล้ว (ไม่ต้องร้อนมือ) ใช้มีด พร้า หรืออะไรก็ได้ตามถนัด
ผ่าส่วนเปลือกด้านนอกออกก่อน จนครบทั้งกระบอก  ตัดอุดออกด้วย ให้เสมอปากกระบอก
                         +++++++++++++++++++++++ 

          รวมรวมท่าทางของคน ลิดหลามเหนียว จากหลายๆท้องที่ ตามความถนัดของบุคคล
ที่ ท่านั่ง อันเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะบุคคล และอุปกรณ์ในการลิด (ปอก)








เมื่อได้หลายกระบอกแล้วจากนั้นก็ทำการ เหลาส่วนที่เป็นเหลี่ยม
ให้บาง กลม ง่ายต่อการปอกเปลือกเวลากิน


นี้แหละเหลาให้สวยงาม เรียบร้อย น่าสัมผัส



 แบบนี้สุกแบบพอดี ขาว กลมเกลี้ยง เรียบลื่น


นี่แหละของชอบ แบบสุกเป็นดัง ด้านนอกมีรอยแดงๆ

เนื้อข้าวหลามติดเยื่อไผ่น่ากิน

ข้าวเหนียวดำ เนื้อข้าวเหนียว และกระทิแบบพอดี ไม่แห้งและเปียก จนเกินไป

ข้าวเหนียวขาว เนื้อข้าวเหนียวใส สวยกระทิ กำลังดี

พร้อมถั่วดำ ถ้าอยากให้อร่อยต้องจิ้มนมข้นหวาน มันช่างอร่อยล้ำ

จากหลากหลายคน

มีแม้ค้ามาขายด้วย

 บางภาพจากอินเตอร์เน็ต เรียบเรียงโดยบ้านบิวเบสท่์


 นี่ก็บ้านญาติที่ต่างจังหวัด เขาหลามกันแบบนี้ คือนำกระบอกที่ใส่ข้าวเหนียวเรียบร้อยแล้ว 
มาฝังไว้ที่ดิน เติมน้ำกะทิ แล้วเผารอบๆ กระบอก

 

 


กรรมวิธิอาจแตกต่างกัน แต่ผลลัพท์ ได้มาเหมือนกันคะ



































0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น