วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566

ประเพณีวันว่างสงกรานต์ คือวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปีวัดใน ต.หัวตะพาน จะมีประเพณีนี้เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงาม ของจังหวัดนครศรีธรรมราช นอกจากไปทำบุญที่วัดแล้ว ทางวัดได้จัดกิจกรรมอันดีงามเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของเยาวชนคนรุ่นหลังสืบต่อไป ได้รู้ขนมธรรมเนียม วัฒนธรรม การรู้จักเคารพผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือ การรดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุ หรือการรดน้ำขอพร พ่อแม่ ญาติมิตร อันเป็นพรประเสริฐ

ประเพณีวันสงกรานต์นอกจาก เข้าวัด ทำบุญ ทำขนมประจำเทศกาล หลักๆ คือ ขนมค่อม(ภาษาถิ่น) ค่อมญวน (ขนมเทียนไส้มะพร้าว) ค่อมใหญ่ (ขนมใส่ไส้) เมื่อเสร็จพิธีทางศาสนา จะมี " สรงน้ำพระ " หรือการรดน้ำดำหัว ขอพรผู้สูงอายุ

 

 

     "การอาบน้ำคนแก่" เป็นภาษาถิ่นใต้ ต.หัวตะพาน ทุกวัดจะจัดไห้มีการสรงน้ำพระเสร็จแล้วก็มีการอาบน้ำคนแก่ เป็นการ ขอพร ขอโทษ ขอขมา ต่อผู้สูงอายุ พ่อ แม่ พี่ ป้า น้า หรือญาติที่เรานับถือ หากเราได้ล่วงเกินไม่ว่าทางกายหรือทางวาจา จะมีการ "รดน้ำขอพร"

 "การดน้ำขอพร" จะมีน้ำอบ น้ำหอม พร้อมทั้งลอยดอกไม้ไว้ในน้ำเพื่อไห้กลิ่นหอมเย็นชื่นใจ  แล้วนำมา รดมือ รดเท้า รดบ่า ก้มตัว นอบน้อมต่อผู้สูงอายุกว่า เป็นการแสดงความเคารพ

   การรดน้ำขอพร ทำได้ทั้งพระสงฆ์ และคารวาส  เป็นประเพณีวันว่างสงกรานต์ของท้องถิ่น ภาคใต้





 

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566

 คล้า


คล้า เป็นพืชขึ้นริมน้ำชื้นแฉะชุ่มน้ำ ใบเรียงตัวตาข้อ ผิวเรียบลื่นเป็นมัน ขอบใบมีสีแดงๆรอบใบ (อยู่กลางแจ้ง) ลำต้นและกิ่งข้อ กลมแข็ง ผิวสีเขียวเข้ม แตกเป็นกอ  

ความเชื่อการปลูกต้นคล้า ถือว่าเป็นมงคล คุ้มครอง แคล้วคลาด ปลอดภัย

 

 

ภายในลำต้นจะมีเยื่อขาวๆ สามารถลอกออกได้  มีเหง้าใต้พื้นดินใช้เป็นสมุนไพร มีฤทธิ์เย็น ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับการระบบประสาท ที่ทำไห้ร่างกายร้อนเกินไป หัวหรือเหง้าของต้นคล้าใช้ต้มเป็นยา 

ลำต้นและข้อตา กลมแข็ง ผิวสีเขียวเข้ม
ต้นคล้าในที่ร่ม ขอบใบสีจะซีดๆ


 
ต้นคล้าในที่โล่งแจ้ง ขอบใบสีจะมีสีแดงเรื่อๆ  

     ยอดอ่อนกลมๆ ของคล้า มักมีน้ำค้างขังและเย็น คนโบราณจะใช้ดื่มกินแก้กระหาย หรือหยอดตาเมื่อเป็นโรคตาแดง หรือเจ็บตา เพราะมีฤทธิ์เย็นทำไห้สดชื่น สบายตา
 
 

คำโบราณหมอยาพื้นบ้านกล่าวไว้ว่า "ร้อนกลุ้ม กินหัวคลุ้ม"  "ร้อนกล้า กินหัวคล้า"

 

   หัว/เหง้า แก้พิษไข้ทั้งปวง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้รากสาด แก้ไข้เหนือ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้ปอดบวม แก้เหือด หัด อีสุกอีใส แก้ฝีดาษ แก้ประดง แก้ไข้จับสั่น

 

ความเชื่อของคนโบราณ การปลูกคล้าไว้ที่บ้านหรือบริเวณบ้าน เชื่อว่าช่วยคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข แคล้วคลาด พิษภัยศัตรูทั้งปวง

โบราณมักปลูกคล้า ไว้ใช้งาน เช่น ทำเสื่่อคล้า ทำตอก(เชือก) มัดต้นกล้าข้าว

เสื่อคล้า 

เส้นผิวคล้าด้านนอก ที่ใช้ทำเป็นเสื่อคล้า ใช้ผิวด้านนอกตากแห้ง ทำเครื่องจักสาร เช่น สาด(เสื่อ)คล้า เชือกมัดของ เพราะผิวที่ทำเป็นเส้นมีความเหนียว แข็งน้อยกว่าต้นคลุ้ม

      การลอกเยื่ออ่อนในลำต้น ต้องใช้ของมีคม เช่น มีด พร้า

ผิวคล้า ทั้งด้านนอกและด้านใน
 
  คลุ้ม ใช้ผิวด้านนอก เป็นเครื่องจักสารหลากหลายรูปแบบ เช่น ตะกร้า หมวก เพราะผิวที่ทำเป็นเส้นมีความเหนียว แข็งกว่าคล้า ใบใหญ่กว่าคล้า ใช้ห่อขนมหรือข้าวของได้ 

   

คล้า เป็นไม้มงคลที่ปลูกไว้ที่บ้านหรือบริเวณบ้าน เชื่อว่าช่วยคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข แคล้วคลาด พิษภัยศัตรูทั้งปวง 

 

     คล้า เป็นสเหมือนพุทธรักษาน้ำ เป็นไม้มงคลนาม คือ มีพระพุทธเจ้ารักษา คุ้มครอง 

   คล้า กับ คลุ้ม คล้ายๆกันแต่ใช้ประโยชน์แตกต่างกัน

ชื่อต้นคล้า  https://www.kasettambon.com 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schumannianthus dichotomus (Roxb.) Gagnep.

ชื่อวงศ : MARANTACEAE

 

วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566

 ขี้พร้าไฟ 

ฟักข้าว ภาคใต้เรียก "ขี้พร้าไฟ" ลักษณะลูกกลมๆ มีตุ่มหนาม เนื้อผลสีขาว เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสด       เป็นพืชเลื้อยโบราณนับวันจะสูนหาย เด็กๆรุ่นใหม่คงไม่รู้จักหากไม่นำมาใช้ประโยชน์ด้านเครื่องสำอางค์  ที่ช่วยลดริ้วรอย ชะลอความเหี่ยวย่นบนใบหน้า หรืออาจจะได้ยินชื่อบ้างคนโบราณมักนำลูกอ่อนมาทำอาหาร เช่นแกงส้ม หรือแกงเลียง (ภาษาใต้) ลวกจิ้มได้

 

เมื่อ 2-3 ปีก่อนเริ่มมีกระแสทางด้านสุขภาพ บางท่านใช้เนื้อผลตากแห้ง ชงดื่ม หรือปั่นเยื่อหุ้มเมล็ด เป็นน้ำสมุนไพร โดยการนำเยื่อหุ้มเมล็ดมาทำน้ำปั่น

ฟักข้าวเป็นพืชสมุนไพรที่ผสมอยู่ในตำรับยาโบราณ เพราะฟักข้าวมีโปรตีนหลายชนิดและมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา เช่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือดของคนเป็นโรคเบาหวาน

     ใบ ใช้ปรุงเป็นยาเขียว ใช้ถอนพิษ ดับพิษทุกชนิด ตำพอกแก้ปวดหลัง

     เมล็ด ใช้บำรุงปอด แก้ท่อน้ำดีอุดตัน และแก้วัณโรค

     ราก ใช้ต้มน้ำดื่มหรือตากแห้ง บดเป็นผงแล้วปั้นรับประทาน จะช่วยขับเสมหะ ดับพิษไข้

     รากแช่น้ำแก้ผมร่วงและรักษาเหา

 

  

 

     เยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสีแดงๆ นำมาคั้นแยกน้ำผสมกับส่วนผสมอื่นๆเป็นเครื่องประทินผิว สารเบตาแคโรทีนสูงมาก ชะลอความเหี่ยวย่นบนใบหน้า มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เช่นลิปติก น้ำมันนวดหน้า สบู่ แชมพู

 

https://pharmacy.mahidol.ac.th ชื่อฟักข้าว

ฟักข้าวมีชื่อเรียกตามท้องถิ่น เช่น ฝักข้าว (ภาคเหนือ) มะข้าว (แพร่) ขี้พร้าไฟ (ภาคใต้) ขี้กาเครือ (ปัตตานี)

ฟักข้าว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า (Momorodica cochinchinensis)

 ภาพเฟสบุคส์ ฮัซซูน่า