วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

ประเพณีก่อกองทราย


มาทำบุญ..สงกรานต์.วัดห้วยทรายใต้  ประเพณีการก่อเจดีย์ทราย ประเพณีนี้ นิยมทำกันในทุกภาคของประเทศไทย ในวันสำคัญๆ เช่นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือวันสำคัญอื่น อย่างวันสงกรานต์ หรือปีใหม่ไทยนั่นเอง


ประเพณีการก่อกองทราย นั้นย้อนไปได้ถึงสมัยพุทธกาล โดยครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งแคว้นโกศล ได้อัญเชิญพระพุทธองค์ ให้เสด็จไปประทับ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนา ครั้นเมื่อพระมหาบุรุษ ทรงเสด็จไปยังแคว้นโกศล พร้อมพระสงฆ์สาวกจำนวนมาก พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงทอดพระเนตรเห็น จึงมีความศรัทธา จึงชักชวนให้เหล่าพุทธบริษัท ก่อกองทรายเป็นรูปเจดีย์กว่า 8 หมื่น 4 พันองค์ พร้อมประดับธงทิวเป็นพุทธบูชา


นอกจากเรื่องความเชื่อทางศาสนาแล้ว ยังเป็นกุศลโลบายในเรื่องความสามัคคีแก่คนชาวบ้านในชุมชนโดยจะมีความเชื่อเกี่ยวเนื่องกับเรื่องการขนทรายเข้าวัด ที่เชื่อการว่าการที่เราเดิน ขี่รถ หรืออะไรก็แล้วแต่ จะทำไห้เท้าเราหรือล้อรถ ติดทรายที่วัดออกไป เพราะฉนันเราก็ต้องขนทรายมาในวัดเท่ากับที่ติดเท้าเราออกไปจะได้ไม่ติดหนี้วัด

ในสมัยก่อน ว่ากันว่าการช่วยกันขนทรายเข้าวัดสำหรับการซ่อมแซม หรือก่อสร้างสิ่งก่อสร้างในวัดนั้นจะได้บุญกุศล ส่วนทรายที่เหลือจากการก่อสร้าง ก็จะนำมาก่อเป็นเจดีย์ทราย เพื่อเพิ่มอานิสงส์ ผลแห่งการทำบุญนั้นเอง


วันสงกรานต์นั้น จะมีการขนทรายเข้ามาในวัด แต่เดิมนั้นเพื่อจุดประสงค์อื่น แต่ปัจจุบันนั้นเพื่อเป็นการใช้ก่อเจดีย์ทราย โดยพุทธศาสนิกชน จะเข้าวัดมาทำบุญ สรงน้ำพระ และมีการเล่นสาดน้ำ ตลอดจนการก่อเจดีย์ทรายประดับด้วยธงกระดาษหลากสีสันต่างๆ กันไป โดย จะมีการอธิษฐานเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องอานิสงส์ ของการก่อเจดีย์ทราย ดังที่กล่าวไปแล้วในพุทธตำนาน

 
 ปัจจุบันประเพณีการก่อเจดีย์ทราย เริ่มจะเลือนหายไปจากสังคมไทยมากแล้ว และทางวัดห้วยทรายใต้ยังมีการอนุรักษ์เอาไว้ ไห้สาธุชนได้มีการก่อเจดีย์ทรายกันทุกปี ในวันมหาสงกรานต์


หากยังไม่มีการอนุรักษ์เอาไว้ สักวัน ประเพณีก่อเจดีย์ทรายนี้ จะเลือนหายไปจากสังคมคนไทยแน่
กว่าจะเป็นน้ำตาลปี๊บ
 
ความหวานจากต้นมะพร้าว ที่เรียกว่าน้ำตาล นำมาผ่านกระบวนการ ต่างๆ ทั้งเจาะ กรอง เคี่ยว จนได้ที่แล้วนำมาเทใส่ปี๊บ แถวบ้านจึงเรียกว่า น้ำตาลปี๊บ เป็นการทำตามแถบชนบทแท้ๆที่มีต้นมะพร้าวเยอะๆ และเป็นการทำสืบทอดกันมาแต่ละรุ่นๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

น้ำตาลปี๊บ คือ น้ำตาลมะพร้าวเคี่ยวแล้ว ใส่ลงปี๊บ
น้ำตาลปึก คือน้ำตาลที่เคี่ยวแล้วทำมาจาก ต้นโตนด

1.ทำความสะอาดงวงตาล(จั่นมะพร้าว)และการนวดงวงตาลโดยการแกะมดแมลงที่เกาะงวงตาลออกและรูดดอกออกไป จะทำให้งวงตาลสะอาด ปราศจากแมลงที่จะทำให้น้ำตาลขุ่นเหนียวได้การ  

 2. การนวดงวงตาล ใช้น้ำตาลใสที่ไหลออกจากงวงหลังปาดมาลูบให้ทั่วงวง เพื่อให้น้ำตาลช่วยรัดงวงให้นิ่ม หรืออาจใช้มือนวดเบา ๆ ให้ทั่วจากโคนไปปลายงวง จะทำให้ได้น้ำตาลที่ใสสะอาด
3. การล้างทำความสะอาดกระบอกรองน้ำตาลใส เพื่อให้กระบอกสะอาดไม่มีสิ่งเจือปน
4.การปาดงวงตาล ตอนบ่าย – เย็น โดยการปาดบาง ๆ แล้วแขวนกระบอก เพื่อรองรับน้ำตาลใส


5.การเก็บน้ำตาลใส จะเก็บในช่วงเก้าโมงเช้า จะทำให้ได้น้ำตาลคุณภาพดี เพราะถ้าเก็บช้าน้ำตาล     อาจเสียได้

 

6.การเคี่ยว นำน้ำตาลใส กรองด้วยผ้าขาวบาง เวลาเคี่ยวต้องช้อนฟองออก เมื่อน้ำตาลเดือดฟองยุบจนไม่เหลือฟอง ยกลงแล้วใช้เหล็กกระทุ้งน้ำตาล จะได้น้ำตาลสีเหลืองนวลสวย
 
  7.ยกลงแล้วใช้ที่กวนน้ำตาล หรือเรียกเหล็กกระทุ้งน้ำตาล จะได้น้ำตาลสีเหลืองนวลสวย
 กดลงไปในกระทะที่น้ำตาลยังอุ่นๆอยู่ จนน้ำตาลรู้สึกหนืดๆมือ ยกเหล็กกระทุ้งน้ำตาขึ้น

 
 8 .หยอดน้ำตาล ใส่ปี๊บขณะที่น้ำตาลยังร้อน ๆ เมื่อน้ำตาลเย็นจะได้รูปตามที่หยอด


  9. เมื่อน้ำตาลเย็นและแห้ง เก็บบรรจุลงถุงพลาสติก หรือชั่งกิโลพร้อมจำหน่าย