วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

 ลอดช่องใบเตยน้ำกะทิ


ลอดช่องไทย ลอดช่องเขียว เป็นชื่อเรียกขนมหวานที่ทำจากใบเตยปั่นนำเอาน้ำมาผสมกับแป้ง นำขึ้นเตาแล้ว กวนไห้เนื้อขนมเหนียวนุ่ม รับประทานคู่กับน้ำกะทิหอมๆ เป็นขนมไทยโบราณรุ่นปู่่ย่า ทำไห้ลูกหลานรับประทานกันแบบง่ายๆ ได้อร่อยกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทำวิธีการเดียวกับขนมเปียกปูน
 

วิธีรับประทานลอดช่องใบเตยน้ำกะทิ 

ตักตัวขนมใส่ถ้วย เติมน้ำกะทิลงไป คนไห้เข้ากันรับประทานได้ อาจจะเติมน้ำแข็งใสก้อนเล็กๆ ได้ 

เป็นเมนูคลายร้อนของคนไทยแบบง่ายๆ อร่อยชื่นใจ หอมหวานด้วยรสชาติใบเตย น้ำกะทิ น้ำตาล

 

ขั้นตอนการทำ 

1. น้ำปูนใส 2500 มิลิลิตรสำหรับปั่นใบเตย นำใบเตยปั่นกับน้ำปูนใส กรองเอาแต่น้ำ แยกกาก 

 

2. ตวงแป้งข้าวจ้าว 1/2 กก. แป้งมัน 3 ช้อนโต๊ะ แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ ผสมตามสัดส่วน เติมลงในน้ำใบเตย

 

3. ผสมตัวแป้งกับน้ำใบเตยไห้ส่วนผสมเข้ากันจนไม่เหลือเม็ดแป้ง

  

4. ตั้งไฟกลางกวนจนแป้งเหนียวหนืด ระหว่างกวนถ้าแป้งหนืดเป็นเม็ดแป้ง สามารถเติมน้ำปูนใสได้ขณะกวน

5. กวนไปเรื่อยๆ ถ้าใช้เตาถ่านไม่ต้องเพิ่มถ่าน เพราะถ่านจะลดความร้อนลงทำไห้เนื้อขนมเนียนสวย
 

6.  จะรู้อย่างไรว่าเนื้อขนมเหนียวใช้ได้ เมื่อตอนเดือดมีฟองอากาศผุดช้าๆ

 

7. นำขนมมาใส่ กระบอกหรืออุปกรณ์จะทำลอดช่อง กดแป้งไห้ไหลลงสู่น้ำที่เตรียมไว้ กดเว้นจังหวะไห้เส้นสั้นหรือยาวตามชอบ 

7. นำน้ำใส่กะละมัง รอรับเส้นที่บีบเป็นตัว ลอดช่อง

8. น้ำกะทิ เติมน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย เกลือตัดรสหวาน ผสมไห้เข้ากัน ชิมรสชาติกลมกล่อม

 

สมัยโบราณ มักจะบดแป้งผสมน้ำใบเตยเพื่อ ทำตัวลอดช่องไทย โดยการแช่ข้าวสารแล้วบดด้วยครกบดโบราณ

 
 ลักษณะตัวลอดช่องที่ใช้กระบอกบีบแป้ง ตัวจะเล็ก เรียว ยาว
 
 
ลักษณะตัวลอดช่องที่ใช้ กะลาเจาะรูแบบโบราณบีบเส้น ตัวจะกลม สั้น

 
 ลักษณะเส้นตัวขนมที่ใส่น้ำปูนไม่ได้ตามขนาด จะทำไห้ตัวเส้นขาด เปื่อยยุ่ย
 
 
การเก็บรักษาเส้นไห้คงสภาพเดิม แช่น้ำปูนใสผสมน้ำ เพื่อป้องกันการบูด 
 

กะลาเจาะรู ใช้บีบเส้นลอดช่องแบบโบราณ


0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น