หม้อปั้นดินเผาบ้านมะยิง จัดตั้งโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง โดยมีนางจำเป็นหรือป้าเอียด เป็นประทานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง จากการเรียนรู้ สู่ประสบการณ์ "ปั้นดินไห้เป็นดาว" ป้าเอียดกล่าว ซึ่งมีดาวติดบ่าอยู่หลายท่านที่มาจาก"การปั้นดิน"
การรวมกลุ่มของชาวบ้านพื้นเพดั้งเดิมที่สืบทอดภูมิปัญญาจาก พ่อ แม่ ที่ริเริ่มปั้นหม้อดินเผาเพื่อใช้ในครัวเรือน มารุ่นต่อรุ่น เคยห่างหายไปบ้างแต่ก็ยังกลับมาเฟื่องฟูบางช่วงบางตอน เมื่อตอนโรคโควิดระบาด ผู้คนอยู่บ้านกันมากขึ้นมีการซื้อขายกระถางกันมากที่สุด ซึ่้งป้าเอียดบอกว่า ช่วงนั้นมีรายได้ทั้งปีเป็นล้านซึ่งถือว่าเป็นเงินที่มากสำหรับการทำเครื่องปั้นดินเผา ตั้งแต่ก่อตั้งกันมา ช่างเป็นยุคทองของการทำกระถางปั้นดินเผา
การทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นการทำมาหากินโดยการสืบทอดภูมิปัญญา ที่บางครั้งคนรุ่นใหม่อาจจะไม่เห็นความสำคัญของวิถีชีวิตดั้งเดิม และมีปัญหาและอุปสรรค์ต่างๆที่เป็นปัจจัยภายนอก เช่นดินเหนียวต้องซื้อจากที่ไกลๆ กาบมะพร้าว ไม้ฟืน ขึ้นราคาซึ่งเป็นต้นทุนในการทำเครื่องปั้นดินเผา การตลาดที่ยังไม่เฟื่องฟู แต่รายได้มีเข้าทุกวัน เป็นการใช้ชีวิตแบบวิถีพื้นบ้านอยู่กับบ้านแต่ยังมีรายได้ใช้จ่ายในครอบครัว ไม่เดือดร้อนเรื่องเงินและการเป็นเจ้านายตัวเองมีความสุขที่สุด
แต่เพราะความเข้มแข็งของป้าเอียด ซึ่งเป็นคนตั้งปณิธานว่า "ปั้นดินไห้เป็นดาว" เป็นประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง มีความตั้งมั่นในการสืบทอดภูมิปัญญาการปั้นดิน เป็นของใช้ ต่างๆ ตามยุคตามสมัย โดยมีลูกหลานช่วยสืบทอดความรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนรอบข้าง ทั้ง โรงเรียน ชาวบ้านใกล้เคียง ตอนนี้ป้ามีความชราลุกนั่งไม่ค่อยไหว เลยโอนองค์ความรู้ต่างๆ สู่ลูกและลูกสะไภ้ ช่วยถ่ายทอดแทน
เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาศาสตรและศิลป์ จากการลงมือทำ สังเกตุ และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ จนผ่านจุดวิกฤตมาได้ เช่น
ภาชนะดินเผาที่ผ่านการเผาแล้วมี สีขาวเหลือง เพราะใช้ไม้เป็นส่วนในการเผา
ภาชนะดินเผาที่ผ่านการเผาแล้วมี สีส้มอิฐ เพราะใช้เปลือกมะพร้าวสีเขียวเป็นส่วนผสมในการเผา ทำไห้เป็นสีส้มสวย
เดิมอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาทำกันในชุมชน รุ่นพ่อแม่ ก็จะปั้นเป็นหม้อหุงข้าว สวดนึ่งข้าวเหนียวและหม้อต้มยา ซึ่งนำดินเหนียวจากทุ่งน้ำเค็มในนาบ้านมะยิงมาทำกัน ตอนนี้ยุคสมัยเปลี่ยนดินเหนียวเริ่มหมดลง ต้องซื้อดินจากบ้านบ่อนนท์ อำเภอท่าศาลา มาทำการปั้น เป็นภาชะนะ
ขั้นตอน มีเยอะแยะมากมาย ตั้งแต่เลือกดินที่จะนำมาปั้น การผสมดิน การนวดดิน การชั่งน้ำหนักดินตามขนาดและความสูงที่จะปั้น การรอไห้แห้งโดยการวางไว้ในที่โล่งโดนลม ก่อนการนำเข้าเตาเผา
ขั้นตอนการทำเตาเผา ต้องมีการทำพิํธีกรรมบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง ตั้งแต่การก่อตั้งอิฐถ้าไม่มีการบอกกล่าวสิ่งศักสิทธ์จะทำไห้เตาอบพังทะลายลง เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ ผ่านสิ่งที่เห็นเป็นประจักษ์ ซึ้งต้องมีพิธีกรรมจุดธุปบอกกล่าวสิ่งศักสิทธ์ที่นับถือ อีกทั้งปู่ย่าตายาย พ่อแม่ ขอไห้ทั้งการก่อเตาเผา และการเผาเครื่องปั้นดิน ทุกๆครั้งก่อนการนำเข้าเตาเผา และนำออกจากเตา หากไม่บอกกล่าวจะทำไห้เครื่องปั้นดินแตกเป็นส่วนมาก ซึ่งดินที่ผ่านการเผาแล้วนำกลับมาปั้นใหม่ไม่ได้ ต้องทิ้งทำไห้เสียทั้งเวลา และเครื่องปั้นดินเผา
การก่อเตาเผาต้องก่อกับอิฐแดง พอกด้วยดินเหนียว ด้านนอก ไม้ฟืนและกาบมะพร้าวที่ใช้เผาเครื่องปั้น
ปัจจุบัน บ้านมะยิงปั้นดินเผาในหลากหลายรูปแบบตามยุคสมัยและการส่งเสริมทางราชการ และมีการปั้นเป็นของเด็กเล่นประกอบเข้าชุด ทั้งเตา หม้อ รางขนมครก ครก ตั้งเรียงรายไว้ไห้จับจองเป็นเจ้าของ และเพิ่มความสุขไห้คนปั้นดิน ไห้เป็นแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มนักเรียน นักท่องเที่ยว ผู้คนมากมาย
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น