"วัวชนหรือชนวัว "ในภาคใต้
โดยเฉพาะที่นครศรีธรรมราช เป็นเกมส์กีฬาที่มีเงินสะพัดในวันที่มีการชนวัวที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งในอดีตและปัจจุบันและมีการพนันขันต่อกันอย่างหนักหน่วง ในวันที่มีการชนวัวชาวบ้านแทบทุกอาชีพจะไปที่สนามชนวัว ทั้งเพื่อไปประกอบอาชีพ เช่นแม่ค้า พ่อค้า อาหารหวานคาว ทั้งไปเพื่อดูวัวชน ไปเป็นเจ้าหน้าที่ของสนามวัว
วัวชน ศิลปะการต่อสู้ของวิถีชีวิตคนภาคใต้ เป็นการกีฬาของวัวที่คนเลี้ยงได้คัดเลือกวัวตามสายเลือด สายพันธุ์วัวชนโดยเฉพาะ ไม่ได้เป็นเกมส์กีฬาของวัวเท่านั้น คนเลี้ยงวัวชนก็มีการพนันขันต่อ ได้เสียเป็นเงินจำนวนมาก เป็นการต่อสู้ทั้งวัวและเจ้าของวัวชน คนเลี้ยงวัวชน เป็นวิถีชีวิตวัวชน
วงการวัวชน มีผู้คนหลายหลายพื้นที่ หลากหลายอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับ "กีฬาวัวชน" บางบ่อนอาจจะมีการนัดชน เดือนละ 1-3 ครั้ง หรือตามจำนวนวัวที่เปรียบคู่ได้
1. บ่อนวัวชน มีทั้งที่ชอบด้วยกฎหมายและผิดกฏหมาย ต้องมีเจ้าของบ่อนเพื่อจัดการชน
2.คนเลี้ยงวัว คือคนที่นำวัวออกกำลังทุกเช้า เย็น เช่นเดิน วิ่ง ไห้น้ำ พันเขาวัว ดูแลรักษาสุขภาพวัว อาจจะเป็นเจ้าของวัวก็ได้
3.คนตัดหญ้าวัว เป็นเจ้าของ หรือคนเลี้ยงวัว ที่ทำหน้าที่หาหญ้าดีๆมาเพื่อไห้วัวกิน
4. เจ้าของแปลงหญ้าวัว คือคนที่ปลูกหญ้าสำหรับเลี้ยงวัวชน เพื่อขายไห้คนเลี้ยงวัวมาตัดไปไห้วัวชนกิน แบ่งขายหญ้าเป็นตารางเมตร
5.คนขับรถบรรทุกวัวชน คือรถสำหรับบรรทุกวัว เพื่อไปเปรียบหรือไปชนตามสนามต่างๆ
6.หมอยาวัว คือเป็นหมอที่รักษาวัวที่อาจจะบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเกินความสามารถของคนเลี้ยง
7. เงินเดิมพัน คือเงินที่วางมัดจำวันเปรียบวัวเป็นเงินในวันที่ตกลงกันและนำไปวันที่วัวชนในสนาม
8. คนปล่อยเงินกู้ คือบุคคลธรรมดาที่มีการปล่อยเงินไห้กู้ในสนามวัวชนทั้งผู้เล่นและเงินเดิมพัน
9. คนขายอาหารที่บ่อนวัว คือชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงไปประกอบอาชีพในบ่อนวัวชน เช่นขายอาหารหวานคาว ขายน้ำ ขายผัก ประมาณว่าเป็นตลาดเล็กๆ
9. เจ้าหน้าที่บ่อนวัว เช่นคนเฝ้าประตู กรรมการวัวชน หลากหลายหน้าทีและอาชีพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับ "กีฬาวัวชน"
การวางวัว ก่อนมีการชนต้องนัดกันมา"วางวัว" เปรียบวัว " คือการนัดเจ้าของวัวมาดูวัวไห้มีขนาดไล่เลี่ยกัน ทั้งขนาดตัวและความสูง เพื่อความแน่ใจไม่ไห้มีการได้เปรียบเสียเปรียบกัน แล้วตกลงว่าจะชน การวางเงินเดิมพัน นัดวัน และสนามชน
สนามชน หรือสนามวางวัว มีรูปสีเหลี่ยมจัตุรัสหรือสีเหลี่ยมผืนผ้าหรือวงกลม ขึ้นอยู่กับเนื้อที่ ประมาณ 2-3 ไร่
คนเลี้ยงวัว ต้องขยัน นำวัวเดินออกกำลังกาย เช้า - เย็น ตัดหญ้าไห้กิน เสริมด้วยสมุนไพรพื้นบ้านเช่น บอระเพ็ด ดูแลไม่ได้เห็บ ไร มากัดกิน ลูบเช็ดน้ำ หัว หาง เขา และกีบเท้า
วัวต้องเป็นพันธุ์วัวชนแท้ มีใจทรหดอดทน มีไหวพริบในการชน และมีลักษณะอื่นๆ ที่สำคัญ ดังนี้
- รูปร่างประเปรียว ช่วงตัวยาว ท้องกิ่ว ลำตัวค่อนข้างหนา หลังหนาแบน
- คอสั้นหนาใหญ่ ช่วงขาสั้นและล่ าสัน คิ้วหนา ตาเล็ก สีตาด า ใบหูเล็ก โหนกสูงใหญ่ (ภาคใต้เรียกว่าหนอก) มีขวัญที่ใต้โหนกและกลาง
- หลังเยื้องไปทางด้านหน้าเหนียงคอ (ภาษาใต้เรียกว่าแร้ง) หย่อนยาน ลางตัวหย่อนยานมากเวลาก้มลงกินหญ้าจะจด พื้นดินก็มีแต่ลางพันธุ์
- เหนียงคอสั้น เขาแข็งแรง ปลายเขาแหลมโค้ง โคนเขาทั้งสองใหญ่
- หางเรียวยาวจดพื้นดิน โคนหางใหญ่ปลายหางเป็นพู่ดูสวยงามมาก
- ลูกอัณฑะเล็ก
ขนสั้นละเอียดเป็นมัน หน้ามีขนยาว เวลาเคี้ยวเอื้อง น้ำลายเป็นฟอง และกีบตีนชิด
เป็นต้น
2. ลักษณะเฉพาะพันธุ์ ที่เชื่อกันว่าเป็นวัวชนชนิดดีซึ่งจะเลือก โคชนิดที่นิยมเลี้ยงไว้ชน กล่าว ไว้เพียงบางชนิดเท่านั้น
- โคอุสุภราช จัดเป็นพระยาโค มีลักษณะ – สีขาวปลอด บางตำรา -สีแดงลายขาว
- มีลายดังนี้คือ ตีนด่าง – หางดอก – หนอกพาดผ้า - หน้าใบโพ
- โคนิล เป็นโคพันธุ์ดีอีกชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่าจะให้ลาภแก่ผู้เลี้ยง ลักษณะพิเศษคือ เยี่ยวสีดำในวันพระ แต่ในวันอื่นๆ อาจจะไม่ดำ - สีของเท้าอาจจะดำหรือไม่ใช่ก็ได้
- โคบิณฑ์น้ำข้าว -สีขาวปลอด - เล็บยาว - หางยาว - เขาขาวเป็นมัน
ลักษณะดีตามสีตัว วัวทางภาคใต้มีสีต่างกันถึง 7 สี
- สีที่สำคัญคือ ขาวปลอด - ดำนิล - แดง - ลาย (คือดำแซม ขาว) - ลังสาด (คือคอดำ หัวดำท้ายดำ ตรงกลางขาว)
- สีของวัว ยังใช้เป็นชื่อเรียกของวัวด้วย เช่น – วัวสีขาวเรียกอ้ายขาว - สีดำเรียกอ้ายดำ เพื่อป้องกันการสับสนเพราะสีซ้ำกัน จึงเรียกชื่อบ้านหรือชื่อเจ้าของเข้าไปด้วย
- เช่นอ้ายขาวลุง หมายถึงวัวขาว บ้านทุ่งลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วภาคใต้เพราะตลอดชีวิตการต่อสู้ของมันไม่เคยแพ้มี แต่ชนะกับเสมอ และถือกันว่าเป็นโคพันธุ์อุสุภราชแท้
ลักษณะสีที่ว่าเป็นวัวดีนั้นคือ
1. โหนดชาติใหญ่ คือโหนดหัวแดง
2. โหนดตีนขาว ซึ่งเรียกว่าลังสาดชนิดหนึ่งนั้น ถือว่ามีใจทรหดมาก
3. แดง คอกิ่ว หางตัด เขาลอม คือวัวสีแดง เหนียงคอสั้น หางสั้น นับว่าเป็นลักษณะพิเศษ
4. ตีนด่าง หางดอก หนอกพาดผ้า หน้าใบโพ คือวัวที่มีสีทั่วไปดำ - ตีนดำแซมขาว - หางดำแซมขาว – โหนกขาวเหมือนเอาผ้าขาวพาดไว้ และที่หน้ามีสีขาวเป็นรูปใบโพ ยอดใบโพขึ้น วัวชนิดนี้ถือว่าจะนำโชคลาภ และให้มงคล คนเลี้ยงวัวพันธุ์นี้ไว้ที่บ้านจะไม่มีภัยพิบัติโจรผู้ร้ายไม่มารบกวน ห้ามฆ่า เพราะจะนำความพินาศ ฉิบหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่บ้าน จะเลี้ยงไว้ชนก็ได้ดีเพราะมีน้ำอดน้ำทนมาก
เตรียมตัวก่อนชน
บางรายให้กินไข่ไก่ถึงวันละ 10-15 ฟองก็มี พาออกวิ่งบ้างเดินบ้างในตอนเช้ามืดหรือในตอนเย็น เป็นการออกก าลังกาย และมีคน เฝ้าดูอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลาทั้งกลางคืนกลางวัน
มีหมอวัวเสกหญ้าและนำให้กินเพื่อให้มีกำลังและช่วยขจัดปัดเป่า การกระทำคุณไสย มีการประพรมน้ำมนต์ หมอบางคนจะมีกรวยทำด้วยใบตองหรือปลอกเขาซึ่งทำด้วย ทองเหลืองหรือไม้ไผ่สวมเขาทั้งสองไว้มีผ้ายันต์ ผ้าประเจียดผูกคอวัว ซึ่งจะถอดออกเมื่อจะปล่อยให้วัวชนกัน ในขณะ ที่อยู่ในพิธีนี้วัวดีบางตัวจะให้ฝันแก่เจ้าของตัวจะแพ้หรือจะชนะ
ขอบคุณเณรบีไห้ภาพ
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น