เล่าเรื่อง งูกะปะ งูพิษพบได้บ่อยที่ภาคใต้
ช่วงนี้ภาคใต้ฝนตกบ่อย ระวังเรื่องงูพิษไว้บ้างก็ดีนะคะ เพราะภาคใต้มีสวนยางมาก งูพวกนี้ชอบแฝงตัว มาบอกเล่าเรื่องงูกะปะ เป็นงูพิษชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยมากเมื่อฝนตกพรำๆ งูชนิดนี้ชอบอยู่ที่ชื่นๆ อดตัวเป็นวงกลม วางหัวไว้ที่บนสุด เตรียมฉกได้ทุกเวลา เมื่อมันตกใจ ถ้าเราไม่สังเกตุจะไม่รู้ว่าเป็นงู คิดว่าเป็นใบไม้แห้ง เป็นการพรางตัวของงูชนิดนี้
งูกะปะมีหลายพันธ์ุ ทั้งกะปะลายพรม กะปะคอแดง กะปะปากเหม็น (ภาคใต้) มีลักษณะลำตัวเป็นสามเหลี่ยม นอนขดตัวนิ่ง มีลายสามเหลี่ยมด้านบน ลำตัวกลมป้อม ตัวสั้น นอนขดตัววงกลม ชูคอ ตลอดเวลา ชนิดนี้พิษร้ายแรง สังเกตดีๆ มันจะมี ขนขึ้นใจจมูก แถวบ้านเรียกว่างูกะปะปากเหม็น ซึ่งปากมันเหม็นจริงๆ ที่รู้เพราะตีตายแล้วกลิ่นเหม็นเน่าสุดๆ
เมื่องูกัดแล้วจะมีแผลพุพอง เน่าเปื่อย ถึงขนาดเนื้อหลุด เน่าต้องตัดส่วนนั้นทิ้ง ต้องรีบรักษา จะไปโรงพยาบาล ดีที่สุด หรือมีหมอชาวบ้านที่เก่งเรื่องยางู ก็รักษาได้ แต่ต้องรู้ให้แน่ว่าเป็นงูอะไร ถ้าให้ดี ตีงูแล้วเอาตัวไปด้วย
เมื่องูกัดแล้วจะมีแผลพุพอง เน่าเปื่อย ถึงขนาดเนื้อหลุด เน่าต้องตัดส่วนนั้นทิ้ง ต้องรีบรักษา จะไปโรงพยาบาล ดีที่สุด หรือมีหมอชาวบ้านที่เก่งเรื่องยางู ก็รักษาได้ แต่ต้องรู้ให้แน่ว่าเป็นงูอะไร ถ้าให้ดี ตีงูแล้วเอาตัวไปด้วย
บางรายปวดอยู่หลายวัน
อาการบวม เกิดเร็วภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังถูกกัด บวมขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มที่ใน 24-48-72 ชั่วโมง
บางทีบวมทั้งขาหรือแขนที่ถูกกัด บางรายรู้สึกคันร่วมด้วยที่รอยกัดมีเลือดออก หรือซึมออกเรื่อย ๆ
บางรายหลังถูกกัด เลือดออกแล้วหยุดไป พอเริ่มเดินก็ออกอีกเล็กน้อยในวันที่ 4 ถึง 7 หลังถูกกัด
แผลและบริเวณใกล้เคียงหรือทั้งขาแขนข้างที่ถูกกัดจะสีคลํ้าขึ้น เป็นรอยจํ้า ห้อเลือด มีรอยพอง หรือตุ่มใสเกิดขึ้น ถ้ามีรอยพองขนาดใหญ่เกิดหลายแห่งหรือเกิดห่างจากที่กัดแสดงว่าได้รับพิษเข้าไปมาก ต่อมารอยพองแตกออก
หากถูกกัดที่ มือหรือเท้า สีของผิวหนังบริเวณดังกล่าว จะเปลี่ยนเป็นสีแดง และเข้มขึ้นเปลี่ยนเป็นสีคลํ้าดำ ต่อมาแห้งลงกลายเป็นเนื้อตาย กระดุกกระดิกไม่ได้ แผลเนื้อตายค่อย ๆ เปื่อยเน่าหลุดออกไปเรื่อย ๆ กว่าแผลจะหายกินเวลานานเป็นเดือน
การรับประทานอาหารของคนที่โดนงูพิษกัด วัดพรหมโลก จังหวัดนครศรีธรรมราช
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น