วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

   ลูกโผ้  ภาษาเรียกพื้นถิ่นภาคใต้ ต.หัวตะพาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 
ต้นโผ้ เป็นไม้พื้นถิ่น คล้ายๆต้นฉิ่ง ออกลูกเป็นพวงเหมือนกัน ผลใหญ่กลมแบน เปลือกหนา เหนียว      ผล ผิวภายนอกขรุขระ เป็นเม็ดๆรอบผล มีเส้นขีดสีน้ำตาลเข้มเป็นแนวยางจากขั่วผลถึงท้ายผล เมื่อผ่าผลออก จะมีน้ำยางสีขาวไหลออกมาจากเนื้อผล  ผลด้านในเหมือนรอยยิ้ม ไม่นิยมกินดิบ
 
 
 
ผิวสีน้ำตาลท้ายผลบุ๋ม เนื้อด้านในสีแดงเป็นเม็ดเล็กๆละเอียดอยู่ทั่วทั้งผล มียางสีขาวอยู่ในเนื้อผลทำไห้เหนียวติดมือ ผลอ่อนนำมาประกอบอาหาร ไม่นิยมกินผลดิบ

 
ควรผ่าแช่น้ำก่อนนำมาประกอบอาหาร  
 
 
นิยมนำมาประกอบอาหาร เช่นแกงเผ็ด เช่น แกงไก่  แกงหมู


ลูกโผ้ เป็นไม้พื้นถิ่น เปลือกลำต้นสีน้ำตาล คล้ายๆต้นฉิ่ง ออกลูกเป็นพวงเหมือนกัน นิยมนำมาประกอบอาหาร เช่นแกงเผ็ด เช่น แกงไก่  แกงหมู

 ข้อแตกต่าง ระหว่างลูกโผ้ กับลูกฉิ่ง

ลูกฉิ่ง ลูกเล็กกลม สีเขียว เปลือกบาง กรอบ มียางสีขาวในเนื้อผล นิยมกินสดหรือประกอบอาหาร

ลูกโผ้ ลูกใหญ่กลมแบบ สีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลแก่ เปลือกหนา เนื้อเหนียวแน่น มียางสีขาวในเนื้อผล ไม่นิยมกินสด ใช้ประกอบเมนูอาหาร

 

 

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น